หน้าแรก บทความ

มองสถานการณ์ภาคใต้ผ่านสายตาของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ (ตอนที่2)

ตอนที่ 2. Negeri Siam Ini Adalah Gelanggang Seperjuangan ประเทศไทยนี่แหละคือเวทีการต่อสู้ร่วมกัน

ผู้นำทางศาสนาและผู้นำชาวบ้านบอกแก่ผมในการประชุมร่วมกันที่หาดใหญ่ว่าคนที่คิด แยกดินแดนนั้นมีไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ในบรรดาประชากรมลายูมุสลิมทั้งหมด เอกสารราชการและคำสัมภาษณ์ของผู้ใหญ่ในบ้านเมืองสอดคล้องกันแม้ไม่ได้ให้ ตัวเลขเปอร์เซ็นต์ที่แน่นอน

ถ้ากระนั้นผมคิดว่าชะตากรรมของประชากรมลายูมุสลิมในภาคใต้ ได้ถูกคนไม่ถึง 1% นี้ไฮแจ๊กไปเสียแล้วเพราะ กระแส “แยกดินแดน”ซึ่งประกอบขึ้นด้วยคนจำนวนน้อย ได้ปิดปากท่านมิให้ลุกขึ้นต่อรอง, ต่อสู้, หรือต้านทาน ผลักดันอะไรในวิถีทางอื่นๆเพราะจะถูกเจ้าหน้าที่บ้านเมืองระแวงสงสัยว่ามี ส่วนร่วมกับกระแส “แยกดินแดน”และเมื่อถูกระแวงสงสัยจากฝ่ายบ้านเมืองเสียแล้วก็จะหาความสงบสุข ในชีวิตได้ยาก

ผม ใช้คำว่า “ชะตากรรม”เพราะผมเชื่อว่า ส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่าชะตากรรมนั้นเราทุกคนมีสิทธิและควรมี ส่วนในการกำหนดให้แก่ตนเองด้วยเช่นเดียวกับประชาชนในที่อื่นๆ ทั่วไป ท่านกำลังเผชิญกับปัญหาหลายอย่างในชีวิตนับตั้งแต่การฉ้อฉลอำนาจของ ข้าราชการในท้องถิ่น, การรุกเข้ามาของทุนจากภายนอก, ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและความล่มสลายของกลไกทางสังคมที่ เคยมีมาแต่เดิมเพราะไม่อาจตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่ถาโถมเข้ามา

ถ้า ส่วนใหญ่ในหมู่พวกท่านไม่อาจลุกขึ้นมาต่อรอง, ต่อสู้หรือต้านทาน ผลักดันอะไรได้ก็ต้องปล่อยให้ชะตากรรมของตนอยู่ในความควบคุมดูแลของรัฐแต่ เพียงฝ่ายเดียว

จาก ประสบการณ์ของประชาชนไทยในที่อื่นๆแม้แต่ในหมู่ประชาชนที่รัฐไม่มีอคติทาง ชาติพันธุ์และศาสนารัฐก็ไม่ใช่สถาบันที่น่าไว้วางใจให้เป็นผู้กำหนดชะตากรรม ของผู้คนทุกกลุ่มแต่ฝ่ายเดียวเพราะรัฐใดๆก็ตามไม่เคยเป็นกลางระหว่างผล ประโยชน์ของคนทุกกลุ่มในสังคมจริงสักแห่งเดียวคนแต่ละกลุ่มจะสามารถต่อรอง, ต่อสู้ และผลักดันผลประโยชน์ของตนเองได้ก็ต้องไต่เต้าขึ้นไปในโครงสร้างอำนาจที่จะ ทำให้เสียงของตนดังพอที่รัฐจะต้องรับฟัง

ใน ทางตรงกันข้ามกลุ่มที่เคลื่อนไหวเพื่อแยกดินแดนก็หาได้น่าไว้วางใจไปกว่ากัน ไม่นอกจากพวกเขาไม่เคยบอกอย่างชัดเจนว่าเขากำหนดชะตากรรมของผู้คนในรัฐอิสระ นั้นไว้อย่างไรแล้วการใช้ความรุนแรง(แม้เพื่อตอบโต้กับความรุนแรงที่รัฐ ใช้)ก็ไม่น่าจะเป็นความหวังที่พึ่งได้สำหรับชีวิตในรัฐอิสระใหม่ที่เขาสัญญา เพราะความรุนแรงมีตรรกะของมันเองซึ่งจะนำไปสู่ความวุ่นวายปั่นป่วนอย่างยาก จะจบลงได้แม้เมื่อเขาประสบความสำเร็จในการแยกตัวออกเป็นรัฐอิสระแล้ว ก็ตาม(และมองเห็นได้ชัดจากความเป็นจริงของการเมืองไทยและการเมืองระหว่าง ประเทศว่าวิธีการที่กลุ่มนี้ใช้อยู่จะไม่มีทางนำไปสู่การแยกดินแดนได้เลย)

