บทสนทนานักกิจกรรมคนรุ่นใหม่ : 111 ปี กับชะตากรรมปาตานีที่ไม่ได้กำหนด
ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เป็นปัญหาที่มีความขัดแย้งกันมาเนิ่นนาน ซึ่งสาธารณะอาจเข้าใจว่าปัญหาเริ่มเมื่อ 4 มกราคม 2547 ขณะที่ความเป็นจริงทางประวัติศาสตนั้นปัญหาความขัดแย้งชายแดนใต้คงต้องย้อนไปเมื่อ ปี 2452 ตามสนธิสัญญาไทย-อังกฤษ ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่เปิดทางให้รัฐบาลสยามในอดีตอ้างความชอบธรรมผนวกปาตานีมาเป็นส่วนหนึ่งของสยาม
หากนับปัญหาความขัดแย้งจังหวัดชายแดนใต้จากปี 2452 จนถึงวันนี้ ปี 2563 ก็นับได้ 111 ปี และเพื่อให้ความเข้าใจในปัญหาชายแดนใต้อย่างรอบด้าน กลุ่มนักกิจกรรมคนรุ่นใหม่อย่าง สหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี PerMAS จัดเวทีเสวนา หัวข้อ...
จุฬาราชมนตรีออกแถลงการณ์ 10 แนวทางการปฎิบัติ รับมือการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19
จุฬาราชมนตรีออกแถลงการณ์ 10 แนวทางการปฎิบัติ รับมือการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 เมื่อวันที่ 5 มี.ค.63 สำนักจุฬาราชมนตรี ออกแถลงการณ์ เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรเสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ( Covid -19 ) แถลงการณ์ ขอความร่วมมือมุสลิมทุกคนยึดแนวทางการปฏิบัติตนในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคดังกล่าวด้วยความเคร่งครัด ดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการสลามด้วยการสัมผัสมือ การสวมกอด และการสัมผัสแก้ม โดยให้ยกมือสลามกันเท่านั้น
2....
ผลสำรวจ (Peace Survey) แม้นเหตุการณ์ยังไม่สงบ-ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลลดลง แต่ภาคประชาชนพร้อมหนุนกระบวนการสันตภาพ
ผลสำรวจสันติภาพชายแดนใต้ (Peace Survey) เผยประชาชนชายแดนใต้มีความหวังและอยากเห็นความก้าวหน้าของการพูดคุยสันติภาพ แม้จะมองว่าสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงและความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลลดลง แต่ก็พร้อมหนุนกระบวนการสันติภาพ
สำนักข่าวอามาน จัดงานวันสื่อสันติภาพ คนทำงานด้านสื่อร่วมคับคั่ง ต้องมีการสานต่อทุกๆ ปี
เมื่อไม่กี่วันมานี้ มีการจัดกิจกรรม Peace 4 + สื่อสันติภาพชายแดนใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเสริมความรู้วารสารศาสตร์สันติภาพ เสริมบทบาทสื่อมวลชนสร้างสันติสุขชายแดนใต้/ปาตานี โดยสำนักข่าวอามาน (Aman News agency) ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรสันติภาพ หรือ Peace Resource Collaborative (PRC) สหภาพยุโรป (EU) สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย...
สันติสุข – ประธานชมรมสื่อ จชต.ชี้ 28 กุมภา คือ หมายหมุดวันส่งเสริมสันติภาพ เพราะเป็นวันที่ รัฐไทย-มาเล เปิดพื้นที่ให้ BRN
ผ่านมาแล้ว 7 ปี สำหรับโต๊ะพูดคุยเพื่อสันติภาพ หรือ ในยุคของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เรียกว่า โต๊ะพูดคุยสันติสุข ซึ่งได้เปิดตัวสู่สาธารณะครั้งแรก เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ในยุคของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา ก็ยังคงเป็นกระแสความสงสัย บางจังหวะก็ให้ความหวัง แต่ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า โต๊ะพูดคุยมักถูกมองว่าเป็นเรื่องของคู่ขัดแย้งระหว่างรัฐไทย...
ขบวนนักศึกษา จชต.ยันพร้อมยกระดับ flash mob ไม่กังวลถูกคุกคาม-นักวิชาการรัฐศาสตร์ ชี้ นี่คือประวัติศาสตร์ทางการเมือง
ปรากฎการณ์(ใหม่)ของการเมืองไทย flash mob ที่เริ่มต้นมาจากโซเชียลมีเดีย ซึ่งตอนนี้ถือว่าเป็นสีสันของขบวนการคนรุ่นใหม่ แต่ขณะเดียวกันก็อาจเป็น “เสี้ยนตำเท้า” ของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็เป็นได้ คงต้องติดตามกันต่อไป….
