สุริณี เปาะนิ : ภาพ / แก้ไขล่าสุด 13/3/2015
สตรีจากเครือข่ายสตรีจังหวัดชายแดนใต้ 26 องค์กร ร่วมกับสตรีจากเครือข่ายองค์กรสตรี 14 จังหวัดภาคใต้ และกลุ่มองค์กรสตรีจากทั่วทุกภาคของประเทศ ร่วมงานวันสตรีสากลและร่วมอ่านแถลงการณ์ ในงาน“104 ปี 8 มีนา วันสตรีสากล ผู้หญิงรำลึก เฉลิมฉลอง การปฏิรูปสู่อนาคต 50:50” ณ หอประชุมศรีบูรพา(หอเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร จัดโดยกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย(We Move) คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านความเสมอภาคระหว่างเพศในคณะ ปฏิรูปกฎหมาย โครงการสตรีและเยาวชนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเครือข่ายองค์กรผู้หญิงทั่วประเทศ สนับสนุนโดย องค์กรเพื่อความเสมอภาคระหว่างเพศและเสริมพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ(UN Women) กระทรวงการต่างประเทศ การค้าและพัฒนา ประเทศแคนาดา (DFATP) และ International Republican Institute (IRI)
แถลงการณ์ของเครือข่ายสตรีจังหวัดชายแดนใต้ 26 องค์กร ระบุว่า
“ ด้วยความตระหนักถึงความรับผิดชอบของผู้หญิงในฐานะประชากรกว่าครึ่งของประเทศ ในการมีส่วนร่วมเสนอความคิดเห็นในกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่และการปฏิรูป ประเทศไทย เพื่อให้รัฐธรรมนูญใหม่มีความชอบธรรม เครือข่ายสตรีจังหวัดชายแดนใต้ 26 องค์กรจึงได้ร่วมมือกับขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย จัดประชุมระดมความคิดเห็นสตรีจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งยืนยันข้อเสนอของขบวนผู้หญิงต่อร่างรัฐธรรมนูญเพื่อมีมิติความเสมอภาค ระหว่างเพศ แต่โดยกังวลถึงลักษณะอันเฉพาะเจาะจงทั้งทางประชากร วิถีชีวิต และสภาพความขัดแย้งที่มีการใช้กำลังอาวุธในพื้นที่มายาวนานกว่าสิบปี เครือข่ายสตรีจังหวัดชายแดนใต้ 26 องค์กรจึงได้จัดทำข้อเสนอแนะในการยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่มี มิติความเสมอภาคระหว่างเพศ และตระหนักถึงอัตลักษณ์ของพื้นที่และผู้หญิงจังหวัดชายแดนใต้ฉบับนี้ขึ้น”
สำหรับสาระสำคัญของข้อเสนอในแถลงการณ์ มี 5 ข้อ ดังนี้
1.ความ เสมอภาคระหว่างเพศในกระบวนการตัดสินใจรัฐธรรมนูญใหม่ต้องยืนยันให้กระบวนการ และกลไกการตัดสินใจในประเด็นสาธารณะที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และ ความเจริญก้าวหน้าของประเทศทุกขั้นตอน ทุกมิติ (ทั้งมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม กระบวนการสันติภาพ และอื่น ๆ) ต้องมีส่วนร่วมของหญิงชายบนหลักการความเสมอภาคระหว่างเพศ หรือในสัดส่วน50:50โดยเฉพาะในการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น ซึ่งการส่งเสริมหลักการความเท่าเทียมระหว่างเพศนี้จะส่งประโยชน์ให้กับ ประเทศชาติโดยรวม เพราะนอกจากผู้หญิงจะเป็นพลเมืองมากกว่าครึ่งของประเทศ ปัจจุบันผู้หญิงจำนวนมากก็ได้แสดงความสามารถเป็นที่ประจักษ์ในทุกวงการ ยิ่งกว่านั้น ในกรณีของจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความขัดแย้งและการใช้กำลังอาวุธในการ ต่อสู้มานับสิบปี ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับผลกระทบจำนวนนับหมื่นราย ผู้หญิงทุกสถานภาพคือผู้แบกรับผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากความรุนแรงดัง กล่าวมาอย่างยาวนานและหนักหน่วง แต่ผู้หญิงกลับมีโอกาสน้อยมากที่จะมีส่วนร่วมรับรู้ ให้ความเห็น และร่วมตัดสินใจต่อกระบวนการสร้างสันติภาพทั้งในอดีตและปัจจุบัน (แม้แต่ในฐานะสมาชิกสภาที่ปรึกษาศอ.บต.ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 49 คน ก็พบว่าเป็นผู้หญิงเพียง 6 คน)
2.เสรีภาพ ในการนับถือศาสนาและปฏิบัติศาสนกิจ โดยที่สิทธิการเลือกนับถือศาสนาเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ประชาชนทุกศาสนาได้รับการคุ้มครองจากรัฐในการนับถือศาสนาและปฏิบัติ ศาสนกิจที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ รัฐธรรมนูญใหม่ควรรับรองหลักการและสร้างหลักประกันที่แท้จริงที่จะทำให้ทุก คนมีสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา และมีบทบัญญัติที่คุ้มครองทั้งหญิงชายให้สามารถปฏิบัติศาสนกิจหรือพิธีกรรม ทางศาสนาที่ไม่ได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมโดยรวม ตลอดจนได้รับโอกาสทางการศึกษาและการประกอบอาชีพโดยไม่นำมาเป็นข้อจำกัดในการ ปฏิบัติศาสนกิจ
