หน้าแรก ข่าวในประเทศ ข่าวทั่วไป

ไทยจะรับข้อเสนอจากเวทียูพีอาร์เพิ่มอีก 6 ข้อ รวมข้อเสนอให้ตรวจสอบข้อกล่าวหาการทรมานทั้งประเทศ

รัฐบาลไทยจะรับข้อเสนอจากเวทียูพีอาร์เพิ่มอีก 6 ข้อ รวมข้อเสนอให้ตรวจสอบข้อกล่าวหาการทรมานทั้งประเทศ เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม
จากการที่กระทรวงยุติธรรมและกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่ผลการทบทวนรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยตามกลไก Universal Periodic Review (UPR) เมื่อเดือนพฤษภาคม 25559 ที่ผ่านมา ได้มีการเพิ่มรับข้อเสนอเป็นทางการเพิ่มอีก 6 ข้อ รวมเป็น 187 ข้อ รวมทั้งข้อเสนอให้ตรวจสอบข้อกล่าวหาการทรมานทั้งหมดรวมทั้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และนำผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม
นายชาญเชาว์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม แถลงว่ารัฐบาลพิจารณารับข้อเสนออย่างเป็นทางการเพิ่มเติมอีกจำนวน 6 ข้อจาก 68 ข้อที่ยังไม่ได้รับข้อเสนอ ซึ่งทางรัฐบาลได้รับมาปรึกษาหารือโดยเมื่อการประชุม UPR รอบที่สองเดือนพฤษภาคม 2559 ผู้แทนประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติหลายประเทศได้นำเสนอข้อเสนอแนะทั้งสิ้นรวม 249 ข้อ โดยรัฐบาลได้รับข้อเสนอทันทีไปแล้ว 181 ข้อ ยังมีข้อสงวน 68 ข้อ
ผู้แทนประเทศไทยจะประกาศอย่างเป็นทางการในเวทีคณะมนตรีด้านสิทธิมนุษยชนในวัน ที่ 23 กันยายน 2559 ว่าจะรับข้อเสนอเพิ่มอีก 6 ข้อเท่ากับว่าประเทศไทยรับข้อเสนอทั้งสิ้น 187 ข้อ ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการที่ทางคสช. ประกาศยกเลิกการใช้ศาลทหารในการพิจารณาคดีต่อพลเรือน เนื่องจากว่าข้อเสนอจากประเทศต่างๆ ต่อประเทศไทยเสนอให้ยกเลิก แต่คำสั่งนี้มีผลแต่เพียงคดีใหม่ที่เกิดขึ้น เท่ากับยังมีการดำเนินคดีพลเรือนในศาลทหารในคดีที่สั่งฟ้องแล้วและคดีที่ยัง อยู่ในระหว่างการพิจารณาว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่ เท่ากับรัฐบาลไทยยังไม่ได้ยกเลิกการใช้ศาลทหารในการพิจารณาคดีพลเรือนซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นคดีจำกัดสิทธิเสรีภาพและการรวมกลุ่มของประชาชนในการแสดงความคิด เห็นโดยสันติ แต่นับว่าคำสั่ง 55/2559 ก็เป็นพัฒนาการที่ดี
ข้อเสนอ 6 ข้อที่ประเทศไทยรับเพิ่มเติมได้แก่
1.Consider ratifying ILO Convention No.189 (Philippines)
พิจารณาการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๑๘๙ (ฟิลิปปินส์)
2.Create an independent body to investigate all torture allegations, including in Thailand’s Deep South, and bring perpetrators to justice (Canada)
จัดตั้งหน่วยงานอิสระเพื่อตรวจสอบข้อกล่าวหาการทรมานทั้งหมด ซึ่งรวมถึงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และนำผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม (แคนาดา)
3.Commute the death sentences with a view to abolishing the death penalty (France)
ลดระดับการใช้โทษประหารชีวิตเพื่อที่จะยกเลิกโทษประหารชีวิตต่อไป (ฝรั่งเศส)
4.In line with the rules 83-85 of the UN Standard Minimum Rules for the Treatment of Prisoners, “the Nelson Mandela rules”, to create an external, independent inspection body that has access to all categories of prisoners in all places of detention that are under the Ministry of Justice (United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland)
ดำเนิน การตามข้อ ๘๓ – ๘๕ ของมาตรฐานขั้นต่ำแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง หรือ “ข้อกำหนดแมนเดลา” ซึ่งกำหนดให้จัดตั้งหน่วยตรวจสอบภายนอกที่เป็นอิสระที่สามารถเข้าถึงผู้ต้อง ขังทุกประเภทในเรือนจำทุกแห่งที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงยุติธรรม (สหราชอาณาจักร)
5.Eliminate the legal provision that states that the age limit of marriage could be lowered to 13 years old in cases where children were sexually abused and could consequently marry the perpetrators (Timor-Leste);[1]
ยกเลิกข้อบทของกฎหมายที่ระบุว่าสามารถปรับลดอายุขั้นต่ำของการสมรสให้เป็น ๑๓ ปี กรณีที่เด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศและสามารถสมรสกับผู้ที่ล่วงละเมิดได้ (ติมอร์-เลสเต)
6.Further address all forms of gender-based violence and abuses by revising the relevant provisions of the Penal Code, Criminal Procedure Code and Domestic Violence Victim Protection Act (Kyrgyzstan)
ดำเนินการแก้ไขปัญหาความรุนแรงและการกดขี่ทางเพศในทุกรูปแบบเพิ่มเติมด้วยการทบทวนข้อบทที่เกี่ยวข้องในประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว (คีร์กีซสถาน)