หน้าแรก บทความ

มองสถานการณ์ภาคใต้ผ่านสายตาของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ (ตอนที่3)

3. ปอเนาะ

อันที่จริงการเรียกปอเนาะว่าโรงเรียนปอเนาะทำให้เกิดความเข้าใจผิดไปคนละ เรื่องอย่างเดียวกับที่เกิดในการเรียกการศึกษาของวัดว่าโรงเรียนวัดเพราะ ปอเนาะและวัดเป็นระบบการศึกษาอีกอย่างหนึ่งซึ่งไม่ใช่การศึกษาระบบโรงเรียน อันเป็นระบบการศึกษาที่เกิดขึ้นเพื่อรับใช้การผลิตในระบบอุตสาหกรรม

ใน ทุกวันนี้เรามองเห็นความบกพร่องในระบบโรงเรียนหลายอย่างและในทุกสังคมไทยได้ พยายามปฏิรูประบบโรงเรียนเพื่อแก้ไขความบกพร่องนั้นน่าประหลาดที่ว่าหลาย อย่างที่เป็นเป้าหมายของการปฏิรูประบบโรงเรียนนั้นกลับไปตรงกับการจัดการ ศึกษาระบบปอเนาะและวัด

น่าเสียดายที่การศึกษาระบบวัดของ ไทยถูกทำลายไปจนไม่เหลือซากอันเป็นผลมาจากการปฏิรูปศาสนาและการสร้างระบบการ ศึกษามวลชนนับตั้งแต่ ร.๕ เป็นต้นมาและนี่คงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้คนไทยทั่วไปไม่เข้าใจการศึกษาระบบ ปอเนาะหรือพยายามอธิบายระบบการศึกษาแบบนี้อย่างผิดฝาผิดตัวด้วยการถือการ ศึกษาระบบโรงเรียนเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบ

เช่นเมื่อไม่รู้จะ เทียบการศึกษาในปอเนาะเท่ากับมาตรฐานอะไรในระบบโรงเรียนก็มักจะเทียบกับ โรงเรียนประถมหรืออย่างเก่งก็มัธยมต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วโต๊ะปาเก (ผู้เรียนในปอเนาะ) ล้วนจบชั้นประถมศึกษามาแล้วบางรายอาจจบปริญญาตรีแล้วด้วยซ้ำ เพราะปอเนาะ “สอนศาสนา”จากความรู้ขั้นพื้นฐานไปจนกระดับสูง ชนิดที่ผู้จบการศึกษาแล้วอาจกลายเป็นอุลามะ(ผู้รู้ทางศาสนา) ได้เลย ขึ้นอยู่กับว่าโต๊ะบาบอ (โต๊ะครูผู้ดำเนินกิจการปอเนาะ)จะมีความรู้สูงมากเท่าไร

ผม ใส่เครื่องหมายคำพูดลงไว้กับวลีว่า “สอนศาสนา” ก็เพราะถ้าคิดถึงการศึกษาระบบโรงเรียน ศาสนาก็เป็นเพียงวิชาหนึ่งเท่านั้นแต่ถ้าคิดแบบปอเนาะหรือวัด ศาสนาเป็นทุกวิชา ความรู้ใดๆก็ตามย่อมมีขึ้นหรือถูกใช้เพื่อเป้าหมายบั้นปลายทางศาสนาทั้งสิ้น เช่นดำรงชุมชนมุสลิมให้มีสันติสุขหรือถ้าเป็นวัดก็จะทำให้มองเห็นพระ ไตรลักษณ์ได้แจ่มชัดขึ้น

โดยอุดมคติแล้วความรู้ทางศาสนา สำหรับมุสลิมไม่ได้มีไว้ไปสอบสนามหลวงแต่มีเพื่อนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เขาเชื่อว่าความรู้ทางศาสนานี้เป็นพื้นฐานให้ไปทำอะไรก็ดีทั้งนั้นนับ ตั้งแต่ตั้งหลักปักฐานมีครอบครัว ไปจนถึงประกอบอาชีพการงานเลี้ยงชีพหรือช่วยเหลือสังคมและเป็นผู้นำไปในทางดี ให้แก่สังคม… สังเกตนะครับว่าดีทั้งนั้นไม่ได้แปลว่าได้ทั้งนั้น

ฉะนั้น เวลาไปบอกชาวมุสลิมว่าเพราะไม่ยอมเรียนแพทย์, เรียนวิศวะ เลยทำให้ไม่รวย เขาก็คงงงเพราะเป้าหมายการศึกษาของเขาคือความดี ไม่ใช่ความรวยนี่แหละครับที่ผมบอกว่าผิดฝาผิดตัวเพราะเป็นระบบการศึกษาที่ แตกต่างกันตั้งแต่ระดับรากฐานไปจนถึงเป้าหมายปลายทางเลย

