สร้างสรรค์
15 ภาพวาดบอกเล่าความเป็นไปของโลกปัจจุบัน จากฝีมือศิลปินชาวสวิตเซอร์แลนด์
“ภาพหนึ่งภาพอาจจะแทนความหมายได้นับล้านคำ” หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินประโยคนี้กันมาบ้างแน่ๆ ซึ่งนอกจากการใช้ภาพเพื่อสื่อความหมายต่างๆ แล้ว บางครั้งภาพภาพเดียวกันนั้นก็อาจจะตีความหมายได้แตกต่างกันด้วยก็ได้
ครั้งแรกกับการจัดแสดงวัตถุทางประวัติศาสตร์อิสลามและศาสดามูฮัมหมัด ( ศ็อลฯ ) ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ถือเป็นนิมิตรหมายอันดีสำหรับพี่น้องชาวมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอดจนพี่น้องชาวมุสลิมทั่วประเทศโดยรวม ที่ได้มีโอกาสเที่ยวชมการจัดแสดงนิทรรศการพิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่ ศิลปวัตถุทางประวัติศาสตร์อิสลามและศาสดามูฮัมหมัด ( ศ็อลฯ ) ณ. อาคารปาตานีเซนเตอร์ หรืออาคารคณะกรรมการประจำจังหวัดปัตตานีหลังเก่า
‘บางปู-อ่าวปัตตานี’ ลอดอุโมงค์โกงกาง บนเส้นทางป่าชายเลนสุดสมบูรณ์
“ตำนานบางปู สืบรู้โกงกาง กระยางงามถิ่น ดินแดนอนุรักษ์”
“กุเลา ตันหยงเปาว์” สันติภาพกินได้
ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติคือ ความมั่นคงทางอาหาร ที่มีอย่างมากมายในพื้นที่ชายแดนใต้ ดัง “ปลากุเลา บ้านตันหยงเปาว์”ต.ท่ากำชำ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ที่ผลิตไม่ทันความต้องการและเพิ่มมูลค่าด้วยภูมิปัญญาดั้งเดิม สร้างงาน สร้างรายได้แก่เครือข่ายประมงและชุมชนได้อย่างน่าภูมิใจ นำไปสู่วิธีการแปรรูปอาหารชั้นเลิศซึ่งถูกจัดว่าเป็น “ราชาแห่งปลาเค็ม”
บ้านตันหยงเปาว์เป็นชุมชนติดทะเล มีพื้นที่คล้ายเกาะ หน้าบ้านมีทะเลอ่าวไทยยาวออกไปส่วนด้านหลังมีคลองโอบล้อมหมู่บ้านเอาไว้จากความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ มีสัตว์น้ำมากมายชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีของชาวบ้านบ้านตันหยงเปาว์ จนปี 2532 ถึงปัจจุบัน พวกเขาต้องต่อสู้กับนายทุนที่ทำการประมงแบบผิดกฎหมายอย่างอวนรุนมาตลอด ทรัพยากรทางทะเลถูกทำลายไปเกือบหมด ทำให้ชาวบ้านต้องต่อสู้อย่างจริงจังแบบ “สันติวิธี” จนได้ผลอย่างน่าพอใจ...
“ปูโล๊ะลือแม” หรือข้าวหลามบาซูก้า อีกหนึ่งอัตลักษณ์สำคัญ ชาวเบตงเร่งมือทำรับฮารีรายอ
ชาวไทยมุสลิมใน อ.เบตง จ.ยะลา ต่างเร่งมือทำ “ปูโล๊ะลือแม” หรือข้าวหลามบาซูก้า ถือเป็นอีกหนึ่งอัตลักษณ์ในพื้นที่ ช่วงใกล้ถึงวันฮารีรายอ เพื่อไว้ต้อนรับแขก หรือผู้มาเยือน ทั้งญาติมิตร และเพื่อนสหาย
เมื่อวานนี้ (24 มิ.ย.) ช่วงใกล้ถึงวันฮารีรายออีดิลฟิตรี หรือรายอปอซอ แต่ละบ้านก็จะจัดเตรียมอาหารมากมายกันอีกครั้ง เพื่อไว้ต้อนรับแขก หรือผู้มาเยือน ทั้งญาติมิตร และเพื่อนสหาย ขนมหลากหลายชนิด ซึ่งแต่ละบ้านจะเลือกทำเพื่อรับแขก
เอกลักษณ์ในอัตลักษณ์ที่ไม่เหมือนที่ใด และก็ต้องมีกันเกือบทุกบ้านตั้งแต่โบราณมา...
