Islamic delegation leader condemns South violence
THE NATION
Yala May 10, 2012 1:00 am
Source: www.nationmultimedia.com
(1)The head of a delegation of the Organisation of the Islamic Conference yesterday condemned the violence in the Muslim-majority South and urged the government to lift the controversial Emergency Law.
(2)OIC Ambassador Sayed Kassem el-Masry said during a visit to Yala that his organisation condemned violence against innocent people, regardless of who is behind it, and added that the Koran clearly prohibited the taking of innocent lives.
(3)Speaking to Thai officials who are assigned to the restive region where more than 5,000 people, mostly Muslims, have died violently during the insurgency, Masry said the taking of one innocent life was like the elimination of an entire race.
(4)However, he said the OIC and the Thai government were in agreement that the insurgency is not aboutreligion but is rooted in differences in culture and identity between the Buddhist-majority state and the Malay Muslims in the three southernmost provinces.
(5)Masry said he was glad that the government valued Malays’ identity and cultural space, pointing to the permission it has granted for the use of the Malay language in pilot projects in public schools.
(6)Academics and historians have blamed the country’s policy of assimilation for the conflict, saying the unrest is deeply rooted in Thailand’s nation-state construct that leaves little room for Malays’ identity or their cultural and historical narratives.
(7)Moreover, the culture of impunity among security officials does not help in bridging the historical trust gap between the Malays and the Thai state, some analysts say.
(8)The OIC visit comes just weeks after massive car bombs in Yala and Hat Yai that resulted in more than 10 deaths and more than 100 injuries. No group claimed responsibility but exiled separatist leaders and Thai officials said separatist militants on the ground affiliated with the Barisan Revolusi Nasional-Coordinate (BRN-C) were behind the attacks.
(9)Government and separatist sources said the attacks were a slap in the face to the Thai administration and in response to requests for peace talks. While other long-standing separatist groups met with the Pheu Thai Party’s de facto leader, Thaksin Shinawatra, in mid-March, the BRN-Coordinate decided to boycott the meeting.
(10)In November 2010 the OIC chief, Dr Ekmeleddin Ihsanoglu, met with the leaders of long-standing separatist movements and urged them to unite and form a political front, the United Patani People Council. But the government of the day led by Abhisit Vejjajiva shot down the idea of having the OIC mediate peace talks.
(11)The Thai military is also against the idea of the government engaging in negotiations with the separatists. But political and military insiders say the disagreement has more to do with who owns the process. The military has been holding secret talks with separatist leaders since the 1980s, but these have produced nothing in terms of policy change towards the Malay-speaking region.
สวัสดีท่านผู้อ่านที่รักทุกท่านและขอต้อนรับสู่ English Corner ประจำสัปดาห์นี้ครับ เรียนภาษาอังกฤษกับข่าวในสัปดาห์นี้กลับมาพบกับท่านผู้อ่านเช่นเคยกับการเรียนรู้คำศัพท์และการใช้ภาษาอังกฤษกับข่าวครับ
ข่าวในสัปดาห์นี้อาจจะยาวไปสักนิดแต่ประกอไปด้วยคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่น่าสนใจอยู่หลายคำ เริ่มจากคำแรกในภาคหัวข่าวครับ คือ คำนาม delegation (เดะหลิเก๊ฉึ่น) ซึ่งมีความหมายว่าคณะบุคคลที่เป็นตัวแทนให้กับบริษัทหรือองค์กรหนึ่งๆครับ และคำกริยา to condemn (คั่นเด่ม) จากภาดหัวข่าวเช่นเดียวกัน มีความหมายว่าสาปแช่งครับ โดยมีวิธีการใช้คือ to condemn something/someone for (doing) something หรือสาปแช่งอะไร/ใคร ในเรื่องอะไรครับ เช่น ‘The villagers condemned her for leaving her child.’ “ชาวบ้านต่างสาปแช่งเธอที่ทิ้งลูกไป” โดยคำกริยานี้มีคำนามคือ condemnation (คานดัมเน้ฉึ่น) หรือคำสาปแช่งครับ
จากย่อหน้าที่ 1 มีคำกริยาอยู่ตัวหนึ่งที่ผู้เขียนเคยกล่าวถึงไปแล้วในคอลัมน์นี้ เรามาทบทวนกันอีกครั้งนะครับ คำกริยานี้คือ to urge (เออรจฺ) ที่หมายถึงเตือนหรือแนะนำครับ โดยมีวิธีใช้คือ to urge someone to do something เช่น ‘My boss has urged me to get the report done on time.’ “นายผมเตือนให้ผมทำรายงานให้เสร็จตรงเวลา” หรือเราสามารถใช้ to urge something on/upon someone เช่น ‘The Prime Minister urged quick action on/upon the involved ministers.’ “นายกรัฐมนตรีได้เตือนให้คณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องรีบดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน” โดยคำกริยานี้สามารถเปลี่ยนเป็นคำคุณศัพท์ได้คือคำว่า urgent (เอ๊อรฺจึ่นทฺ) ที่เราคุ้นเคยกันดีที่มีความหมายถึงความเร่งด่วนครับ
ในย่อหน้าที่ 2 มีสำนวนหนึ่งที่คนไทยมักจะใช้ผิดคือ regardless (หริก๊ารดฺหลึสฺ) ซึ่งหมายถึงไม่เกี่ยวข้องหรือไม่ได้รับผลกระทบครับ โดยวิธีใช้ที่ถูกต้องของคำกริยาวิเศษณ์นี้คือต้องมีคำบุพบท of ตามหลังอยู่เสมอครับ เช่น ‘Regardless of any efforts, Samorn has been promoted to manager of the department.’ “โดยที่ไม่ต้องใช้ความพยายามมาก สมรก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าฝ่าย”
คำนาม insurgency (อินเซ้อรฺจึ่นซิ) จากย่อหน้าที่ 3 เป็นคำทางการมีความหมายว่าการพยายามของกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่งที่จะยึดครองอำนาจของรัฐบาลโดยการใช้กำลังครับ และคำนามในย่อหน้าถัดไปคือ religion (หริลิจึ่น) ซึ่งหมายถึงศาสนาครับ โดยมีคำคุณศัพท์คือ religious (หริลิจึ่สฺ) ครับ
คำกริยาในย่อหน้าที่ 6 หรือ to blame (เบลม) ซึ่งเป็นคำกริยาที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดี โดยมีความหมายคือกล่าวโทษว่าเป็นความผิดของใครสักคนหนึ่งครับ มีวิธีใช้คือ to blame someone/something for something เช่น ‘Thanongsak still blames himself for his girlfriend’s death.’ “ธนงศักดิ์ยังคงโทษตัวเองเรื่องการตายของแฟนของเขาอยู่” หรือ to blame something on someone/something เช่น ‘One of the computer is broken and she’s blaming it on me.’ “คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเสียและเธอก็โทษผมว่าเป็นคนทำมันพัง”
และคำกริยาคำสุดท้ายประจำสัปดาห์นี้อยู่ในย่อหน้าที่ 9 คือ to boycott (บ๊อยขาทฺ) ที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดีครับ โดยคำกริยานี้มีความหมายถึงการปฏิเสธที่จะซื้อ ใช้ หรือเป็นส่วนหนึ่งของอะไรเพื่อแสดงออกถึงการประท้วงครับ เช่น ‘We boycott all products tested on animals.’ “พวกเราต่อต้านที่จะไม่ซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีการทดลองกับสัตว์” โดยคำนี้สามารถทำหน้าที่เป็นคำนามได้เช่นเดียวกัน เช่น ‘They are now trying to organize a boycott.’ “พวกเขากำลังพยายามทำการ boycott อยู่” ให้ท่านผู้อ่านสังเกตุวิธีการใช้คำนี้เมื่อเป็นคำนามให้ดีนะครับ คือเราจะใช้คำกริยา to organize (อ๊อรฺเกอะนายซฺ) กับคำนามนี้ครับ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษและวิธีการใช้ผ่านข่าวในคอลัมน์English Cornerประจำสัปดาห์นี้ หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับประโยชน์ไปไม่มากก็น้อย สำหรับสัปดาห์นี้ผู้เขียนและ English Cornerคงจะต้องขอลาท่านผู้อ่านที่รักไปแต่เพียงเท่านี้ ติดตามการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านข่าวและสำนวนต่างๆกันได้ ณ ที่นี้ในสัปดาห์หน้าครับ สวัสดีครับ