บทความ

หน้าแรก บทความ หน้า 13

คาร์บอมบ์ที่ชายแดนใต้: ภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนไปของสงคราม ? (ตอน 2)

บนสมการที่ว่า “เหตุการณ์ความรุนแรงสัมพันธ์กับนโยบายของรัฐในแต่ละช่วงสมัย”นั้น แนวทางดำเนินการของรัฐไทยในช่วงนี้ นอกจากจะสัมพันธ์กับเหตุการณ์โดยตรง ที่มีการตอบโต้อย่างรุนแรงแล้ว

คาร์บอมบ์ที่ชายแดนใต้: ภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนไปของสงคราม ? (ตอน 1)

เหตุการณ์คาร์บอมบ์ 2 จุด กลางเมืองยะลา และคาร์บอมบ์ ลีการ์เด้นส์พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ในเวลาไล่เลี่ยกัน เมื่อ30 มีนา ที่ผ่านมา ซึ่งรัฐบาลแถลงแล้วว่า ทั้ง 2เหตุการณ์เป็นฝีมือของกลุ่มที่มีความเกี่ยวโยงกันนั้น อาจวิเคราะห์ได้หลายแนวทางขึ้นอยู่กับสมมติฐานเบื้องต้น และแนวคิดทฤษฎี หรือ “สมการ” ที่แต่ละคนใช้เป็นกรอบในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์อันซับซ้อนของปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวะทำนองของข้อเสนอและข้อคัดค้านเรื่องเขตปกครองพิเศษในชายแดนใต้

เรื่องเขตปกครองพิเศษในพื้นที่ชายแดนใต้ยังคงเป็นเสมือนบทเพลงอันแสนยาวที่ไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่ายๆ แม้จะถูกหยิบยกขึ้นมาอภิปราย ทั้งในทางสนับสนุน และ ในทางคัดค้านอย่างต่อเนื่อง ...หรือบางที ประเด็นนี้ก็อาจมีไว้เพียงเพื่อหยิบยกมาเล่นตามจังหวะ ทำนองของแต่ละฝ่ายเท่านั้น ?

‘จินตนา แก้วขาว’ อีกตำนานนักสู้เพื่อสิทธิชุมชน

โดย อภิรดี จูฑะศร   “ถาม ว่าเราอยากให้เกิดเหตุการณ์นี้ไหม เราก็ไม่อยากให้เกิด แต่สิ่งหนึ่งคือชาวบ้านต้องภาคภูมิใจว่า วันนี้ชาวบ้านได้ทำจนสุดแล้ว จนวันนี้เราไม่ต้องเสียค่าโง่ 340,000 ล้าน วันนี้เราไม่ต้องสูญเสียที่ดินสาธารณะให้กับกลุ่มทุนไปฟรีๆ วันนี้เราไม่เสียทรัพยากรธรรมชาติ วันนี้เรารักษาสิทธิชุมชน เราคืนความเป็นบ้านกรูด เราคืนความเป็นคนมาได้ เพราะฉะนั้นวันนี้ถ้ามันจะต้องแลกบ้าง มันก็จำเป็น” นี่ คือประโยคสุดท้ายก่อนที่ ‘จินตนา แก้วขาว’ แกนนำกลุ่มอนุรักษ์บ้านกรูดและบางสะพาน จะเดินเข้าสู่เรือนจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อคำพิพากษาสิ้นสุดลงในวันที่...

มองสถานการณ์ภาคใต้ผ่านสายตาของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ (ตอนที่3)

3. ปอเนาะ อันที่จริงการเรียกปอเนาะว่าโรงเรียนปอเนาะทำให้เกิดความเข้าใจผิดไปคนละ เรื่องอย่างเดียวกับที่เกิดในการเรียกการศึกษาของวัดว่าโรงเรียนวัดเพราะ ปอเนาะและวัดเป็นระบบการศึกษาอีกอย่างหนึ่งซึ่งไม่ใช่การศึกษาระบบโรงเรียน อันเป็นระบบการศึกษาที่เกิดขึ้นเพื่อรับใช้การผลิตในระบบอุตสาหกรรม ใน ทุกวันนี้เรามองเห็นความบกพร่องในระบบโรงเรียนหลายอย่างและในทุกสังคมไทยได้ พยายามปฏิรูประบบโรงเรียนเพื่อแก้ไขความบกพร่องนั้นน่าประหลาดที่ว่าหลาย อย่างที่เป็นเป้าหมายของการปฏิรูประบบโรงเรียนนั้นกลับไปตรงกับการจัดการ ศึกษาระบบปอเนาะและวัด น่าเสียดายที่การศึกษาระบบวัดของ ไทยถูกทำลายไปจนไม่เหลือซากอันเป็นผลมาจากการปฏิรูปศาสนาและการสร้างระบบการ ศึกษามวลชนนับตั้งแต่ ร.๕ เป็นต้นมาและนี่คงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้คนไทยทั่วไปไม่เข้าใจการศึกษาระบบ ปอเนาะหรือพยายามอธิบายระบบการศึกษาแบบนี้อย่างผิดฝาผิดตัวด้วยการถือการ ศึกษาระบบโรงเรียนเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบ เช่นเมื่อไม่รู้จะ เทียบการศึกษาในปอเนาะเท่ากับมาตรฐานอะไรในระบบโรงเรียนก็มักจะเทียบกับ โรงเรียนประถมหรืออย่างเก่งก็มัธยมต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วโต๊ะปาเก (ผู้เรียนในปอเนาะ) ล้วนจบชั้นประถมศึกษามาแล้วบางรายอาจจบปริญญาตรีแล้วด้วยซ้ำ เพราะปอเนาะ "สอนศาสนา"จากความรู้ขั้นพื้นฐานไปจนกระดับสูง ชนิดที่ผู้จบการศึกษาแล้วอาจกลายเป็นอุลามะ(ผู้รู้ทางศาสนา) ได้เลย...

มองสถานการณ์ภาคใต้ผ่านสายตาของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ (ตอนที่2)

ตอนที่ 2. Negeri Siam Ini Adalah Gelanggang Seperjuangan ประเทศไทยนี่แหละคือเวทีการต่อสู้ร่วมกัน ผู้นำทางศาสนาและผู้นำชาวบ้านบอกแก่ผมในการประชุมร่วมกันที่หาดใหญ่ว่าคนที่คิด แยกดินแดนนั้นมีไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ในบรรดาประชากรมลายูมุสลิมทั้งหมด เอกสารราชการและคำสัมภาษณ์ของผู้ใหญ่ในบ้านเมืองสอดคล้องกันแม้ไม่ได้ให้ ตัวเลขเปอร์เซ็นต์ที่แน่นอน ถ้ากระนั้นผมคิดว่าชะตากรรมของประชากรมลายูมุสลิมในภาคใต้ ได้ถูกคนไม่ถึง 1% นี้ไฮแจ๊กไปเสียแล้วเพราะ กระแส "แยกดินแดน"ซึ่งประกอบขึ้นด้วยคนจำนวนน้อย ได้ปิดปากท่านมิให้ลุกขึ้นต่อรอง, ต่อสู้, หรือต้านทาน ผลักดันอะไรในวิถีทางอื่นๆเพราะจะถูกเจ้าหน้าที่บ้านเมืองระแวงสงสัยว่ามี ส่วนร่วมกับกระแส "แยกดินแดน"และเมื่อถูกระแวงสงสัยจากฝ่ายบ้านเมืองเสียแล้วก็จะหาความสงบสุข ในชีวิตได้ยาก ผม ใช้คำว่า...