อย่าง ที่ทราบกันอยู่แล้วว่าปอเนาะ มาจากคำว่า pondok แปลว่า กระท่อมซึ่งเป็นคำบรรยายปอเนาะที่เหมาะเหม็งมากที่สุดไม่ใช่ในแง่ สถาปัตยกรรมหรือโครงสร้างของสถานที่นะครับเพราะปัจจุบันก็เปลี่ยนรูปโฉมจาก กระท่อมไปมากแล้ว แต่ที่สำคัญก็คือกระท่อมให้ความหมายว่าปอเนาะเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้โดยมี โต๊ะบาบอหรือโต๊ะครูที่เป็นผู้สร้างเป็นศูนย์กลาง

แล้วเขา ก็เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้จริงๆ เสียด้วยในขณะที่มหาวิทยาลัยซึ่งอยากทำตัวเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้เหมือน กันทำได้แค่กายภาพเท่านั้น (มีตึกคณะต่างๆ, มีตึกอธิการ, แล้วก็มีหอพักนักศึกษาและบ้านพักอาจารย์ ซึ่งทั้งหมดนี้แทบไม่มีความสัมพันธ์อะไรกันเลยจนแยกกันอยู่คนละพื้นที่ก็ได้ เพียงแต่ไม่มีโอกาสสร้างรั้วมหาวิทยาลัยเท่านั้น)

ปอเนาะ เริ่มขึ้นจากโต๊ะครูผู้มีความรู้เปิดบ้านสอนหากเป็นผู้มีความรู้ลูกศิษย์ลูก หาก็เพิ่มมากขึ้น จนต้องสร้าง “บาลาเซาะห์” หรือศาลาโถงใหญ่ไว้หน้าเรือน เพื่อใช้สอนและประกอบศาสนกิจบางอย่างส่วนลูกศิษย์ลูกหาซึ่งมักเดินทางมาจาก ที่ไกลๆ ก็จะมาสร้างกระท่อมอยู่แวดล้อมโต๊ะครูเมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้วก็ยกกระท่อม นั้นเป็นสมบัติของปอเนาะเพื่อศิษย์รุ่นหลังจะได้ใช้ต่อไป

ปอเนาะ จะแบ่งบริเวณระหว่างศิษย์หญิงชายบางครั้งมีบริเวณพิเศษสำหรับโต๊ะปาเกที่มี ครอบครัวแล้วการเรียนปอเนาะไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนการสอนศาสนาไม่ใช่การหา รายได้ โต๊ะครูอาจมีเรือกสวนไร่นาของตนเอง พอยังชีพได้หากไม่มีใครรวยขึ้นมาจากการทำปอเนาะ ส่วนศิษย์ต้องรับผิดชอบการอยู่กินของตนเองรายที่ทางบ้านไม่มีเงินส่งเสีย ก็อาจหารายได้อื่นๆ จุนเจือตัวเองไปด้วยเช่นรับจ้างกรีดยาง เป็นต้น

ราย ได้เล็กน้อยอีกหนทางหนึ่งของโต๊ะครูก็คืออาจได้รับส่วนแบ่งซากาต (หรือเงินบริจาคแก่ชุมชนตามข้อบังคับทางศาสนาทุกปี)เพราะถือว่าเป็นผู้ที่ ทำงานอุทิศตนให้แก่ศาสนาโดยไม่มีรายได้เป็นชิ้นเป็นอัน(เปรียบเทียบกับการ ตักบาตรและการทำบุญที่วัดของชาวบ้าน)

นี่ไงครับ ภาษี “ศึกษาพลี”ซึ่งรัฐบาลสยามพยายามจะตั้งขึ้นในรัชกาลที่ ๖แล้วล้มเหลวสืบมาจนถึงทุกวันนี้ในขณะที่เรากำลังพูดถึงการเปิดโอกาสการ ศึกษาแก่ทุกคนปอเนาะเป็นอีกระบบหนึ่งที่เปิดโอกาสให้คนอยากเรียนได้เรียนทุก คนไม่ว่าจะเป็นลูกนายกฯ หรือลูกโจร

สิ่งที่สอน กันในปอเนาะนั้นสรุปเหลือเพียงสองอย่าง คือภาษามลายูและอาหรับ เพื่อจะได้สามารถอ่านตำรับตำราได้เองและวิชาที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ซึ่งประกอบด้วยฟิกฮ์และตะเซาอุฟวิชาแรกว่าด้วยกฎหมาย บทบัญญัติ และการดำเนินชีวิตตามครรลองของศาสนาอันเป็นจริยวัตรของชาวมุสลิม ส่วนวิชาที่สองเกี่ยวกับหลักการพัฒนาจิตใจ