รวมภาพถ่ายของญี่ปุ่นช่วงยุค 1900 ที่ถูกระบบ AI ย้อมสีราวกับว่าขึ้นไทม์แมชชีนไปถ่าย
เรื่องราวในอดีตถูกถ่ายทอดให้รุ่นลูกหลานให้ได้รับทราบในรูปแบบต่างๆ เช่น สถานที่ทางประวัติศาสตร์ คำบอกเล่า หนังสือ หรือแม้กระทั่งภาพถ่าย
ภาพถ่าย ถือว่าเป็นหนึ่งในการเก็บความทรงจำที่ดีเยี่ยมที่สุด ทำให้เราเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต จนบางทีไม่ต้องใช้คำอธิบายใดๆ ก็สามารถทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตอนบันทึกรูปภาพได้
ภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่จะเป็นสีขาวดำ ตามเทคโนโลยีของสมัยนั้นซึ่งนั่นก็คือหลักฐานชั้นยอดที่จะคอยบอกให้เราได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของสิ่งต่างๆ
ทีมงานนักวิจัยชาวญี่ปุ่นจากมหาวิทยาลัย Waseda นำโดย Dr. Ishikawa ใช้มีความคิดริเริ่มที่จะนำภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์เหล่านั้นมาทำการเติมสีสันใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน
เทคโนโลยีที่ว่านี้ก็คือ AI ช่วยในการแยกแยะสี เพียงแค่นำภาพถ่ายขาวดำสแกนแล้วนำไปให้เจ้า AI ช่วยในการประมวลผล AI จะช่วยเติมสีให้กับรูปภาพเหล่านั้นให้ออกมาในโทนสีที่ใกล้เคียงกับของจริงมากที่สุด
เทคโนโลยีนั้นถูกคิดค้นโดย Dr.Watanabe...
สุดล้ำ ! ญี่ปุ่นทำฟาร์ม “ผักกาดในร่ม” ไม่ง้อฟ้าฝน แถมให้ผลผลิตมากกว่าเดิม 100 เท่า !!
เนื่องจากมนุษย์เราทำการเกษตรปลูกผักมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ แต่การเกษตรต้องพึ่งฟ้าฝน ในบางครั้งอาจเกิดพายุฝนกระหน่ำจนน้ำท่วม หรือบางปีก็แห้งแล้งเหลือเกินจนปลูกอะไรไม่ได้ แต่วันนี้ LIEKR จะพามาชมเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้สามารถปลูกพืชผักในร่มได้แบบไม่ง้อฟ้าฝน
สาวน้อย 9 ขวบไม่ได้รวยแต่ “ปลูกผักเพื่อคนจรจัด” มา 4 ปี! สร้างบ้านให้แล้ว 11 หลัง แม้แต่พ่อแม่ยังไม่เชื่อว่าจะทำได้!
เมื่อเราพยายามมากพอ คนอื่นก็จะเห็นและเข้าใจเอง!
เรี่ยวแรงของแต่ละคนมีจำกัด แต่ก็ไม่หยุดยั้งการทำดี “Hailey Ford” เด็กหญิงวัย 9 ขวบเป็นคนใจดีมาก เธอปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้คนได้เยอะๆ ช่วยเหลือคนจรจัดให้พวกเขาได้กินอิ่มมีเสื้อผ้าอบอุ่นใส่ ครอบครัวก็สนับสนุนเธออย่างมาก แต่พวกเขาไม่ได้ร่ำรวยมากมาย แม่ของเธอบอกเธอว่า “พวกเราช่วยทุกคนไม่ได้” แต่ Hailey ก็ไม่ได้ท้อแท้ใจ เธอคิดหาวิธีที่จะช่วยเหลือคนได้อื่น และชักจูงให้ผู้คนเข้ามาร่วมด้วย
▼ตอนที่ Hailey ในวัย 5 ขวบไปช้อปปิ้งกับแม่ เธอพบกับชายจรจัด...
มิสแกรนด์ปัตตานี กับชุดประจำชาติที่สื่อความหมายลึกซึ้ง แถมพรีเซ็นต์ปังมาก โลกออนไลน์แห่ชื่นชม
โดนใจชาวเน็ต ! มิสแกรนด์ปัตตานี กับชุดประจำชาติที่สื่อความหมายลึกซึ้ง โลกออนไลน์ชื่นชมทั้งไอเดีย การพรีเซ็นต์บนเวที อินเนอร์ดีมาก บอกชอบสุด ๆ
การประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2017 รอบชุดประจำชาติ เมื่อค่ำคืนที่ผ่านมา (5 กรกฎาคม 2560) สร้างความตื่นตาตื่นใจไปกับชุดที่สุดแสนจะอลังการงานสร้างของมิสแกรนด์แต่ละจังหวัด ที่ขนชุดสวย ๆ ไอเดียกระฉูดมาประชันกันบนเวที โดยมีการดีไซน์ที่สื่อถึงจังหวัดของตัวเองได้อย่างน่าสนใจ
โดยเฉพาะ กอบัว สมฤาดี วรรณกลัด...