Published: 27/04/2012 at 02:30 AM
Newspaper section: Business
Source: www.bangkokpost.com/business/economics/290646/california-wow-comes-up-lame-in-bankruptcy-filing
(1)Members of the embattled health club California Wow Xperience will have to wait for legal proceedings in the Central Bankruptcy Court before seeking damages or claims, says the Consumer Protection Board.
(2)If the court declares the company bankrupt, then club members can file claims for damages from the Legal Execution Department.
(3)One consumer protection official said the agency was willing to assist affected consumers seeking advice.
California Wow was hit this week by a 75.87-million-baht suit filed by Bangkok Bank for unpaid debt.
(4)In a filing to the Stock Exchange of Thailand, California Wow disclosed that Bangkok Bank had filed a bankruptcy suit with the court seeking payment of debt worth 71.9 million baht and interest of 3.97 million. The lawsuit, which was dated December 2011, sought claims on a 15-million-baht overdraft, a 6.9-million-baht loan and a 50-million-baht promissory note.
(5)The loan and promissory note were secured by the leasehold rights for California Wow’s Chaeng Wattana and Ratchayothin branches.
(6)George Saab, the chief of staff for the company, told the Stock Exchange of Thailand it was continuing to make progress in its rehabilitation plan, and acknowledged the bankruptcy suit could result in “difficulties in acquiring future bank finance”.
(7)California Wow reported 2011 net losses of 246.6 million baht, an improvement compared with losses of 467.3 million the year before.
(8)In February 2011 the company was warned by the SET that it faced possible delisting due to poor performance and the fact that company auditors had issued a disclaimer of opinion on the firm’s financial statements. In October 2010, the company reported it had defaulted on debt of 58.47 million baht to TMB Bank.
(9)California Wow, launched in 2004 by Eric Levine, listed on the SET in November 2005. Major Cineplex, the country’s largest cinema operator and a one-time partner of Mr Levine, sold off its stake in 2009. Mr Levine retains a 6.6% shareholding in the company, with Elite Power Holdings the largest shareholder at 23% followed by Nattapol Chulangkul at 12.07%.
ยินดีต้อนรับท่านผู้อ่านทุกท่านสู่คอลัมน์ English Corner เหมือนเช่นเคยครับ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่านทุกท่านจะมีความสุขและ enjoy กับอากาศที่ร้อนระอุในบ้านเราอยู่ ณ ขณะนี้นะครับ