ถ้าถามว่าแคบไปไหม ? คำตอบก็คือ แคบไปเมื่อเทียบกับหลักสูตรในระบบโรงเรียนปัจจุบันแต่สิ่งที่ปอเนาะสอนนั้น ไม่ได้ออกมาจากปากโต๊ะครูเพียงอย่างเดียวหากวิถีดำเนินชีวิตในปอเนาะทั้งหมด ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญมากของหลักสูตร

การ อยู่ร่วมกันอย่างสันติและเกื้อกูลกันของโต๊ะปาเก, การปฏิบัติต่อโต๊ะครูและมามา (ภรรยาของโต๊ะครู), การเข้าไปมีส่วนร่วมในพิธีกรรมและกิจกรรมของชุมชนที่ปอเนาะตั้งอยู่, การทำมาหากิน, การครองเรือน (ในกรณีที่โต๊ะปาเกมีครอบครัวแล้ว), การมีวินัยทั้งในทางกาย, วาจา, ใจตามระเบียบของปอเนาะ ฯลฯ ทั้งหมดนี้ล้วนมีส่วนสร้าง “บัณฑิต”ที่แท้จริงออกมาจากปอเนาะ

เป็นการ ศึกษาที่สำคัญกว่าวิชาชีพมากนัก เพราะเอาเข้าจริงวิชาชีพต่างๆ ที่เรายกย่องนั้น หากตั้งใจอยากรู้จริงก็เรียนได้ไม่ยากสักวิชาแต่การสร้างบุคลิกภาพที่มีศาสน ธรรมเป็นพื้นฐานต่างหากที่ยากกว่าและสำคัญกว่าปัญหาจึงอยู่ที่ว่า เมื่อจบปอเนาะแล้ว อยากเรียนรู้อะไรอีกในสังคมไทยเราได้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะตอบสนอง ความอยากรู้อยากเห็นของผู้คนมากแค่ไหนเช่น มีห้องสมุด, หอศิลป์, พิพิธภัณฑ์, หนังดีๆ, รายการทีวีดีๆ ฯลฯให้เขาได้เรียนรู้บ้างไหม

การ ศึกษาในปอเนาะจึงไม่ใช่การศึกษาที่ล้าหลังถ้าจะมีอะไรล้าหลังก็คือการจัดการ ด้านการเรียนรู้ของสังคมไทยปัจจุบันมากกว่ากล่าวคือ ไม่มีแหล่งเรียนรู้อะไรอีกเลยนอกจากห้องเรียน

นอกจาก นี้แล้วโต๊ะปาเกและโต๊ะบาบอจะมีความสัมพันธ์กันอยู่เสมอ ทุกคืนวันพฤหัสฯจะมีการประชุมโดยบาบอจะสรุปสิ่งที่เรียนกันมาตลอดสัปดาห์ให้ ฟังพร้อมทั้งชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของการเรียนแต่ละคนในขณะเดียวกันก็จะขอ ความเห็นจากโต๊ะปาเกในเรื่องที่เกี่ยวกับส่วนรวมด้วยเท่ากับศิษย์มีส่วนร่วม ในการบริหารสถาบันไปพร้อมกันด้วยอันเป็นสิ่งที่การปฏิรูปการศึกษาพูดถึง แต่ไม่มีสถาบันใดทำได้จริงสักแห่งนับตั้งแต่อนุบาลยันมหาวิทยาลัย

อีก ด้านหนึ่งของการศึกษาระบบปอเนาะก็คือมีการศึกษาต่อเนื่องในระบบ โดยเฉพาะคนที่ต้องการเป็นอุลามะที่รู้ศาสนาลึกซึ้งเพราะเขาจะย้ายปอเนาะไปหา โต๊ะครูที่เก่งในทางที่เขาสนใจไปได้เรื่อยๆ ไม่ต่างจาก”สำนัก” ของระบบการศึกษาในวัดต่างๆ เมื่อสมัยโบราณ ศิษย์สามารถเสาะหาอาจารย์ดีๆได้เรื่อยไปจนกว่าจะพอใจส่วนใหญ่อาจารย์เก่าก็ เป็นผู้ฝากฝังให้ไปหาครูดีคนใหม่นั่นเอง

ใน ส่วนคนที่พอใจจะเรียนรู้ศาสนาเท่าที่จะดำเนินชีวิตเป็นมุสลิมที่ดีก็อาจออก ไปทำมาหากินเมื่อมีความรู้พอสมควรแล้ว พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ การ”สำเร็จการศึกษา” เป็นสิ่งที่ผู้เรียนต้องมีส่วนอย่างสำคัญในการประเมินเพราะชีวิตแต่ละคนไม่ เหมือนกัน ทำไมต้องใช้ปริญญาบัตรใบเดียวกันล่ะ

