
การหมดเวลาไปกับการท่องเฟสบุ๊ค ไล่ดูภาพถ่ายชีวิตคู่ที่มีความสุขหรือภาพการเดินทางท่องเที่ยว อาจทำให้คุณมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่าย ตามการเปิดเผยของนักวิจัย
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนแห่งเดนมาร์ก ได้ข้อสรุปว่า ผู้ที่ใช้เวลาหมดไปกับเฟสบุ๊คเกินปกติ สามารถก่อให้เกิดความอิจฉาตาร้อนได้
ผลการวิจัยดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ใช้เวลาหมดไปกับสื่อสังคมออนไลน์เกินปกติโดยไม่มีการเชื่อมติดต่อใดๆหรือมีการสื่อสารกับคนอื่นๆ
การศึกษาชิ้นนี้โดยอาศัยการสุ่มตัวอย่างจำนวน 1,300 คน ที่ตอบแบบสอบถาม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้หญิงที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร CyberpsychologyBehaviour, and Social Networkingพฤติกรรมศึกษาและเครือข่ายสังคมออนไลน์
“การใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook อย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลเสียต่อสภาพอารมณ์ของคุณ” นักวิจัยกล่าวไว้ในบทความ นอกจากนี้เขายังได้กล่าวถึงการใช้เวลาหมดไปกับมันมากเกินไปอาจทำให้คุณมีความรู้สึกไม่พอใจกับสิ่งที่คุณมี ณ ตอนนี้
สิ่งที่อาจเกิดขึ้นหลังจากนั้นก็คือ ในเรื่องนี้ทีมนักวิจัยได้กล่าวแสดงความรู้สึกเชิงลบ ภายหลังจากที่ได้อ่านสเตตัสการอัพเดทหรือดูภาพบน Facebook อาจเกิดคำถามตามมาว่าเหตุใดมันจึงเกิดขึ้น?
และผู้เชี่ยวชาญยังได้กล่าวด้วยว่า สิ่งนี้เกิดจากการที่เรียกว่าเป็น ‘การเปรียบเทียบทางสังคมที่ไม่สมจริง’
ดังนั้นวิธีการที่จะเอาชนะความรู้สึกของความหึงหวงหรืออารมณ์ริษยาหรืออารมณ์ที่ไม่ดี ที่เกิดจากการที่ได้ดูรูปถ่ายของคนอื่น ที่ดูเหมือนมีความสุขอย่างมากในสื่อสังคมออนไลน์?

คุณเคยพยายามคิดที่จะตัดขาดจากเฟสบุ๊คในช่วงเวลาหนึ่งสัปดาห์หรือไม่? ซึ่งทางผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การดีท็อกซ์จากดิจิตอลเป็นสิ่งที่ดีสำหรับคุณ
นักวิจัยแนะนำเพื่อให้ดีก็คือ ควรมีการสื่อสารกับผู้อื่นในสังคมออนไลน์ดีกว่าการมัวแต่ท่องเฟสบุ๊คเที่ยวดูภาพอย่างเดียวโดยไม่มีการสื่อสารกับคนบ้าง
อีกวิธีหนึ่งก็คือ การหยุดการใช้สื่อออนไลน์อย่างเด็ดขาด ยกตัวอย่างเช่น เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งที่เขาเรียกกันว่าเป็นการ ดีท็อกซ์ดิจิตอล คือการตัดขาดกับเฟสบุ๊คทวิตเตอร์ และรวมทั้งสื่อในลักษณะดังกล่าว
“ผมตั้งใจออกห่างและตัดขาดชีวิตของผมจากเฟสบุ๊ค ผมกลับรู้สึกมีความสงบมากกว่าเดิม” เขากล่าว
“แต่ก่อนผมเคยหมดเวลาไปกับการท่องเฟสบุ๊คหลายชั่วในทุกๆ วัน ทุกวันนี้ผมสามารถทำอะไรมากมายที่มีประโยชน์มากกว่าเดิม”
ที่มา http://www.bbc.com/indonesia/majalah-38402443?ocid=socialflow_facebook