การเมืองคนรุ่นใหม่ลามถึงชายแดนใต้ ประธานเปอร์มัส ยืนยัน Flash Mob ต้องต่อเนื่องเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
ปรากฎการณ์การเมืองชั่วโมงค่อนข้างจะดุเดือดไม่น้อยทั้งในสภาฯและนอกสภาฯ หลังจากมีการยุบพรรคอนาคตใหม่ ตามความผิด มาตรา 72 สั่งยุบพรรค และตามมาตรา 92 เพิกถอนสิทธิกรรมการบริหาร 10 ปี หลังจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัยคำร้องกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเพื่อมีคำสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) ตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง (3) ประกอบมาตรา 72 พ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมือง...
งานวิจัยชี้สื่อโซเชียลเสี้ยมความขัดแย้ง จชต. แนะโรงเรียนสร้างระบบนิเวศเฝ้าระวังเยาวชน
“ความใกล้ชิดกับเหตุการณ์ความไม่สงบของเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบกับการขาดการดูแลที่มีประสิทธิภาพจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารความรุนแรงผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชน ถือเป็นโอกาสเสี่ยงเป็นอย่างยิ่งในการแปรเปลี่ยนเยาวชนจากผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงเป็นผู้ใช้ความรุนแรง ทั้งนี้กลุ่มที่ใช้ความรุนแรงที่มุ่งหวังจะใช้เยาวชนมาเป็นกำลังสำคัญได้ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเผยแพร่แนวคิดที่ดีต่อการนำเสนอสื่อสู่ภายนอก เพราะสื่อเป็นอิทธิพลของสื่อที่แพร่กระจายไปสู่ทุกประตูบ้าน อันเนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต ที่สามารถเข้าถึงได้ด้วยปลายนิ้วสัมผัส เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ”
นี่ คือบางส่วนจากงานวิจัย “รูปแบบและระบบนิเวศสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ช่วยเยียวยาส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีต่อเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาเพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้” โดยกลุ่มคณะวิจัยซึ่งนำ โดย สุรชัย ไวยวรรณจิตร นักศึกษาปริญญาเอก สาขาเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และผู้ได้รางวัลนำเสนอผลงานวิจัยดีเด่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เรื่อง “การปลูกฝังคุณธรรม...
เก็บตกสัมนา 3 จชต. สิทธิเขา- สิทธิเรา “โลกตระหนักสิทธิมนุษยชน แต่คนมีอำนาจคิดอีกแบบ”
ประเด็นสิทธิมนุษยชน นับเป็นประเด็นสำคัญ สำหรับประเทศไทยมาแต่ไหนแต่ไร โดยเฉพาะในบริบทความขัดแย้งในพื้นที่ชายแดนใต้เมื่อ ในระยะช่วงหลังๆมานี้ ค่อนข้างจะได้รับความสนใจมากขึ้นไม่เพียงแต่คนในพื้นที่เท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงองค์กรต่างประเทศด้วยเช่นกัน คณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฎอนี ได้จัดกิจกรรมเวทีสัมมนา ทางกฎหมาย ว่าด้วยเรื่อง สิทธิมนุษยชน ภายใต้หัวข้อ “สิทธิเขา สิทธิเรา ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้” ซึ่งมีวิทยากร ดร.พิมพ์รภัช ดุษฎีอิสริยกุล ผู้จัดการโครงการ มูลนิธิฟรีดรีช เนามัน ดร.ฆอซาลี เบ็ญหมัด คณบดีคณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ นายแพทย์อนันต์ไชย ไทยประทาน รองประธานสภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี สะท้อนมุมมองในประเด็นดังกล่าวไว้อย่างน่าสนใจ
ปีใหม่ ภาพจำใหม่ คุยกับบาบอมาเซาะเมืองนครศรีฯ “ปอเนาะ” ไม่ได้คิด แบ่งแยกดินแดน
ปีใหม่ 2563 หากจะอยากเห็นอะไรใหม่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้บ้าง หนึ่งในนั้นคงเป็นเรื่อง “ภาพจำใหม่ๆ” ที่เกิดจากอคติของคนในสังคมไทย จนส่งผลกระทบต่อการอยู่ร่วมกันและการแก้ปัญหาภาคใต้ นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรง เมื่อปี 2547 เป็นต้นมา ที่มีภาพจำมากมายของคนในสังคมไทยที่สร้างอคติต่อคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หนึ่งในนั้น คือ ภาพจำ “สถาบันปอเนาะ” ภาพจำที่มองว่าเป็นแหล่งบ่มเพาะมุสลิมหัวรุนแรง แหล่งบ่มเพาะกลุ่มแบ่งแยกดินแดน และหลายๆ ครั้ง การจับกุม การก่อเหตุต่างๆ บนหน้าสื่อ ก็มักมีข่าวสร้างความเชื่อมโยงกับบุคคล และสถาบันปอเนาะ จนทำให้สายตาในการมอง สถาบันปอเนาะ ในมุมมองของเจ้าหน้าที่ทหาร และคนที่ไม่ใช่มุสลิม เป็นเหมือนดั่งพื้นที่สีเทา