หน้าแรก บทความ

ภาพที่เป็นจริงของปาเลสไตน์ที่คนอเมริกันไม่เคยรับรู้ (1)

ขณะที่อ่าวเปอร์เซียกำลังรุนแรงด้วยไฟสงคราม ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งโดยเฉพาะในฐานะคนอเมริกันเชื้อสายยิว ที่ได้รับการอุปถัมภ์โดยคณะกรรมการต่อต้านการแบ่งแยกเชื้อชาติ อาหรับ-อเมริกันสาขาอ่าวซานฟรานซิสโก ในภารกิจเกี่ยวกับการค้นหาข้อเท็จจริงเพื่อสืบสวนถึงสิทธิหรือความชอบธรรม ที่ชาวอิสราเอลกระทำทารุณกรรมต่อชาวปาเลสไตน์ ภายใต้มาตรการฉุกเฉินที่ประกาศออกมาในช่วงระหว่างสงคราม. ผมได้ทำรายงานเกี่ยวกับเรื่องนโยบายสหรัฐในตะวันออกกลางมามากกว่า 10 ปีให้กับ KPFA และสถานีวิทยุต่างๆในแคลิฟอร์เนีย และได้ทำเอกสารและบรรยายเกี่ยวกับเรื่องการต่อต้านเชื้อชาติอาหรับในวัฒนธร รมพพ๊อพอเมริกันและสำนักข่าวต่างๆ

หลังจาก สัปดาห์ที่ผมทำหน้าที่เป็นตัวแทนเกี่ยวกับการค้นหาความจริงได้เสร็จสิ้นลง ผมตัดสินใจที่จะใช้เวลาเพิ่มเติมให้กับตัวเองเพื่อขุดค้นลึกลงไปถึงการที่ ชาวอิสราเอลได้ครอบครองดินแดนของชาวปาเลสไตน์ ในสองสัปดาห์ต่อมาของการเดินทางของผม ซึ่งนำผมจากถนนที่เต็มไปด้วยฝุ่นทราย, สวนส้มเล็กๆที่ส่งกลิ่นหอม, และสลัมคนจนที่เหม็นคละคลุ้งของฉนวน Gaza ไปพบกับนักเคลื่อนไหวปาเลสไตน์และยิวหลายคนใน Haifa, Tel Aviv และ Jerusalem. และจากอากาศที่ร้อนอบอ้าวจนแทบหายใจไม่ออกของ Jericho, ที่ผมได้สัมภาษณ์ Saeb Erikat ภายในสถานกักกัน, จนถึงหมู่บ้านตามหุบเขาที่อยู่ไกลแสนไกลในเขต West Bank ที่ซึ่งมีหมู่บ้านที่แยกตัวอยู่โดดๆหลายแห่งในท้องถิ่นที่ได้ถูกควบคุมโดย องค์กรการเมืองอิสลามที่รู้จักกันนาม Hamas

ตอนที่ผมกลับ มาและได้พูดคุยกับคนอเมริกันส่วนใหญ่เกี่ยวกับสิ่งที่ได้ไปพบและเรียนรู้มา มันทำให้ผมรู้สึกราวกับว่าผมได้เข้าไปอยู่ในฉากหนึ่งของดินแดนสนธยา – ฉากที่ตัวละครสำคัญสามารถล่วงรู้ถึงอันตรายและการมีอยู่ของลางร้ายที่ไม่มี ใครมองเห็น. ตัวละครเอกในเรื่องได้ชี้ถึงสิ่งเหล่านั้นและในไม่ช้าพรรคพวกของเขาก็เห็น ถึงลางร้ายที่จะปรากฎขึ้นในอนาคต. ก่อนหน้านั้น พวกเขาไม่อาจมองเห็นมันได้ แต่ในไม่ช้าลางสังหรณ์ดังกล่าวก็เริ่มปรากฎเป็นจริงขึ้น มันผลักให้พวกเขาเข้าสู่ภาวะจนตรอกและสิ้นหวัง และเริ่มตั้งคำถามข้อสงสัยในเหตุผลรวมทั้งสภาพจิตของตัวพวกเขาเอง

ทั้งหมด นั้น มันเป็นอ่าวลึกและกว้างที่แยกระหว่าง”สิ่งที่ผมได้พบเห็นและมีประสบการณ์” กับ “สิ่งที่ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ได้รับรู้โดยผ่านเลนส์ของสำนักข่าวอเมริกัน”. ช่วยอะไรไม่ได้ที่ผมจะสรุปว่า สาธารณชนอเมริกันไม่ได้รับรู้แม้เพียงเศษเสี้ยวของข้อมูลที่เป็นจริงและ ต้องการในการทำความเข้าใจอย่างรอบคอบ เพื่อตรวจสอบนโยบายต่างๆเกี่ยวกับรัฐบาลของตนอย่างฉลาดในเรื่องของ ตะวันออกกลาง. มาถึงตอนนี้ เกือบๆจะสิบปีเข้าไปแล้ว มันมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และอ่าวกว้างที่มาขวางการรับรู้มันยังคงกว้างอยู่เช่นเดิมอย่างไม่น่าเชื่อ

บางที นั่นจะเป็นสิ่งที่เข้าใจได้. สำนักข่าวอเมริกัน, เป็นไปได้, ที่ค่อนข้างจะสนับสนุนอิสราเอล. แม้แต่สำนักข่าวของอิสราเอลเองยังวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของตนมากยิ่งกว่าผู้ สื่อข่าวอเมริกันทำเสียอีก. บางทีอันนี้ไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจอะไรในเมื่อ สหรัฐอเมริกาก็คือผู้มีพระคุณหลักของอิสราเอล และอิสราเอลได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐมากกว่าประเทศใดๆในโลก. แต่มันยังคงกวนใจผมอยู่ดีที่เห็นว่า ข่าวอเมริกันได้รายงานหรือสื่อออกมา ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นไปตามนโยบายต่างประเทศของสหรัฐโดยไม่มีการวิพากษ์ วิจารณ์ และทำไมข่าวอเมริกันจึงต้องปกป้องอิสราเอลถึงเพียงนี้