3.การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นรัฐธรรมนูญใหม่ต้องส่งเสริมการกระจายอำนาจ และส่งเสริมให้จังหวัดที่ประชาชนมีเจตนารมณ์ต้องการปกครองตนเองเป็นองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ทั้งจังหวัด ตลอดจนมีสภาพลเมืองที่มีสัดส่วนของหญิงชายที่เท่าเทียมกัน และกำหนดให้ผู้บริหารท้องถิ่นในทุกระดับมีสัดส่วนหญิงชายที่เท่าเทียมกัน เพื่อรับรองหลักการความเสมอภาคระหว่างเพศ ตอบโจทย์สันติภาพและอัตลักษณ์ของสังคมพหุเชื้อชาติและวัฒนธรรมในพื้นที่ จังหวัดชายแดนใต้
4.สิทธิในกระบวนการยุติธรรม รัฐธรรมนูญใหม่ต้องจัดให้เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ได้รับความคุ้มครองในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ และได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในคดีเกี่ยวกับการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ความรุนแรงเพราะเหตุแห่งเพศ ตลอดจนป้องกันแก้ไขเยียวยาปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และมีกลไกคุ้มครองที่มีสัดส่วนการมีส่วนร่วมของหญิงชายที่ให้หลักประกันว่า ผู้หญิงสามารถเข้าถึง ได้รับความเป็นธรรม และไม่ถูกเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะกรณีความรุนแรงในครอบครัวจังหวัดชายแดนใต้
5.นิติธรรม ศาล และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ รัฐธรรมนูญใหม่ต้องกำหนดให้องค์กรอิสระ คือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดำเนินงานต่อไปอย่างเป็นอิสระและมีประสิทธิภาพ โดยไม่ควบรวมกับองค์กรใด ๆ เนื่องจากในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้มีปัญหาการละเมิดสิทธิหลายมิติอย่าง รุนแรง ทั้งทางด้านชีวิตร่างกาย สิทธิชุมชน สิทธิผู้หญิงและสิทธิเด็ก เพื่อให้มีพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กและผู้หญิง
ก่อน หน้านี้สตรีจากเครือข่ายสตรีจังหวัดชายแดนใต้ 26 องค์กร ได้จัดเวทีประชุม รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้ชีวิตผู้หญิงดีขึ้นอย่างไรและผู้หญิงจะทำให้ รัฐธรรมนูญใหม่ดีขึ้นอย่างไร เมื่อวันที่ 21 -22 ก.พ.2558 และได้ทำหนังสือ เสนอข้อเสนอดังกล่าวไปยัง ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ผ่าน นางสาวสุภัทรา นาคะผิว กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมาแล้ว ก่อนที่จะร่วมขับเคลื่อนรณรงค์ข้อเสนอดังกล่าวอีกครั้งในงานวันสตรีสากล
รายชื่อกลุ่มองค์กรสตรี ในเครือข่ายสตรีจังหวัดชายแดนใต้ 26 องค์กร ประกอบด้วย
เครือข่ายผู้หญิงยุติความรุนแรงแสวงสันติภาพ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
เครือข่ายชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา
สมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ
เครือข่ายการช่วยเหลือเด็กกำพร้าภาคใต้
เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้
เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติชายแดนใต้
ศูนย์เยาวชนฟ้าใส
เครือข่ายสตรีชายแดนใต้เพื่อสันติภาพ
เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ
สมาคมสตรีไทยมุสลิมปัตตานี
สมาคมสวัสดิการมุสลิม จังหวัดยะลา
ชมรมผู้นำมุสลีมะห์ จังหวัดนราธิวาส
สมาคมสตรีจังหวัดชายแดนใต้เพื่อสันติภาพ (ดีพพีท)
สมาคมยุวมุสลิม แห่งประเทศไทย (ยมท.)
มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม
กลุ่มด้วยใจ
สำนักงานกองทุนการวิจัยท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่าง(สกว)
บัณฑิตอาสา มอ.
ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงจังหวัดชายแดนใต้(ศวชต.)
คณะกรรมการพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด(คพสจ)
กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด
สมัชชาสุขภาพจังหวัดปัตตานี
มูลนิธิเด็กกำพร้าปัญญาเลิศบ้านสุไหงปาแน
ผู้แทนผู้ได้รับผลกระทบ
กลุ่มซอซิก
สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง)