รายงาน

หน้าแรก รายงาน หน้า 20

ประทีป ปิวิถะ ผลักดัน “เพลินทะเล” ของดีตานีช่วยเหลือชุมชน

จากเด็กเมืองเพชรบุรี เดินทางข้ามถิ่นมาพร้อมครอบครัวที่ทำประมงยังเมืองปัตตานีเมื่อ 46 ปี ที่แล้ว จนกลายเป็นคนปัตตานีไปด้วยความรู้สึกรักที่นี่ ญาติพี่น้องก็ย้ายมาอยู่ที่นี่กันหมด มีครอบครัวปักหลักทำมาหากินที่ปัตตานีจนลูกเรียนจบทำงานเป็นหลักแหล่ง ประทีป ปิวิถะ ผู้หญิงจิตใจดีคนนี้ก็ยังยึดมั่นใช้ชีวิตอยู่ที่ปัตตานี

ส่งเสริมนวัตกรรมของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวชายแดนใต้

ชายแดนใต้เป็นพื้นที่ที่มีทุนทางวัฒนธรรมที่แปรเป็นผลผลิตที่เป็นสินค้าของที่ระลึกได้อย่างมีเสน่ห์ และได้มีการพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยความมีอัตลักษณ์และเสน่ห์ที่เกี่ยวกับความเชื่อ ศาสนา การเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคม

หอศิลป์เมืองตานี กับความตั้งใจของ เจ๊ะอับดุลเลาะ

เจ๊ะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ ศิลปินวัยสามสิบต้นๆ แห่งปัตตานีบอกกล่าวถึงความตั้งใจในการทำงานศิลปะและการก่อเกิดของหอศิลป์ เล็กๆ แห่งนี้ในเมืองปัตตานี Patani Contemporary Arts Gallery ว่า “เปิดกว้างกับทุกศาสนาทุกคนที่ต้องการนำเสนออัตลักษณ์ของตัวเองและผลงาน อย่างเต็มที่ เหมือนบ้านที่เปิดอยู่ตลอด ลมก็จะเข้ามาตลอด เป้าหมายของผมคือ ปลูกดอกไม้ให้คนดมได้สบาย”

ฝันที่เป็นจริงของ “สีตีนอร์” 10 ปีที่รอคอยห้องน้ำ

นับตั้งแต่สามี อับดุลรอนิง เจ๊ะเลาะ ของ สีตีนอร์ เจ๊ะเลาะ ถูกศาลชั้นต้นปัตตานีพิพากษาตัดสินประหารชีวิตจากเหตุการณ์กรือเซะ 28 เมษายน 2547 ทั้งที่สามีของเธอถูกว่าจ้างให้ขับรถพาคนไปถางป่าที่อ.บันนังสตา จ.ยะลา เมื่อถึงอ.แม่ลาน จ.ปัตตานีได้เกิดเหตุโจมตีหน่วยงานราชการขึ้น สามีเธอรอดชีวิตเพียงคนเดียว ส่วนคนอื่นเสียชีวิต เขาถูกส่งไปยังเรือนจำบางขวาง กรุงเทพฯ และเพิ่งได้ย้ายกลับมาเรือนจำกลางสงขลาเมื่อปีที่แล้ว

สถาปัตยกรรมมลายู ศิลปะประจำพื้นถิ่นดินแดนชายแดนใต้

สถาปัตยกรรมมลายูเป็นศิลปะประจำพื้นถิ่นดินแดนชายแดนใต้มานาน ดินแดนที่มีความหลากหลายของพหุวัฒนธรรม ดินแดนที่มีอารยธรรมของพุทธ พราหมณ์ และฮินดูมาก่อนที่อิสลามจะเผยแผ่เข้ามา

10 ปี ณ ปาตานีกับการใช้กฎอัยการศึกที่ชราภาพ

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2557 ซึ่งตรงกับวันที่ทนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความมุสลิมที่ช่วยเหลือพี่น้องในชายแดนใต้ในหลายคดีได้หายตัวไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว มีผู้เข้าร่วมรับฟังการเสวนาในเวที “10 ปี กฎอัยการศึก 10 ปี ณ ปาตานี กับการบังคับให้สูญหายของเสียงเรียกร้อง” จากหลากหลายสาขาอาชีพจนล้นห้องประชุมอิหม่ามอันนาวาวีย์ อาคารวิทยอิสลามนานาชาติ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี(ม.อ.ปัตตานี) ที่ทางมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม จัดขึ้น

เสียงสะท้อน1ปีสันติภาพใต้ยังต้องเดินหน้าต่อ

วัน ที่ 28 ก.พ.57 ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบ 1 ปีการพูดคุยสันติภาพดับไฟใต้ระหว่างรัฐบาลไทยกับผู้เห็นต่างจากรัฐ นำโดยขบวนการบีอาร์เอ็น ทำให้มีการจัดเวทีในวาระ 1 ปีพูดคุยสันติภาพ ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีโดยมี ดาโต๊ะ สรี อาห์มัด ซัมซามิน ฮาชิม ผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการพูดคุยชาวมาเลเซีย ขึ้นกล่าวถึงอนาคตของสันติภาพชายแดนใต้ด้วย

10 ผู้หญิงชายแดนใต้รับรางวัล “สตรีต้นแบบ” จากอ็อกแฟม

ผู้หญิง 10 คนคือ แยน๊ะ สะแลแม, นฤมล สาและ, ดวงสุดา นุ้ยสุภาพ, อารีด้า สาเมาะ, กัลยา โสพาศรี, มาริสา สมาแห, นิเด๊าะ อิแตแล, อรอุมา ธานี, สม โกไศยกานนท์ และ สีตีนอร์ เจ๊ะเลาะ คือผู้หญิงสิบชีวิตจากชายแดนใต้ที่ได้รับการคัดเลือกจาก องค์การอ็อกแฟม ประเทศไทย มอบรางวัล “สตรีต้นแบบ” (Women Across Barriers) ในฐานะสตรีผู้สร้างแรงบันดาลใจ และร่วมสร้างสรรค์สันติภาพอันยิ่งใหญ่ในชุมชน ร่วมฉลองวันสตรีสากล โดย ฯพณฯ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เป็นประธาน มอบรางวัลในวันที่ 11 มีนาคม 2557 พร้อมนิทรรศการภาพถ่าย “ดอกไม้กลางไฟใต้” Women Across Barriers : Deep South Insight เรื่องเล่าจาก จังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ มิวเซียมสยาม กรุงเทพมหานคร

คำนึง ชำนาญกิจ หญิงแกร่งจากปัตตานีรับรางวัลส่งเสริมสันติภาพ วันสตรีสากล 2557

คำนึง ชำนาญกิจ อาสาสมัครเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ ผู้ได้รับผลกระทบจากคดีความมั่นคงจากจ.ปัตตานี ผู้ก้าวข้ามประสบการณ์จริงที่เป็นฝันร้ายของชีวิตมายืนได้โดยแข็งแรงในทุกวันนี้ พร้อมทำงานช่วยเหลือผู้อื่นเต็มศักยภาพที่เธอตั้งใจ

“พัชรา ยิ่งดำนุ่น” กับงานข่าวที่รัก

“เหตุผลที่เลือกในจุดยืนนี้ด้วยจิตวิญญาณที่เราทำได้กว้างในทุกเรื่องทุกปัญหา ไม่จำกัดตัวเอง การพูดทางวิทยุทุกวันสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้”

เรื่องล่าสุด