ถ้า ใครไม่เคยออกจากอเมริกาหรือได้เคยอ่านข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศ ง่ายเหลือเกินที่เขาคนนั้นจะไม่ทราบเลยเกี่ยวกับอ่าวกว้างอันไม่น่าเชื่อถือ ระหว่าง “สำนักข่าวอเมริกันที่รับรู้และรายงานเกี่ยวกับความขัดแย้งของอิสราเอลและ ปาเลสไตน์” กับ “สิ่งที่ถูกมองในมุมมองของส่วนที่เหลือของโลก”. แม้แต่หนังสือพิมพ์ที่เข้าข้างอิสราเอลที่สุดอีกประเทศหนึ่งคืออังกฤษ ยังได้แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งที่แหลมคมกับรายงานข่าวอเมริกันในเรื่อง อิสราเอลและดินแดนต่างๆในครอบครอง

ในการรายงานข่าว อเมริกันเกี่ยวกับการประชุมที่ Camp David เมื่อไม่นานมานี้ หนังสือพิมพ์อเมริกันได้ดำเนินรอยตามรัฐบาลอิสราเอลและอเมริกันอย่างเชื่อ ฟังโดยสาธยายว่า นายกรัฐมนตรีอิสราเอล Ehud Barak ได้แสดงความกล้าหาญโดยการยอมอ่อนข้อให้เพื่อสันติภาพ, แต่ด้วยความไม่เต็มใจของปาเลสไตน์ที่จะประนีประนอมและยืดหยุ่นต่างๆหาก ซึ่งเป็นต้นเหตุของความล้มเหลวในการประชุมกันครั้งนั้น

โดย ไม่สนใจต่อการพยายามแสดงความกล้าหาญที่ยอมอ่อนข้อของ Barak ซึ่งอนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์มีสิทธิที่จะรับผิดชอบร่วมกันในการปกครองดูแล เหนือดินแดน ในย่านซึ่งชาวอาหรับได้อาศัยอยู่กันมานานแล้วทางฝั่งตะวันออกของกรุง เยรูซาเล็ม – นั่นมันคือเศษขนมปังที่น่าเวทนาเหลือเกินที่ได้โยนลงไปบนพื้น ซึ่งมันได้รับการคาดหวังว่า Arafat จะหยิบมันขึ้นมาด้วยความดีใจ

ผม ต้องอ่านหนังสือพิมพ์อังกฤษและได้พบข้อมูลจากเอกสารต่างๆที่รั่วไหลออกมาจาก Camp David, ซึ่งรายงานว่า Arafat เป็นฝ่ายที่ยอมอ่อนข้อให้อย่างมากมาย ซึ่งจากการกระทำของเขานี้ อาจทำให้พวกเขาต้องตกอยู่ในอันตรายในความเป็นไปได้เกี่ยวกับการสถาปนารัฐ ปาเลสไตน์ที่มีโอกาสจะเติบโตและพัฒนาและเจริญต่อไปในอนาคต

ตาม ข่าวที่หนังสือพิมพ์อังกฤษรายงาน การยอมอ่อนข้อของปาเลสไตน์ในการประชุมที่ Camp David รวมถึงสิทธิของอิสราเอลที่จะธำรงรักษาการมีอยู่ของกองกำลังทหารถาวรในเขต เทือกเขาจอร์แดน, การได้รับอนุญาตของอิสราเอลที่จะบินเหนือน่านฟ้าของปาเลสไตน์, และสิทธิของอิสราเอลที่จะใช้กำลังทหารของตนบนดินแดนปาเลสไตน์เมื่อไรก็ได้ ถ้าหากเชื่อว่ามันมีเค้าที่จะเกิดอันตรายต่อรัฐอิสราเอล. ข้อตกลงของปาเลสไตน์คือ ปาเลสไตน์จะต้องไม่มีกำลังทหารอยู่เลย และการยอมรับอำนาจอธิปไตยของอิสราเอลอย่างถาวรในการตั้งรกรากต่างๆของชาวยิว – การตั้งรกรากซึ่งได้ตัดแยกเยรูซาเร็มออกไปอย่างเด็ดขาดจากส่วนที่เหลือของ West Bank และซึ่ง, รวมถึงการตั้งรกรากขนาดมหึมาของชาวยิวแห่ง Ma’aleh Adumim, ที่ได้ตัด West Bank ออกเป็นสองส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมันได้ถูกแบ่งแยกด้วยดินแดนของอิสราเอล

นั่นคือข้อเท็จ จริงต่างๆที่ผมมักจะได้พบเห็นในการกล่าวถึงโดยหนังสือพิมพ์หลายๆฉบับจาก ประเทศอื่น ซึ่งมักไม่ค่อยพูดถึงในหน้าหนังสือพิมพ์และสื่ออเมริกันมาโดยตลอด แม้ว่าจะไม่ทั้งหมดก็ตาม

ในหนังสือพิมพ์อังกฤษและยุโรป บรรดาผู้อ่านทั้งหลาย บ่อยครั้ง ได้รับการเตือนให้ระลึกถึงการมีอยู่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของชาวยิวในเขต West Bank และฉนวน Gaza ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนหรือละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ, โดยเฉพาะการประชุมที่เจนีวาครั้งที่สี่, และการครอบครองอย่างต่อเนื่องที่ฉนวน Gaza, West Bank และ East Jerusalem ยังเป็นการละเมิดต่อการแก้ปัญหาต่างๆของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติด้วย

บรรดา ผู้อ่านรายงานข่าวของอังกฤษยังได้รับการเตือนเป็นประจำว่า สิ่งที่ชาวอเมริกัน บ่อยครั้งมักจะวาดนิสัยของชาวปาเลสไตน์ว่าเป็นคนที่ปราศจากความยืดหยุ่นและ ชอบใช้ความรุนแรงเสมอ ซึ่งเรียกร้องให้ชาวอิสราเอลทั้งหมดถอนตัวออกจากฉนวน Gaza และ West Bank, รวมถึง East Jerusalem, แน่นอน นั่นเป็นสิ่งที่ได้รับการเรียกร้องในการแก้ปัญหาของสภาความมั่นคงแห่ง สหประชาชาติ 242 ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงออสโล(the Oslo Agreement), ที่เซ็นรับรองโดยอิสราเอลด้วย, ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นเค้าโครงในการแก้ปัญหาครั้งล่าสุดที่ได้รับการสนับสนุน ให้ได้รับการวางรากฐานขึ้นมา

การรายงานข่าวเกี่ยวกับการ ประชุมที่ Camp David, ผู้สื่อข่าวอเมริกันทั้งหลายได้อ้างคำพูดของนายกรัฐมนตรี Barak ของอิสราเอลอย่างเชื่อฟัง ซึ่งได้ตั้งข้อสงสัยต่อชาวปาเลสไตน์ที่กำลังเจรจากับตน”ในศรัทธาต่อความดี” แต่ไม่รายงานถึงการกระทำของอิสราเอลอย่างต่อเนื่องในฉนวน Gaza และ West Bank ซึ่งเป็นที่กังขาเกี่ยวกับ”ศรัทธาในคุณความดี”ที่แท้จริงของอิสราเอลเลย อาทิเช่น การรื้อทำลายบ้านเรือนของชาวปาเลสไตน์อย่างต่อเนื่อง, การริบน้ำของชาวปาเลสไตน์, การแผ่ขยายและการสร้างรกรากชาวยิวต่างๆขึ้นมาในดินแดนครอบครอง, การปฏิเสธไม่ยอมให้ชาวปาเลสไตน์มีการสร้างบ้านเรือนของตนขึ้นมา, และการสร้างถนนสายความมั่นคงของชาวยิว ซึ่งได้ตัดผ่านดินแดนปาเลสไตน์ลึกเข้าไป 1 ส่วน 4 ไมล์ เป็นต้น

ไม่ เพียงผู้สื่อข่าวอเมริกันจะละทิ้งข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำความเข้าใจอย่าง รอบด้านเกี่ยวกับความขัดแย้งและกระบวนการสันติภาพเท่านั้น แต่พวกเขายังได้แสดงให้เห็นการยอมรับโดยไม่วิพากษ์วิจารณ์อย่างสะเพร่ามา เป็นเวลานาน เกี่ยวกับข้อถกเถียงของอิสราเอลที่ไร้สาระที่สุดต่อการสร้างสันติภาพด้วย

ที่ สำคัญเหนืออื่นใดของสิ่งเหล่านี้ก็คือ ข้อโต้แย้งของอิสราเอลหลายต่อหลายครั้งที่ว่า หน้าที่ต่างๆของผู้เจรจาปาเลสไตน์ก็คือ จะต้องรับรองหรือค้ำประกันการยุติการโจมตีของผู้ก่อการร้าย ในฐานะเงื่อนไขที่ต้องมีก่อนข้อตกลงใดๆกับอิสราเอล. ซึ่งฟังดูแล้ว มันค่อนข้างจะเป็นข้อตกลงที่น่าหัวเราะเสมอ เว้นแต่บรรดานักหนังสือพิมพ์อเมริกันเท่านั้น

ถ้าหาก รัฐบาลสหรัฐไม่สามารถปกป้องการวางระเบิดที่ Oklahoma City และเหตุการณ์ที่ the World Trade Towers ได้ และรัฐบาลอิสราเอลไม่สามารถปกป้องการลอบสังหารนายกรัฐมนตรีของตัวเองได้ ด้วยเหตุผลอย่างเดียวกันนี้ทำไม Yaser Arafat ถึงจะสามารถรับรองการยุติการกระทำของผู้ก่อการร้ายต่างๆโดยหน่วยงาน ปาเลสไตน์ต่างๆที่อยู่นอกเหนือการบังคับควบคุมของเขาได้เล่า ?

มัน ยังมีความพลาดพลั้งจริงจังอื่นๆอีกในการรายงานข่าวอเมริกัน ซึ่งก่อให้เกิดความยุ่งยากสำหรับชาวอเมริกันที่จะทำความเข้าใจ, ในระดับของอารมณ์ความรู้สึก, ถึงความโกรธแค้นของชาวปาเลสไตน์และความขัดข้องหมองใจ ซึ่งตอนนี้กำลังเดือดพล่านอยู่บนถนนในดินแดนในเขตปกครองต่างๆของอิสราเอล และภายในอิสราเอลเอง

ความรุนแรงครั้งใหม่ซึ่งเกิดขึ้นมา ก่อนหน้านี้ได้รับการอธิบายถึงความโกรธแค้นของชาวปาเลสไตน์ว่า เนื่องมาจากสาเหตุของนาย Ariel Sharon พร้อมกับกำลังตำรวจ 1000 นาย และผู้ให้การสนับสนุนหลายร้อยคน ซึ่งได้ไปเยี่ยมเยือนสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามิกชน “Noble Sanctuary” อันเป็นที่ที่สุเหร่า Al-Aksa และโดมแห่งก้อนหินอันศักดิ์สิทธิ์( the Dome of the Rock)ตั้งอยู่. ถึงแม้ว่านาย Ariel Sharon จะได้รับการอธิบายในฐานะผู้นำฝ่ายขวาซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามที่ได้รับความ เกลียดชังจากชาวอาหรับ แต่คนอเมริกันก็ได้รับข้อมูลความเข้าใจเพียงเล็กน้อยถึงสาเหตุที่แท้จริงว่า ทำไมนาย Ariel Sharon ถึงได้ถูกจงเกลียดจงชังโดยชนชาวอาหรับทั้งหลาย

โดย ทั่วไป สิ่งที่ชาวอเมริกันไม่ได้รับการบอกเล่า แต่บรรดาชาวปาเลสไตน์ไม่สามารถลืมเลือนได้ก็คือ นาย Ariel Sharon ถูกเชื่อว่า, แม้กระทั่งโดยรัฐสภาอิสราเอล, ให้เป็นผู้รับผิดชอบต่อการสังหารหมู่ชาวปาเลสไตน์ที่มีทั้งเด็ก, ผู้หญิง และผู้ชาย ซึ่งไม่มีอาวุธใดๆอยู่ในมือจำนวน 1000-2000 คน ในค่ายอพยพปาเลสไตน์แห่ง Sabra และ Chatila ในเลบานอน

ใน ช่วงระหว่างการรุกรานของอิสราเอลเข้าไปในเลบานอน ซึ่งนายพล Ariel Sharon เป็นผู้บังคับบัญชากองทหารอิสราเอลโอบล้อมค่ายผู้อพยพสองแห่งนั้น เขายอมให้ชาวเลบานอนฝ่ายขวาที่นับถือศาสนาคริสต์ซึ่งเกลียดชัง ปาเลสไตน์(Lebanese Phalangists) ผู้ซึ่งใช้เวลาสองวันข่มขืนกระทำชำเรา, กระทำทารุณกรรมต่างๆนาๆ และไล่ฆ่าพลเรือนปาเลสไตน์ที่ไม่มีอาวุธหลายร้อยคน ในขณะที่ทหารอิสราเอลยืนอารักขาอยู่ใกล้ๆ

ไม่เพียงว่า สื่ออเมริกันจะขาดเสียซึ่งการให้ข้อมูลที่สำคัญในเชิงวิพากษ์วิจารณ์นี้ เท่านั้น แต่ความจริงอันมากมายหลายอย่างที่ให้ข่าวเกี่ยวกับนาย Sharon ผู้ซึ่งได้เข้าไปยังสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ของชนมุสลิม เพื่อแสดงถึงอธิปไตยของอิสราเอลเหนือดินแดนปาเลสไตน์, สื่ออเมริกันยังถือโอกาสอธิบายว่า เขาผู้นี้ไปยังสถานที่นั้น”ด้วยสารแห่งสันติภาพ”ด้วย

มัน เป็นเรื่องที่ออกจะยุ่งยากสำหรับชาวอเมริกันที่จะจินตนาการถึงความคับข้อง หมองใจของบรรดาชาวปาเลสไตน์ ผู้ซึ่งมองว่าชาวยิวที่มาจากสหรัฐอเมริกา ที่มาแสดงพฤติกรรมแบบเจมส์บอนด์เชื้อสายยิวในเขตปกครองต่างๆ ด้วยหมวกเหล็กพร้อมปืน 9 มม.กึ่งอัตโนมัติ – อาวุธที่พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้พกได้หรือคาดเอวเดินตามถนนตามเมืองต่างๆใน สหรัฐอเมริกา – แต่สำหรับเขตปกครองมันพร้อมที่จะเจาะเข้าไปในร่างของผู้คนและดึงเอาเลือดของ ชาวปาเลสไตน์ไหลออกมา

อเมริกันเชื้อสายยิว ผู้ที่ละทิ้งเบื้องหลังเอาไว้และได้ไปอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา ค่อนข้างมีโอกาสทางเศรษฐกิจและเสรีภาพทางศาสนามากกว่าผู้คนส่วนใหญ่ในโลกที่ จะจินตนาการได้ และพ่อแม่ของเขา ปู่ย่าตายายของเขา และบรรพบุรุษอันเก่าแก่ของเขาไม่เคยเหยียบย่างเข้าไปในอิสราเอลเลย คนเหล่านี้ได้รับความยินยอมและปลุกเร้าถึงความเป็นยิวที่มี”สิทธิ์ที่จะหวน คืนกลับ”ไปยังดินแดนที่อันเก่าแก่ซึ่งอ้างว่าเป็นของตน ที่ซึ่งครอบครัวของชาวปาเลสไตน์กำลังอาศัยอยู่และประกอบอาชีพอยู่ ณ ที่นั้นมานับศตวรรษ. และทั้งหมดขณะนี้ชาวปาเลสไตน์จำนวนมากยังคงถือกุญแจบ้านของตนอยู่ซึ่งพวกเขา ได้สูญเสียมันไปในสงครามปี 1948 และที่ซึ่งพวกเขามีความหวังแต่เพียงริบหรี่เกือบจะสิ้นหวังอย่างสมบูรณ์ของ การจะได้หวนคืนกลับไปสู่บ้านเกิดของตน

ผมสัมผัสได้ถึงความ สิ้นหวังและความโกรธแค้นที่ชาวปาเลสไตน์รู้สึก เมื่อผมได้พูดคุยกับชาวนาปาเลสไตน์ตามแบบฉบับคนหนึ่งในเขต West Bank ซึ่งบ่อน้ำของเขามีน้ำอันล้ำค่า ที่เขาต้องการทดน้ำเข้าไปในไร่ธัญพืชของเขา แต่มันต้องถูกยึดเอาไปโดยเจ้าหน้าที่ทางการของอิสราเอล เพื่อนำไปให้ผู้ตั้งรกรากชาวยิวใกล้ๆบริเวณนั้นเพื่อนำเอาน้ำอันมีค่าของพวก เขาเติมลงไปในสระว่ายน้ำ และนำมันไปรดสนามหญ้าสีเขียวใกล้ๆนั้น

ผม ตระหนักถึงความรู้สึกของชาวปาเลสไตน์บางอย่าง เมื่อผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์พวกเขามากกว่าครึ่งโหล ซึ่งบ้านของพวกเขาได้ถูกระเบิดทำลายหรือไม่ก็ถูกไถจนราบเป็นหน้ากลองโดยรถ แทรคเตอร์ของอิสราเอล ทั้งนี้เพราะสมาชิกที่เป็นวัยรุ่นคนหนึ่งของครอบครัวได้ขว้างก้อนหินเข้าใส่ ทหารอิสราเอล หรือเพราะว่าพวกเขาต้องการจะสร้างห้องพิเศษเพิ่มขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ ก่อสร้าง เนื่องจากพวกเขารู้ว่าเจ้าหน้าที่อิสราเอลจะไม่มีทางจัดหาสิ่งเหล่านั้นมา เพิ่มเติมให้กับพวกเขาได้

เกือบจะสิบปีหลังมานี้, อีกครั้งที่มีการไหลบ่าเข้ามาของผู้ตั้งรกรากใหม่ๆ การแผ่ขยายของถิ่นฐานชาวยิว การสร้างถนนหนทางต่างๆของชาวยิว การรื้อทำลายบ้านเรือนของชาวปาเลสไตน์ และการริบเอาน้ำของพวกเขาไป สิ่งต่างๆเหล่านี้ทั้งหมดยังคงดำเนินไปอยู่อย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยเกี่ยวกับอคติทางด้านเชื้อชาติ

เอกสาร ต่างๆของอเมริกันและเครือข่ายข่าวสารอเมริกันหลายหลากได้ให้โอกาสคนอเมริกัน น้อยมากที่จะทำความเข้าใจว่า อคติทางด้านเชื้อชาติยังคงเป็นอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่สุดอันหนึ่งต่อสันติภาพ

ผม ได้ประสบกับความสิ้นหวังบางอย่างที่ชาวปาเลสไตน์มีความรู้สึก เมื่อผมได้สัมภาษณ์คนอเมริกันเชื้อสายยิวเป็นจำนวนมากที่ได้ตั้งรกรากอยู่ใน เขต West Bank ในช่วงระหว่างสงครามอ่าวเปอร์เชีย. ผู้คนเหล่านั้นมากต่อมากที่ผมมีโอกาสพูดคุยมาจากนิวยอร์ค ผมได้พูดกับเขาเกี่ยวกับชนชาวอาหรับ ซึ่งเขาเหล่านั้นได้ระบายความเกลียดชังออกมาอย่างพุ่งพล่าน และด่าว่าถึงเรื่องเชื้อชาติอย่างรุนแรงเท่าที่ผมเคยได้ยินมา มันทำให้ผมระลึกถึงเกี่ยวกับอคติทางด้านเชื้อชาติที่มีต่อคนอเมริกันผิวดำ ซึ่งผมเห็นด้วยตาตนเองว่ามันได้งอกงามขึ้นมาในหมู่คนขาวอเมริกันทางตอนใต้

ภาพ ต่างๆที่ปรากฏเกี่ยวกับชาวปาเลสไตน์ที่ท่องสวดถึง”ความตายของชาวยิว” บ่อยครั้งที่ปรากฎตามสื่อมวลชนของเครือข่ายอเมริกัน ได้ทำให้คนอเมริกันเป็นจำนวนมากเกิดความตราตรึงว่า ชาวอาหรับเกลียดชังคนยิว ซึ่งนี่อาจเป็นอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่สุดต่อสันติภาพ และนั่นอาจเป็นภาพที่นำเสนออย่างผิดๆและเป็นอันตรายอย่างยิ่งที่น้อมนำพวก เราไปสู่ข้อสรุปที่ผิดพลาด

ทั้งๆที่มีคำสวดเหล่านั้น จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าในเขตฉนวน Gaza และในเขต West Bank ได้ทำให้ข้าพเจ้าสนใจที่จะทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้บางอย่างว่า ทำไมความรู้สึกที่ลึกซึ้งเหล่านั้นจึงเกิดขึ้น อย่างน้อยที่สุดกับชาวปาเลสไตน์บางคน ผู้ซึ่งได้รับการอธิบายในที่นี้ ในฐานะคนที่คลั่งไคล้หรือพวกสุดขั้วซึ่งชอบใช้ความรุนแรง

อย่าง ชัดแจ้ง มันมีปัจจัยเกี่ยวกับอคติทางด้านเชื้อชาติที่มีพิษร้ายในการแพร่เชื้ออยู่ใน ชุมชนปาเลสไตน์มากมาย… แต่ผมพบความแตกต่างที่แท้จริงอันหนึ่งระหว่างอคติทางด้านเชื้อชาติในหมู่คน อิสราเอลิที่มีต่อชาวอาหรับ, ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนความรู้สึกหนึ่งของความเหนือกว่าทางชนชาติ, ในขณะที่ชาวปาเลสไตน์เกลียดชังคนยิวอย่างที่เข้าใจได้ นั่นคือ ชาวปาเลสไตน์เกลียดชังชาวยิวก็เพราะ พวกเขาต้องการตอบโต้กับนโยบายต่างๆของรัฐบาลยิวของอิสราเอล และการที่คนยิวยังคงครอบครองดินแดนของคนอื่นอยู่อย่างต่อเนื่อง