มองสถานการณ์ภาคใต้ผ่านสายตาของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ (ตอนที่1)

ตอนที่ 1 มาซุกยาวี โดยอุดมคติแล้วความรู้ทางศาสนาสำหรับมุสลิมไม่ได้มีไว้ไปสอบสนามหลวงแต่มีเพื่อนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันเขาเชื่อว่าความรู้ทางศาสนานี้เป็นพื้นฐานให้ไปทำอะไรก็ดีทั้งนั้นนับตั้งแต่ตั้งหลักปักฐานมีครอบครัว ไปจนถึงประกอบอาชีพการงานเลี้ยงชีพหรือช่วยเหลือสังคมและเป็นผู้นำไปในทางดีให้แก่สังคม... สังเกตนะครับว่าดีทั้งนั้นไม่ได้แปลว่าได้ทั้งนั้นฉะนั้น เวลาไปบอกชาวมุสลิมว่า เพราะไม่ยอมเรียนแพทย์, เรียนวิศวะ เลยทำให้ไม่รวย เขาก็คงงง เพราะเป้าหมายการศึกษาของเขาคือความดีไม่ใช่ความรวย นี่แหละครับที่ผมบอกว่าผิดฝาผิดตัวเพราะเป็นระบบการศึกษาที่แตกต่างกันตั้งแต่ระดับรากฐานไปจนถึงเป้าหมายปลายทางเลยทีเดียว ผมไม่ทราบหรอกครับว่าใครเป็นคนทำให้เข้าใจว่าสถานการณ์ความขัดแย้งในภาคใต้ตอนล่างปัจจุบันนี้เป็นความขัดแย้งทางศาสนา...ระหว่างฝ่ายที่ต่อต้านรัฐไทยหรือฝ่ายรัฐไทยเอง อย่างไรก็ตามผมคิดว่าส่วนใหญ่ของชาวมลายูมุสลิมไม่ได้คิดอย่างนั้นแม้แต่คนที่ไม่ชอบสภาพที่ตนเผชิญอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐไทยก็ไม่ได้รู้สึกเป็นอริกับชาวพุทธที่อยู่ร่วมแผ่นดินกับตนมาเป็นเวลานาน ไม่แต่เพียงเพราะเขาเคยอยู่กันมานานหลายชั่วโคตรเท่านั้นแต่ตลอดเวลาที่ผ่านมานั้นทั้งสองฝ่ายต่างมีความสัมพันธ์กันทั้งด้านกว้างและด้านลึกด้วยลองไปเปิดสารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ของสถาบันทักษิณคดีศึกษาดูเถิดครับ (สมัยอาจารย์สุธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์ เป็นผู้อำนวยการ) จะเห็นศัพท์, พิธีกรรม, ศิลปะหรือแม้แต่ความเชื่อทางไสยศาสตร์ที่มีร่วมกันเป็นอันมากมีทั้งจากฝ่ายไทยไหลเข้าไปหามลายู และมีทั้งจากฝ่ายมลายูไหลเข้าหาไทย ลึกลงไปถึงที่สุดแล้วเขาเป็นญาติกันด้วย มีชาวมลายูมุสลิมจำนวนไม่น้อยที่มีเครือญาติ(โดยเฉพาะทางสายแม่) เป็นชาวไทยพุทธซึ่งในทางกลับกันก็ย่อมมีไทยพุทธที่มีเครือญาติเป็นมลายูมุสลิมแม้แต่ในสามจังหวัดที่เคยเป็นปัตตานีมาก่อน ก็มีหมู่บ้านชาวพุทธอยู่แทรกๆกับหมู่บ้านมุสลิม แม้ว่ามีจำนวนน้อยกว่ากันมากแต่ก็มีอยู่และตั้งสืบเนื่องกันมานานอย่างสงบสุขหมู่บ้านมุสลิมบางแห่งมีชาวพุทธเข้าไปอยู่แทรกในหมู่บ้านเลยทีเดียว เขาก็อยู่กันมาได้โดยไม่ถือเรื่องความต่างทางศาสนาเป็นเรื่องใหญ่ต่างฝ่ายต่างรู้กันว่าอีกฝ่ายหนึ่งทำอะไรได้หรือทำอะไรไม่ได้งานบุญของทั้งสองฝ่ายมีแขกต่างศาสนาได้รับเชิญมาร่วมงานอยู่เป็นปกติ...

ภาพที่เป็นจริงของปาเลสไตน์ที่คนอเมริกันไม่เคยรับรู้ (2)

<ต่อจากตอนที่ 1> นักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษ Robert Fisk ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศในการเสนอข่าว เขียนใน The Independent ว่า เมื่อเขาได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับชาวปาเลสไตน์ตายในการปะทะกัน เกือบทั้งหมดมันมักจะหมายความว่า"อิสราเอลได้ฆ่าผู้คนที่บริสุทธิ์". ดังนั้นเมื่อเขาได้อ่าน Associated Press ข้อความว่า Mohammed al- Durah ซึ่งอายุเพียง 12 ปีถูกฆ่าตายที่ฉนวน Gaza เมื่อเขาถูกจับในการปะทะกัน, Fisk...

ภาพที่เป็นจริงของปาเลสไตน์ที่คนอเมริกันไม่เคยรับรู้ (1)

ขณะที่อ่าวเปอร์เซียกำลังรุนแรงด้วยไฟสงคราม ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งโดยเฉพาะในฐานะคนอเมริกันเชื้อสายยิว ที่ได้รับการอุปถัมภ์โดยคณะกรรมการต่อต้านการแบ่งแยกเชื้อชาติ อาหรับ-อเมริกันสาขาอ่าวซานฟรานซิสโก ในภารกิจเกี่ยวกับการค้นหาข้อเท็จจริงเพื่อสืบสวนถึงสิทธิหรือความชอบธรรม ที่ชาวอิสราเอลกระทำทารุณกรรมต่อชาวปาเลสไตน์ ภายใต้มาตรการฉุกเฉินที่ประกาศออกมาในช่วงระหว่างสงคราม. ผมได้ทำรายงานเกี่ยวกับเรื่องนโยบายสหรัฐในตะวันออกกลางมามากกว่า 10 ปีให้กับ KPFA และสถานีวิทยุต่างๆในแคลิฟอร์เนีย และได้ทำเอกสารและบรรยายเกี่ยวกับเรื่องการต่อต้านเชื้อชาติอาหรับในวัฒนธร รมพพ๊อพอเมริกันและสำนักข่าวต่างๆ หลังจาก สัปดาห์ที่ผมทำหน้าที่เป็นตัวแทนเกี่ยวกับการค้นหาความจริงได้เสร็จสิ้นลง ผมตัดสินใจที่จะใช้เวลาเพิ่มเติมให้กับตัวเองเพื่อขุดค้นลึกลงไปถึงการที่ ชาวอิสราเอลได้ครอบครองดินแดนของชาวปาเลสไตน์ ในสองสัปดาห์ต่อมาของการเดินทางของผม ซึ่งนำผมจากถนนที่เต็มไปด้วยฝุ่นทราย, สวนส้มเล็กๆที่ส่งกลิ่นหอม, และสลัมคนจนที่เหม็นคละคลุ้งของฉนวน Gaza ไปพบกับนักเคลื่อนไหวปาเลสไตน์และยิวหลายคนใน Haifa,...

แฮกเกอร์…ยุทธออนไลน์ในโลกไซเบอร์

โดย : อภิรดี จูฑะศร   5 ต.ค.54 ที่ผ่านมา น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ปปท.) และกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง นำตัว นายเอกวิทย์ ทองดีวรกุล อายุ 22 ปี นักศึกษามหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่ง และมือแฮกเกอร์เฟซบุ๊คของน.ส.ยิ่ง ลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มาแถลงข่าว...

เรื่องล่าสุด