สำหรับข่าวภาษาอังกฤษที่เราจะมาเรียนรู้คำศัพท์และวิธีใช้ในสัปดาห์นี้นั้น ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าท่านผู้อ่าน fatonionline ของเราจะได้รับผลกระทบกันบ้างหรือเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านผู้อ่านที่ชื่นชอบการออกกำลังกายตาม fitness center (ฟิตเนิ่สฺ เซ้นเท่อะรฺ) ต่างๆ ใช่แล้วครับ ข่าวภาษาอังกฤษในสัปดาห์นี้คือการถูกฟ้องล้มละลายของ fitness center ชื่อดัง California Wow นั่นเองครับ
จากพาดหัวข่าว คำคุณศัพท์ lame (เลมฺ) หมายถึง แย่ หรือ ไม่ดีครับ ผู้เขียนจะได้ยินเพื่อนชาวต่างชาติพูดว่าบ่อยๆเมื่อเรามีข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น หรือ ฟังแล้วไม่น่าเชื่อถือ เช่น ‘You didn’t come to class yesterday because you had food poisoning ? Oh, that’s such a lame excuse!’ “เธอไม่มาเรียนเมื่อวานนี้เพราะอาหารเป็นพิษอย่างนั้นหรือ? โอ้ ช่างเป็นคำแก้ตัวที่ฟังไม่ขึ้นอะไรเช่นนี้!” ซึ่งความหมายหลักของคำคุณศัพท์คำนี้ที่จริงแล้วคือ อาการพิการ หรือ บาดเจ็บ ที่เกี่ยวกับขาทำให้ไม่สามารถเดินได้ หรือเดินได้ไม่สะดวกครับ เช่น a lame dog ซึ่งหมายถึง สุนัขที่พิการขาครับ
ในส่วนของคำนาม bankruptcy (แบ๊งคฺหรับซิ) ของพาดหัวข่าว มีความหมายคือ การล้มละลายครับ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำกริยา to bankrupt (แบ๊งคฺหรับ) ที่มีความหมายคือล้มละลาย ดังนั้นจากพาดหัวข่าวทั้งหมดจึงมีความหมายว่า สุดท้ายแล้ว California Wow ก็จบไม่สวยด้วยการลงเอยโดยการถูกฟ้องล้มละลายนั่นเองครับ
คำคุณศัพท์ embattled (อิมแบ๊เดิ่ลดฺ) จะใช้นำหน้าคำนามที่เป็นบุคคล หรือ บริษัทเพื่อขยายเสมอนะครับ โดยมีความหมายว่าคน หรือ องค์กรที่มีปัญหาหรือความยากลำบากในการดำเนินงานค่อนข้างมาก เช่น ‘The embattled company was unsuccessful in its business.’ “บริษัทที่มีปัญหามากๆบริษัทนั้น ไม่ประสบความสำเร็จทางด้านธุรกิจ” ส่วนคำคุณศัพท์ legal (ลี้เกิ่ลฺ) ในย่อหน้าเดียวกันใช้ขยายคำนามเพื่อหมายถึงสิ่งที่เกี่ยวกับกฎหมาย เช่น a legal office สำนักงานกฎหมาย a legal proceeding การดำเนินการทางกฎหมาย เป็นต้น โดยคำคุณศัพท์คำนี้สามารถแปลได้ว่าถูกกฎหมายได้อีกด้วยครับ เช่น a legal product สินค้าที่ถูกกฎหมาย โดยคำคุณศัพท์ที่ตรงข้ามกันคือ illegal (อิลลี้เกิ้ล) หรือไม่ถูกกฎหมายครับ เช่น an illegal DVD แผ่นดีวีดีเถื่อน หรือ ผิดกฎหมายนั่นเองครับ
ในย่อหน้าาที่ 2 มีคำกริยา to declare (ดิแคลรฺ) เป็นตัวชูโรง ซึ่งหมายถึงการประกาศหรือการแจ้งให้ทราบ ซึ่งเรามักจะคุ้นเคยเมื่อเวลาเราเดินทางไปต่างประเทศและต้องแสดง หรือ declare ของต้องสำแดงเมื่อเราเดินทางกลับมานั่นเองครับ
สำหรับย่อหน้าที่ 3 มีคำกริยาอีกคำหนึ่งที่หน้าสนใจคือคำว่า to will (วิลฺ) ซึ่งโดยปกติแล้ว เรามักจะคุ้นเคยกับคำนี้ในฐานะของกริยาช่วยซึ่งมีความหมายว่า จะ ใช่ไหมครับ ในกรณีนี้ will ทำหน้าที่เป็นคำกริยาแท้ที่มีความหมายว่า มุ่งมั่นหรือตั้งใจครับ โดยปกติแล้วมักจะพบเห็นคำกริยานี้ในลักษณะของ continuous หรือคำกริยาเติม ing เสมอครับ เช่น ‘I am willing to help you if you have any problems.’ “ผมตั้งใจที่จะช่วยเหลือคุณเต็มที่ถ้าคุณมีปัญหา”
คำคุณศัพท์ affected (เอ่อะเฟ้คถิด) ในย่อหน้าเดียวกันนั้นมีรากศัพท์มาจากคำกริยา to affect ซึ่งเป็นคำกริยาที่คนไทยมักจะใช้สับสนและผิดเสมอกับคำนาม effect (เอ๊ะเฝ็คทฺ) ซึ่งคำนามตัวหลังมีความหมายว่าผลกระทบ โดยคำว่า affect ใช้ทำหน้าที่เป็นคำกริยามีความหมายว่ามีผลกระทบครับ ซึ่งจากข่าวนี้ได้นำคำกริยาตัวนี้ไปทำเป็นคำคุณศัพท์โดยการเติม ed ไว้ด้านหลังเพื่อหมายถึงได้รับผลกระทบครับ และคำนามตัวสุดท้ายในย่อหน้าเดียวกันนั่นคือ debt (เด่ทฺ) ซึ่งหมายถึงหนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เราจะทราบความหมายของคำนามตัวนี้ดีอยู่แล้ว แต่ที่ผู้เขียนต้องการจะเน้นก็คือการออกเสียงครับ โดยคำนามคำนี้เรามักจะออกเสียงเป็น
เด้บทฺ ซึ่งผิดนะครับ แต่ต้องออกเสียงเป็น เด่ทฺ โดยที่เราจะไม่ออกเสียงตัวบอใบไม้หรือตัว b เลยครับ
สำหรับคำนาม interest (อิ๊นทเหริสทฺ) ในย่อหน้าที่ 4 มีความหมายตามเนื้อข่าวคือ ดอกเบี้ย ซึ่งนอกจากคำนามนี้จะให้ความหมายนี้แล้วยังหมายถึงความสนใจได้อีกด้วยนะครับ โดยมีที่มามาจากคำกริยาตัวเดียวกันคือ to interest และเราสามารถนำกริยาตัวนี้ไปทำเป็นคำคุณศัพท์โดยการเติม ing และ ed ไว้ด้านหลังโดยให้ความหมายแตกต่างกันคือ interesting หมายถึงน่าสนใจ และ interested หมายถึง รู้สึกสนใจครับ เช่น ‘I am interested in this interesting novel.’ “ผมรู้สึกสนใจในนวนิยายที่น่าสนใจเล่มนี้”
และคำศัพท์คำสุดท้ายของสัปดาห์นี้คือคำนาม rehabilitation จากย่อหน้าที่ 6 ครับ โดยคำนามนี้มีความหมายคือ การฟื้นฟูหรือพัฒนาให้ดีขึ้น โดยในกรณีนี้จะเป็นคำศัพท์ทางกฎหมายสักเล็กน้อย โดยมีความหมายถึงแผนฟื้นฟูและพัฒนาครับ กล่าวคือ เมื่อมีการฟ้องล้มละลายเกิดขึ้น เจ้าของกิจการอาจมีการยื่นเรื่องต่อศาลเพื่อจัดวางแผนพัฒนาเพื่อให้ธุรกิจของตนดีขึ้นหรือฟื้นตัวขึ้น โดยศาลจะกำหนดเวลาที่ชัดเจนมาครับ
ท่านผู้อ่านจะสังเกตุเห็นจากข่าวในสัปดาห์นี้ว่ามีคำนามชื่่อเฉพาะ ซึ่งเป็นชื่อขององค์กรและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อกับเนื้อข่าวอยู่หลายองค์กรเลยทีเดียว ผู้เขียนจึงขอถือโอกาสนี้บอกชื่อองค์กรและสถาบันต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเนื้อข่าวเป็นภาษาอังกฤษครับ องค์กรแรกเลยคือ Central Bankruptcy Court หรือศาลล้มละลายกลาง ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะครับ องค์กรที่ 2 คือ Consumer Protection Board หรือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะเช่นเดียวกันครับ องค์กรถัดมาคือ Legal Execution Department หรือกรมบังคับคดี ซึ่งสังกัดกับกระทรวงยุติธรรม และองค์กรสุดท้ายคือ Stock Exchange of Thailand หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยครับ
สำหรับสัปดาห์นี้หวังว่าท่านผู้อ่านคงจะได้รับความรู้จากคอลัมน์ English Corner ประจำสัปดาห์นี้ไปไม่มากก็น้อย เหมือนเช่นเคยครับ ถ้าท่านผู้อ่านมีข้อสงสัยหรือต้องการความรู้เรื่องภาษาอังกฤษเพิ่มเติมในประเด็นใด สามารถแจ้งเข้ามาได้กับทีมงาน fatonionline นะครับ สำหรับสัปดาห์นี้ขอบคุณและสวัสดีครับ