มัน เป็นสิ่งซึ่งสามารถเปรียบเทียบกันได้ถึงความแตกต่างระหว่างการจงเกลียดจงชัง เกี่ยวกับคนอเมริกันผิวดำ โดยคนขาวที่อยู่ทางตอนใต้ที่มีความรู้สึกแบ่งแยกเชื้อชาติในช่วงระหว่าง ขบวนการเรียกร้องสิทธิพลเมืองในสหรัฐอเมริกา และความเกลียดชังคนผิวดำอเมริกันเป็นจำนวนมากที่พวกเขารู้สึกต่อคนขาว มันเป็นผลอันเนื่องมาจากการกดขี่ทางด้านเชื้อชาติที่พวกเขาประสบ. นั่นคือสิ่งที่แตกต่างกันอย่างสำคัญ

โดยไม่ได้ทำให้เป็น ความลับแต่อย่างใดในความเป็นยิวของผม ผมได้เดินทางโดยปราศจากอาวุธ ปราศจากเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือทหารคุ้มกัน ด้วยมือเปล่าและไม่มีการอารักขา ผมเดินทางเข้าไปในเขตเทือกเขาที่อยู่ห่างไกลและพื้นที่ทะเลทรายพร้อมกับล่าม แปลอีกคนหนึ่งเท่านั้นในฉนวน Gaza และในเขต West Bank ซึ่งถูกควบคุมโดยองค์กรต่อต้านมุสลิมที่เรียกตัวเองว่า Hamas และที่ๆเจ้าหน้าที่ทางการอิสราเอลบอกกับผมว่า เป็นไปได้ที่ผมอาจจะถูกฆ่า

ผม ยังคงจำความรู้สึกประหลาดใจและงงงวยเกี่ยวกับชาวปาเลสไตน์ที่นั่นได้ เมื่อพวกเขารู้ว่าผมเป็นยิวที่เข้ามาสืบสวนเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนที่ ชาวปาเลสไตน์ได้ถูกกระทำการอันรุนแรงโดยทหารอิสราเอล ผมได้ถูกพาเข้าไปในบ้านอย่างรวดเร็ว ได้รับการเชื้อเชิญให้ดื่มน้ำชาร่วมกันกับพวกเขา และผมไม่เคยลืมภาพของหยดน้ำตาของความซาบซึ้งที่ไหลลงมาอาบแก้มของพวกเขา จำนวนมาก ผู้ซึ่งมีความสุขอย่างแท้จริงที่ได้พบกับคนยิวคนหนึ่งที่มองพวกเขาในฐานะที่ เป็นมนุษย์และมีความเท่าเทียมกัน ผู้ซึ่งมีเจตนาที่จะยอมรับถึงความทุกข์ทรมานของพวกเขา ยอมรับฟังเรื่องราวอีกด้านหนึ่งของความขัดแย้งที่พวกเขาไม่เคยมีโอกาสได้ เอ่ยออกมา. คนยิวทั้งหลายที่พวกเขาเคยเห็นในหมู่บ้านก็คือพวกทหารเท่านั้น ที่เป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับการยืนยันถึงการควบคุมของอิสราเอล

ไกล ห่างการการคุ้มครองของอิสราเอลคนใด ในใจกลางของพื้นที่ต่างๆที่ถูกควบคุมโดยกลุ่ม Hamas ผมรู้สึกไม่มีอันตรายใดๆ. มันเป็นเรื่องยากที่จะหวนกลับไปยังกรุง Tel Aviv และพูดจากับคนยิวผู้ซึ่งไม่เคยอนุญาตให้ชาวอาหรับคนใดเข้าไปในบ้านของตน เว้นแต่คนอาหรับที่เข้าไปทำความสะอาดเท่านั้น และผู้ซึ่งจะอธิบายให้กับข้าพเจ้าโดยไม่มีข้อสงสัยในใจของพวกเขาว่า มันเป็นไปไม่ได้ที่พวกเขาจะแลกเปลี่ยนความคิดกับคนอาหรับอย่างมีเหตุผล แม้ว่านั่นจะเป็นสมบัติที่อารยชนทั้งหลายครอบครองอยู่ก็ตาม. ผมได้จากที่นั่นมาด้วยความประทับใจที่เสียดแทง และพอจะสรุปได้ว่าสมาคมต่อต้านเชื้อชาติอาหรับเป็นอุปสรรคที่สำคัญยิ่งต่อ สันติภาพ และจากหลักฐานต่างๆ หลังจากนั้นอีกสิบปีล่วงมาแล้วได้บ่งชี้ว่า มันไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปเลย

ผมได้รู้จักกับอิสราเอลิ คนหนึ่งที่มีอคติทางด้านเชื้อชาติก่อนที่จะออกมาจากสนามบิน Ben Gurion ที่อยู่นอกกรุง Tel Aviv. ภายนอกบริเวณท่าอากาศยาน ทางออกจากสนามบินที่ซึ่งบรรดานักท่องเที่ยวทั้งหลายต่างรอรถแท็กซี่ ซึ่งปกติแล้วจะขนพวกเขาไปยัง Tel Aviv หรือ Jerusalem, อิสราเอลเชื้อสายยิวคนนั้นได้ถามผมว่าจะบ่ายหน้าไปไหน. “Jerusalem” ผมบอกกับเขา. “แล้วคุณจะพักที่ไหน?” เขาถาม, ผมบอกกับเขาไปว่าผมวางแผนที่จะพักอยู่ที่ YMCA Hotel. “โอ้, เป็นโรงแรมที่ถัดจาก the King David Hotel ใช่ไหม?” เขาถาม, ทึกทักว่าผมคงจะไปพักที่โรงแรม YMCA ทางฝั่งตะวันตกของเยรูซาเล็มที่ชาวยิวอาศัยอยู่. “ไม่”ผมตอบ, “ผมจะพักที่ YMCA ในฝั่งตะวันออกของเยรูซาเร็ม”. ใบหน้าของเขาเปลี่ยนไปทันที ดูแล้วรู้สึกว่าเขาเกิดความสับสนอย่างมากและฉงนสนเท่ห์. “ผมไม่คิดว่าที่นั่นมันจะสะอาดสะอ้านมากพอนะ” เขาเตือน

แน่นอน เขาเกือบจะไม่เคยไปยัง YMCA บนถนน Nablus เลย แต่เขาก็ยังทึกทักว่ามันคงจะสกปรกแน่เพราะมันตั้งอยู่ในเขตที่ชาวอาหรับ อาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเยรูซาเล็ม. นั่นเป็นการเผยให้เห็นครั้งแรกและเบาที่สุดแล้วของอิสราเอลิที่มีอคติทาง ด้านเชื้อชาติซึ่งมีความรู้สึกต่อชาวอาหรับ. การเดินทางผ่านอิสราเอล ผมได้เห็นการดูถูกเหยียดหยามทางด้านเชื้อชาติต่อชนชาวอาหรับอย่างกว้างขวาง และลึกซึ้ง ซึ่งมาถึงตอนนี้ ผมเห็นว่ามันเป็นไปได้และจริงจัง, แต่ไม่ค่อยพูดถึงกันนัก, เกี่ยวกับอุปสรรคที่จะนำไปถึงสันติภาพอันถาวร

จาก การตัดสินโดยถ้อยแถลงของผู้นำทางศาสนาที่โดดเด่นที่สุดของพรรค Shas, โดยไม่มีการแก้ไขใดๆ. Rabbi Ovadia Yosef, ผู้นำทางจิตวิญญานของพรรค Shas, พรรคการเมืองที่มีแนวทางแบบออร์โธด็อกซ์แบบสุดๆ(Ultra-Orthodox party) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสามในรัฐสภาอิสราเอล เมื่อเร็วๆนี้ได้อรรถาธิบายว่า ชาวปาเลสไตน์เป็น”งู”ที่พระผู้เป็นเจ้าได้”ทรงสร้างขึ้นมาด้วยความเสีย พระทัย”. จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ พรรค Shas ได้มีส่วนอย่างสำคัญพรรคหนึ่งในการก่อตั้งรัฐบาลผสมของนายกรัฐมนตรี Ehud Barak ขึ้นมา

อคติทางด้านเชื้อชาติที่ต่อต้านชาวอาหรับในอิสราเอลและสำเนาอย่างเดียวกันในสหรัฐอเมริกา

ช่วง ระหว่างเดินทางในปี 1991 ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของอิสรามิกชน ซึ่งรวมทั้งสุเหร่า Al-Aqsa และโดมแห่งก้อนหินอันศักดิ์สิทธิ์. เพียงไม่กี่เดือนก่อนหน้านั้น ในเดือนตุลาคม 1990, พลเรือนปาเลสไตน์จำนวน 19 คนได้ถูกยิงตายโดยตำรวจอิสราเอล. ผมสัมภาษณ์พยานผู้เห็นเหตุการณ์และได้ถ่ายรูปรูกระสุนปืนที่ยังทิ้งร่องรอย ของมันอยู่ที่ข้างสุเหร่าโดยปืนที่ยิงมาจากฝ่ายอิสราเอล. เหยื่อของเหตุการณ์ครั้งนั้นรวมถึงเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นสต๊าฟที่ทำงานในรถ พยาบาล ที่พยายามจะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับบาดเจ็บ

ใน สหราชอาณาจักร นิตยสารข่าวรายสัปดาห์แนวอนุรักษ์นิยม ‘The Economist’ ใช้ศัพท์คำว่า `massacre'(การสังหารหมู่)เพื่ออธิบายถึงการฆ่าหมู่อย่างทารุณ. พวกเขาเรียกมันว่า”การสังหารหมู่”ทั้งบนหน้าแรกของนิตยสาร, ในบทบรรณาธิการ และพาดหัวข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ครั้งนี้. ส่วนนิตยสาร The New York Times ไม่ได้รายงานถึงการสังหารหมู่ครั้งนี้เลย แต่กลับไปอธิบายถึงการปะทุของความรุนแรงเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งมันกำลังเป็นความสับสนและเรื่องราวซึ่งเป็นไปในทางตรงข้าม

การ แสดงออกซึ่งน่าตำหนิมากที่สุดเกี่ยวกับอคติทางเชื้อชาติต่อต้านอาหรับได้ถูก นำเสนอโดย Time Magazine ซึ่งได้อรรถาธิบายการสังหารหมู่พลเรือนปาเลสไตน์ที่ไม่มีอาวุธ 19 คนครั้งนี้ ด้วยพาดหัวตัวโตอ่านได้ว่า “Saddam’s Lucky Break”(สิ้นสุดการโชคดีของซัดดัม) ฆาตกรรมที่ปราศจากการปกป้องครั้งนี้เกี่ยวกับพลเรือนชาวอาหรับ ได้ถูกอธิบายในฐานะ”การโฆษณาชวนเชื่อในชัยชนะ”ต่อ Saddam Hussein และบ่งเป็นนัยว่า เขาเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบสำหรับการฆ่าอย่างโหดเหี้ยมครั้งนี้ยิ่งกว่า ตำรวจอิสราเอลผู้ลั่นไกปืนเสียอีก

มันเป็นเรื่องที่ ละเอียดอ่อนและแบบบางมากเกี่ยวกับอคติทางด้านเชื้อชาติต่อต้านอาหรับ ซึ่งยังคงแทรกซึมอยู่ในรายงานข่าวของเราอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับ ตะวันออกกลางและความขัดแย้งระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอลสำหรับทุกวันนี้

มัน ได้รับการอธิบายด้วยคำพูดของ Judy Woodruff จาก CNN ที่ได้กล่าวถึงความรุนแรงเมื่อเร็วๆนี้ในอิสราเอล และดินแดนในเขตปกครอง ซึ่งชาวปาเลติเนียนมากกว่า 76 คนได้ถูกฆ่าตายในตอนนี้โดยตำรวจและทหารอิสราเอล : การจลาจลที่เพิ่มมากขึ้นมากทางตอนเหนือของอิสราเอล ได้รับการประณามอันเนื่องมาจากผู้คนจำนวนมากกว่า 50 คนถูกฆ่าตาย”. ตามที่ CNN รายงาน มันคือการจลาจล ไม่ใช่การตัดสินใจของกองกำลังรักษาความปลอดภัยของอิสราเอล ที่ยิงเข้าใส่ชาวปาเลสไตน์ด้วยลูกกระสุนจริงและจรวดต่อต้านรถถังที่ต้องรับ ผิดชอบสำหรับการตายของชาวปาเลสไตน์มากกว่า 50 คน

อคติทาง ด้านเชื้อชาตินี้ได้ถูกสะท้อนในข่าวพาดหัวของ Sacramento Bee ด้วยว่า “Riots Escalate in West Bank”(การจลาจลขยายตัวมากขึ้นในเขต West Bank)พร้อมกับพาดหัวที่เล็กลงมาที่ตลกๆว่า”ตาย 12 บาดเจ็บนับร้อย”. มันนำเสนอในข่าวพาดหัว SF Examiner ว่า “Death Toll Reaches 29 in Mideast Clashes” (ตายถึง 29 ในการปะทะกันที่ตะวันออกกลาง)

ไม่มี ตัวอย่างข่าวพาดหัวใดเลยที่ทำให้เกิดความชัดเจนว่า ผู้คนตายไปเท่าไหร่ และใครเป็นผู้ทำ มาถึงตอนนี้เราต่างทราบกันดี ณ เวลาที่เขียนเรื่องนี้ขึ้นมาว่า ชาวปาเลสไตน์มากกว่า 76 คนได้ถูกฆ่าตาย. เราควรจะรับรู้ทั้งหมด ลึกลงไปในหัวใจของพวกเรา ถ้าหากว่า 29 หรือ 55 หรือ 76 อิสราเอลถูกฆ่าตายโดยชาวปาเลสไตน์ ข่าวพาดหัวจะเปลี่ยนไปทันที มันจะส่งเสียงดังลั่นในสหรัฐอเมริกาจากข่าวพาดหัวของหนังสือพิมพ์เกือบทุก ฉบับว่า “อิสราเอล 29 คนถูกฆ่าตายโดยชาวปาเลสไตน์” หรือ”อาหรับฆ่า 76 อิสราเอล”.

แน่นอน พาดหัวข่าวเกี่ยวกับความตายและความรุนแรงในตะวันออกกลางดังกล่าว – พาดหัวข่าวนั้นล้มเหลวที่จะให้เหตุผลความรับผิดชอบโดยตรงใดๆสำหรับการฆ่า. สำหรับบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ไล่ตามลำดับเวลาของ SF Examiner ที่รายงานตามพาดหัวข่าวซึ่งมีเนื้อหาความว่า “การจลาจลของชาวปาเลสไตน์แผ่ขยายเข้าไปในอิสราเอล”. สามย่อหน้าในเรื่องดังกล่าว พวกเราได้รับข้อมูลว่าชาวปาเลสไตน์ 12 คนถูกฆ่าตาย. โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวอย่างที่เลวระยำเอามากๆก็คือ ข่าวพาดหัวของ Sacramento Bee อีกอันที่เขียนว่า “มือปืนปาเลสไตน์ยิงเข้าใส่ชาวอิสราเอล” ตลอดเรื่องราวอันนั้นบอกกับเราว่า ชาวปาเลสไตน์มากกว่า 12 คนถูกฆ่าตาย

นี่คือบางสิ่งบาง อย่างที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าในหน้าหนังสือพิมพ์อเมริกัน และมีนัยะในการยึดติดคุณค่าอันหนึ่งอยู่กับชีวิตความเป็นอยู่ของคนอิสราเอล และในขณะที่คุณค่าชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอาหรับกับมีค่าน้อยกว่ามาก. อิสราเอลถูก”ฆ่า”แต่ปาเลสไตน์”ตาย”. ผมไม่ใช่เพียงลำพังเท่านั้นซึ่งสังเกตเห็นความแตกต่างที่ไม่เหมือนกันอันนี้ มารบกวนจิตใจ ซึ่งมันทำการอำพรางและแอบซ่อนความรับผิดชอบของอิสราเอลเอาไว้

< อ่านต่อตอน 2 >

 

——-
Eduardo Cohen : เขียน
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปล
ที่มา มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน