ศิลปะและวัฒนธรรม

หน้าแรก ศิลปะและวัฒนธรรม

เดินหน้าประเทศไทย – การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้ศาสตร์พระราชา (คลิป)

เดินหน้าประเทศไทย : การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้ศาสตร์พระราชา

ควันหลงวันรายอ บรรยากาศอีดฟิตรีของมุสลิมสุนหนี่ในอิหร่าน

ภาพบรรยากาศควันหลงวันรายอ บรรยากาศอีดฟิตรีของมุสลิมสุนหนี่ในอิหร่านซึ่งจะเริ่มต้นด้วยการไปมัสยิด และประกอบพิธีทางศาสนา โดยมีการละหมาดและการวิงวอนขอพรเนื่องด้วยวันพิเศษสำหรับวันสำคัญนี้

กสทช. เปิดตัวแอป “กันกวน” ปิดกั้นเบอร์รบกวน คุ้มครองสิทธิผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่

กสทช. เปิดตัวแอป “กันกวน” ปิดกั้นเบอร์รบกวนจากผู้ประกอบการ หรือกลุ่มธุรกิจด้านการติดต่อสื่อสาร คุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่

“กุเลา ตันหยงเปาว์” สันติภาพกินได้

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติคือ ความมั่นคงทางอาหาร ที่มีอย่างมากมายในพื้นที่ชายแดนใต้ ดัง “ปลากุเลา บ้านตันหยงเปาว์”ต.ท่ากำชำ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ที่ผลิตไม่ทันความต้องการและเพิ่มมูลค่าด้วยภูมิปัญญาดั้งเดิม สร้างงาน สร้างรายได้แก่เครือข่ายประมงและชุมชนได้อย่างน่าภูมิใจ นำไปสู่วิธีการแปรรูปอาหารชั้นเลิศซึ่งถูกจัดว่าเป็น “ราชาแห่งปลาเค็ม” บ้านตันหยงเปาว์เป็นชุมชนติดทะเล มีพื้นที่คล้ายเกาะ หน้าบ้านมีทะเลอ่าวไทยยาวออกไปส่วนด้านหลังมีคลองโอบล้อมหมู่บ้านเอาไว้จากความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ มีสัตว์น้ำมากมายชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีของชาวบ้านบ้านตันหยงเปาว์ จนปี 2532 ถึงปัจจุบัน พวกเขาต้องต่อสู้กับนายทุนที่ทำการประมงแบบผิดกฎหมายอย่างอวนรุนมาตลอด ทรัพยากรทางทะเลถูกทำลายไปเกือบหมด ทำให้ชาวบ้านต้องต่อสู้อย่างจริงจังแบบ “สันติวิธี” จนได้ผลอย่างน่าพอใจ...

เปิดภาพหาดูยากของ New York เมื่อครั้งเป็นสังคมเกษตรกรรม จนพัฒนาเป็นสังคมอุตสาหกรรม

ประเทศสหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจประเทศหนึ่งในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีพื้นที่ที่กว้างขวางเป็นอันดับ 4 ของโลก ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ถึง 50 รัฐแต่ใครจะไปคิดล่ะว่า หนึ่งในเมืองที่เจริญรุุ่งเรืองที่สุดของประเทศสหรัฐอเมริกาอย่าง New York City ครั้งหนึ่งจะเคยเป็นเมืองเกษตรกรรมมาก่อน

เจ้าหนูวัย 9 ขวบปลูกผักกะหล่ำปลีเพื่อให้คนยากจนได้กิน จนตอนนี้เธอมีสวนของตัวเองอยู่ทั่วประเทศ!

 เราสามารถเรียกสาวน้อยคนนี้ว่า เทพธิดาแห่งพืชผัก ด้วยความกระตือรือร้นบวกกับทักษะ เธอสามารถปลูกผักที่มีไซส์ยักษ์ได้มากมายเพื่อให้แก่ผู้ยากไร้ในท้องถิ่น และมีสวนผักสวัสดิการสาธารณะทั่วทั้งประเทศกว่า100แห่ง ทำให้ทุกคนต่างพากันอึ้งกับเมล็ดพันธุ์ที่เจริญงอกงามเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ได้ Katie Stagliano อาศัยอยู่ที่ชาร์ลสตัน รัฐเซาท์แคโรไลนา เธอเริ่มปลูกครั้งแรกเมื่ออายุ 9ขวบ ในชั้นวิชาเกษตรกรรมของโรงเรียน ซึ่งเธอได้นำเมล็ดพันธุ์จากโรงเรียนกลับบ้านมาด้วย โดยเธอได้ปลูกผักกะหล่ำปลียักษ์ขึ้นที่หลังบ้าน โดยมีน้ำหนักถึง 40ปอนด์ หรือประมาณ 18 กิโลกรัม Katie จึงได้คิดขึ้นว่า เจ้าหัวกะหล่ำอันนี้สามารถเคี่ยวเป็นน้ำซุปแสนอร่อยขึ้นมาได้สักหม้อ เพื่อสร้างความสุขให้แก่ผู้ที่ยากไร้ได้ ครอบครัวของเธอจึงได้นำหัวกำหล่ำปียักษ์นี้ไปที่ครัวของสถานสวัสดิการสาธารณะ เพื่อทำเป็นซุปผักใส่แฮม สำหรับทานกับข้าวสวยร้อนๆ...

การบินไทยจัดเที่ยวบินพิเศษไป-กลับ สำหรับชาวนราธิวาสไปแสวงบุญพิธีฮัจย์ ณ นครเมกกะ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่อาคารอเนกประสงค์ ท่าอากาศยานนราธิวาส นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีส่งและอำนวยพรแก่ผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีนายสิทธิชัย ศักดาผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส รศ.ดร.อิสมาแอ อาลี รองประธานคณะผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี นายซาฟีอี เจ๊ะเลาะ ประธานคณะกรรมการอิสลาม ผู้นำศาสนา หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่การท่าอากาศยานนราธิวาส และเจ้าหน้าที่กองกิจการฮัจย์ ศอ.บต.ร่วมในพิธี ท่ามกลางญาติพี่น้องของผู้แสวงบุญที่เดินทางมาส่งจำนวนมาก นายสิทธิชัย ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส...

ปราชญ์มุสลิมโลก 40 ประเทศ ร่วมสัมนา ‘การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข’ ที่ วอศ. ม.อ.ปัตตานี

พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เชื่อมั่นเวทีสัมมนาอิสลามศึกษานานาชาติจากปราชญ์มุสลิมโลก ที่ ม.อ.ปัตตานี เป็นการระดมแนวคิดการพัฒนาการศึกษาอิสลามศึกษาเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสร้างเครือข่ายทางการศึกษาในการก้าวสู่ความเป็นนานาชาติ

ชาวเบตงแห่ลงทะเบียนจิตอาสาเฉพาะกิจ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

สถาบันสิ่งทอฯ จัดสัมมนาสรุปผลการดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และเครื่องแต่งกายมุสลิม 5 จังหวัดชายแดนใต้ ภายใต้แนวคิด “ASEAN GATEWAY : Co-design for Textile & Fashion” รุกสร้างเครือข่าย และความแข็งแกร่งของผู้ประกอบการ พร้อมปูทางส่งผลิตภัณฑ์ตอบสนองความต้องการในตลาดอาเซียน

ภาพถ่ายอดีตขบวนการค้าขายทาสในอเมริกา ที่ให้ค่ามนุษย์ไม่ต่างจากสัตว์ตัวหนึ่ง!

ไฟไม้ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โรคระบาด… สิ่งเหล่านี้บางครั้งก็สร้างความเสียหายน้อยกว่าสิ่งที่มนุษย์กระทำต่อกัน ย้อนกลับในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 การเพาะปลูกฝ้ายทางภาคใต้ตอนล่างของสหรัฐฯ มีการเติบโตขึ้นมาก ส่งผลให้ความต้องการแรงงานทาสเพิ่มมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะปี 1815 การค้าทาสภายในประเทศกลายเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญในสหรัฐอเมริกา โดยมีกลุ่มนักธุรกิจผู้มีหน้ามีตาของสังคมได้มารวมตัวกันในจัตุรัสกลางเมือง ด้วยความตื่นเต้นที่จะซื้อมนุษย์เอาไปเป็นแรงงานทาส

เรื่องล่าสุด