ประชาชน มลายูมุสลิมส่วนใหญ่จึงต้องมายืนในจุดที่ไม่มีทางเลือกสำหรับตัวเองด้าน หนึ่งรัฐจะใช้อำนาจทุกทางของตัวเข้ามากำหนดชะตากรรมของผู้คนแต่ฝ่ายเดียวอีก ด้านหนึ่งกลุ่มแยกดินแดนซึ่งเป็นคนจำนวนน้อยจะแย่งอำนาจจากรัฐไปกำหนดชะตา กรรมของผู้คนฝ่ายเดียวเสียเองอีกเหมือนกัน

ทั้ง สองฝ่ายไม่เคยสนใจจะถามประชาชนเลย อยากได้ชีวิตอย่างไรยังไม่พูดถึงสร้างช่องทางให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมใน การกำหนดชะตากรรมของตนเองโดยอิสระเสรีและตลอดไป

ไม่ ว่าท่านจะชอบหรือไม่ก็ตามแต่ความจริงมีว่าเวทีการต่อสู้เพื่อกำหนดชะตากรรม ของชีวิตของตนเองนั้นอยู่ในประเทศไทยและตราบเท่าที่ไม่ลุกขึ้นมายืนบนเวที นี้จะมีคนอื่นเข้าไปใช้อำนาจและความรุนแรงกำหนดชะตากรรมของพวกท่านไปอย่าง ไม่มีที่สิ้นสุด

จะ ด้วยอุปสรรคอย่างไรก็ตามประชาชนส่วนใหญ่ในสาม-สี่จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ไม่ได้เคยพยายามขึ้นมาต่อรอง, ต่อสู้และต้านทาน ผลักดันบนเวทีประเทศไทย อันที่จริงผมควรกล่าวด้วยว่า ประชาชนเล็กๆในที่อื่นๆ ทั่วประเทศไทยก็ถูกกีดกันมิให้ลุกขึ้นมาบนเวทีสาธารณะนี้อย่างสะดวกทั้งนั้น กล่าวอีกนัยยะหนึ่งก็คือ ไม่มีที่ไหนในเมืองไทยที่ปราศจากอุปสรรคสำหรับประชาชนในการขึ้นไปสู้บนเวที สาธารณะอย่างเท่าเทียมกับอภิสิทธิ์ชนเพียงไม่กี่กลุ่มของสังคม

ด้วย เหตุผลความต่างทางชาติพันธุ์และศาสนา(เช่นเดียวกับกะเหรี่ยง,ม้ง,เย้าและชาว เขาทั่วไป) ประชาชนมลายูมุสลิมอาจต้องเผชิญอุปสรรคมากกว่าประชาชนชาวอีสานแต่อุปสรรค อะไรก็ต้องใช้ปัญญาและความร่วมมือในการก้าวข้ามไปให้จงได้ทั้งนั้นเพราะทาง เลือกเดียวที่เป็นจริงสำหรับท่าน ก็คือลุกขึ้นมาต่อรอง ต่อสู้ หรือต้านทานผลักดัน บนเวทีประเทศไทยร่วมกับประชาชนอีกมากมายในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ

แม้ กฎระเบียบกติกาบนเวทีนี้อาจไม่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายนักแต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า มีบัญญัติของกฎหมายและรัฐธรรมนูญหลายประการที่ประชาชนอาจใช้เป็นช่องทางใน การต่อสู้บนเวทีนี้ได้ผมอยากพูดว่าเป็นช่องทางที่เปิดกว้างให้แก่ประชาชน กว่าจะหาได้ในเวทีของรัฐอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย ฉะนั้นประชาชนมลายูมุสลิมจะต้องเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากช่องทางนี้โดย อาศัยประสบการณ์ของขบวนการประชาชนในที่อื่นๆ

เช่น ช่องทางที่จะสร้างสื่อเชื่อมโยงกันระหว่างประชาชนในท้องที่ต่างๆของสาม-สี่ จังหวัดภาคใต้ เป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายขึ้นในปัจจุบันในขณะเดียวกันก็มีช่องทางที่จะผลักดัน ประเด็นของฝ่ายประชาชนมลายูมุสลิมผ่านสื่ออื่นๆเข้ามาเป็นญัตติสาธารณะของ สังคมไทย โดยไม่ปล่อยให้ฝ่ายรัฐหรือฝ่ายผู้แยกดินแดนเป็นผู้สร้างและเผยแพร่ญัตติแต่ ผู้เดียว

อย่าง น้อยสิ่งที่ง่ายที่สุดคือ น่าจะมีวิทยุชุมชนกระจายไปตามชุมชนต่างๆ ให้กว้างจะออกอากาศในภาษามลายูก็ได้หรือถ่ายทอดคำสอนของโต๊ะครูที่ท่าน นับถือออกไปถึงบ้านเรือนประชาชนก็ได้นำข่าวคราวของประเทศไทยและของโลกมาบอก เล่าแก่พี่น้องตามมุมมองของท่านเอง

ตาม พ.ร.บ.การศึกษาท่านมีสิทธิจะจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลานและชุมชนของท่านเอง รัฐธรรมนูญก็รับรองสิทธิอันนี้ของท่านในบางมาตราฉะนั้นแทนที่จะปล่อยให้ระบบ การศึกษาตามวัฒนธรรมมลายูมุสลิมถูกกล่าวหาประหนึ่งว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมายท่าน สามารถโยงระบบการศึกษาของท่านให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. เช่น ปอเนาะและตาดีกาคือศูนย์การเรียนรู้ซึ่ง พ.ร.บ.รับรองให้สามารถเปิดดำเนินการได้อยู่แล้ว

ส่วน การจะแปลงปอเนาะให้เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในกำกับของรัฐหรือไม่น่า จะเป็นทางเลือกของท่านเอง ไม่ใช่เป็นทางเดียวที่จะต้องเดินตามคำสั่งของรัฐหากรัฐมีนโยบายที่จะแปลง ปอเนาะให้มาอยู่ในกำกับให้ได้ก็เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องทำให้มีข้อได้ เปรียบแก่โรงเรียนที่จะทำเช่นนั้นอย่างเป็นที่ประจักษ์แจ้งเองพูดอีกอย่าง หนึ่งก็คือเข้ามาแข่งขันกันอย่างเสรีและเป็นธรรมอย่างที่รัฐชอบพูดนั่นแหละ

ประชาชน ในหลายพื้นที่แม้ในภาคใต้ด้วยกันเอง ประสบความสำเร็จในการรวมตัวกันเพื่อปกป้องทรัพยากรในท้องถิ่นเช่น ชาวประมงที่อ่าวสิเกา จังหวัดตรังรวมตัวกันปกป้องทรัพยากรชายฝั่งจากการทำลายของเรืออวนลากอวนรุน ของนายทุนไม่ใช่ด้วยวิธีรุนแรงผิดกฎหมายแต่โดยอาศัยกฎหมายซึ่งเจ้าหน้าที่ หลีกเลี่ยงไม่ยอมบังคับใช้เมื่อประชาชนรวมตัวกันได้ก็เริ่มมีอำนาจที่จะ เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาคมากขึ้นประชาชนมลายู มุสลิมก็เผชิญกับการบุกรุกช่วงชิงทรัพยากรจากรัฐและทุนอย่างหนักเหมือน ประชาชนในพื้นที่อื่นท่านสามารถรวมตัวกันปกป้องทรัพยากรของท่านได้เช่น เดียวกัน

บน เวทีประเทศไทยมีประชาชนระดับล่างอย่างท่าน เคลื่อนไหวโดยสันติเพื่อมีอำนาจในการกำหนดชะตากรรมชีวิตของตนเองอยู่มากมาย คนเหล่านี้พร้อมจะยื่นมือออกไปจับมือกับประชาชนเล็กๆ ทั่วไป ไม่เลือกผิวพรรณ, ศาสนาและเชื้อชาติ(ดูงานศพของคุณเจริญ วัดอักษร เป็นตัวอย่าง)ฉะนั้นหากประชาชนมลายูมุสลิมพร้อมจะก้าวขึ้นมาบนเวทีประเทศไทย ท่านจะไม่โดดเดี่ยวและท่านจะได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์, ยุทธวิธีและการหนุนช่วยจากประชาชนในพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศไทย

ท่าน ไม่จำเป็นต้องเป็นเหยื่อของรัฐและกลุ่มผู้แยกดินแดนอีกต่อไปมีอะไรที่เราทุก คนจะได้เรียนรู้ และเสริมสร้างพลังของเราเองอีกมากมายบนเวทีแห่งนี้ขอแต่ให้ก้าวขึ้นมา

 

ที่มา http://v1.midnightuniv.org/midnight2545/document9782.html