และ เช่นเดียวกับระบบการศึกษาของวัดในสมัยโบราณ แต่ละสำนักมีเครือข่ายออกไปได้กว้างไกลเช่นปอเนาะภูมี (อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี) เป็นปอเนาะที่มีชื่อเสียงมากเพราะผู้ก่อตั้งคือโต๊ะครูวันอะห์หมัด เป็นวันอิดริส เป็นนักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงฉะนั้น ท่านจึงมีศิษย์ที่โด่งดังและกลายเป็นโต๊ะครูมหาศาล (มีศิษย์มาก)ทั้งในปัตตานี ข้ามไปหลายรัฐของมาเลเซีย, พม่า, กัมพูชา, และขึ้นมากรุงเทพฯ, นนทบุรี และปทุมธานี

ตาม ประวัติตัวท่านเองเมื่อไปศึกษาที่เมกกะก็ได้เป็นศิษย์ของโต๊ะครูชาวปัตตานี ผู้มีชื่อเสียงที่นั่นอยู่หลายปีแสดงว่าเครือข่ายของวิชาความรู้ด้านอิสลาม ของปัตตานีนั้นมีลักษณะโลกาภิวัตน์มาก่อนการศึกษาไทยในระบบโรงเรียนเสียอีก

ผม คิดว่าเมื่อไรที่เราพูดถึงปอเนาะเรากำลังพูดถึงระบบการศึกษาอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากการศึกษาระบบโรงเรียนที่เราเคยชินและถูกหลอกให้ เชื่อว่าดีที่สุด ฉะนั้น จึงไม่ควรพยายามดึงให้ปอเนาะ “เข้าระบบ”เพราะที่จริงเขามี “ระบบ” ของเขาอยู่แล้ว และหลายเรื่องด้วยกันก็ดีกว่า “ระบบ”ของเราด้วย

อัน ที่จริงถ้าว่าตามรัฐธรรมนูญแล้วปอเนาะเป็นระบบวัฒนธรรมท้องถิ่นซึ่ง รัฐธรรมนูญรับรองให้ดำรงอยู่ได้สืบไปจึงอาจถือได้ว่าเป็นการศึกษาทางเลือก อย่างหนึ่ง ถ้าพูดกันด้วย พ.ร.บ.การศึกษาปอเนาะคือศูนย์การเรียนรู้ ถึงกระนั้นผมก็ไม่อยากอ้างกฎหมายเท่ากับอยากให้เราคิดอย่างไม่ยึดติดอยู่กับ การศึกษาระบบโรงเรียนเป็นหลักเพียงอย่างเดียว

“การ ศึกษาในระบบ”ไม่น่าจะหมายความว่า มีอยู่ในระบบเดียวโด่เด่แต่น่าจะหมายความว่าระบบการศึกษาซึ่งอาจมีหลายระบบ ตั้งอยู่คู่เคียงกันแต่มีช่องทางที่อาจถ่ายโอนระหว่างกันได้ตลอดไป ไม่ใช่ถ่ายโอนเฉพาะนักเรียนนะครับแต่ถ่ายโอนข้อดีของแต่ละระบบเข้าหากันได้ ด้วย

การเข้าใจวัฒนธรรมของมุสลิมมลายูในภาคใต้นั้นดีแน่ แต่ผมคิดว่าไม่เพียงพอ นอกจากเข้าใจแล้วต้องนอบน้อมถ่อมตัวด้วยอย่านึกแต่เพียงว่าจะไปเปลี่ยนเขา ให้เหมือนเราด้วยวิธีละมุนละม่อมเท่านั้นแต่ทุกครั้งที่จะไปทำอะไรกับปอเนาะ ควรนึกถามตัวเองเสมอว่า “มึงแน่มาจากไหนในเมื่อระบบการศึกษาของมึงที่ลอกฝรั่งมายังไปไม่ถึงไหน สู้ฝรั่งก็ไม่ได้สู้ประเทศอื่นที่ลอกฝรั่งมาด้วยกันก็ไม่ได้”แล้วเรามีดี อะไรที่จะไปชี้นิ้วสั่งปอเนาะให้ทำโน่นทำนี่

ถ้านอบน้อมถ่อมตนเสียอย่างเราจะได้เรียนรู้อะไรจากปอเนาะอีกมากและสามารถนำมาปรับใช้กับการปฏิรูประบบโรงเรียนของเราได้มากเช่นกัน

(อาศัย ข้อมูลจากรายงาน”โครงการศึกษาการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม กรณีศึกษาบ้านดาโต๊ะและบ้านภูมีในโครงการสร้างนักวิจัยท้องถิ่นของท่าน อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดมน่าเสียดายที่ในเอกสารไม่ได้ระบุชื่อนักวิจัยท้องถิ่นไว้)

 

ที่มา http://v1.midnightuniv.org/midnight2545/document9782.html