หน้าแรก English Corner

เรียนภาษาอังกฤษจากข่าว (8) : Tsunami survivors recovering, but challenges remain

INDONESIA: Tsunami survivors recovering, but challenges remain

Date: 25-04-2011

Source: http://www.muslimnews.co.uk/news/news.php?article=20097

JAKARTA, (IRIN): Six months after a devastating tsunami struck Indonesia’s southern Mentawai Islands, survivors are slowly rebuilding, but huge challenges remain, say aid workers.

More than 500 people were killed and another 11,000 displaced when the tsunami, triggered by a magnitude 7.7 earthquake off the coast of Western Sumatra, struck the islands (comprising some 70 islands and islets) on 25 October.

The earthquake and tsunami damaged and destroyed hundreds of homes, particularly in South Pagai Island, the most affected area.

Most of the over 2,000 families displaced have since relocated to temporary shelters in 10 separate camps built in safer locations, but concerns over water, sanitation and jobs remain, says SurfAid, whichhas worked with the Indonesian government and UN in coordinating response efforts.

“Most of these camps now have a reasonable level of accommodation – proper roofs, floors etc, instead of tarpaulin roofs and mud floors – but there are still issues with many of the necessities of life,” Alan Rogerson, the NGO’s programme director, told IRIN.

“Food is difficult to find and since everybody has moved to these communities they have left their fields behind,” he said. “Water is also difficult [to procure]. It is often trucked in along the logging road from Sikakap, but on many occasions there is not enough.”

According to the government, more than 1,000 homes were damaged or destroyed by the 3-5m wave, with losses estimated at 349 billion rupiah (US$40 million).

A government assessment in December put the estimated cost of rebuilding – including temporary shelters, permanent homes and lost infrastructure, as well as lost livelihoods, at over $100 million.

Since late last year, the government and aid groups have built 1,600 temporary shelters, each measuring 24 sqm, made of plywood and corrugated iron. Construction of permanent houses will start this year.

Because many areas could not be accessed by road, the government had to extend the emergency response period in more remote areas until 15 April, Ade Edward, head of logistics for the West Sumatra Regional Disaster Management Agency, confirmed.

Progress

“But some things are better than even before the tsunami. For example, there are now water facilities and mobile clinics,” Edward said.

Farmers have begun cultivating their land and the government and aid groups are providing seeds of cocoa, patchouli and nutmeg, he said.

The government had recently hired 30 medical workers, including doctors, nurses and trauma counsellors from other parts of Indonesia to work on the Mentawais after most medical workers had left the area, Edward said.

“There has been a serious shortage of medical personnel,” he said. “Most medical workers only stayed on the islands for a week and then left.”

Rogerson said there had been an increase in cases of malnutrition, diarrhoea and chest infection, which was to be expected after the tsunami.

“The local health department, with support from the Provincial Health office, the central government and a few NGOs, has started to get some level of community healthcare back up and running,” he said.

“Again this is slow, because of the difficult access and the relative lack of local resources.”

Ready Indonesia, a local NGO, and Mercy Corps are focusing on water, sanitation and hygiene promotion, and reviving people’s livelihoods in Sipora Selatan, Pagai Utara and Pagai Selatan districts, said Monalisa Satoko, a team leader for Ready Indonesia working on the Mentawai Islands.

“We have tried to identify water sources but it’s difficult, especially on [elevated] sites,” said Satoko. “Fuel is also extremely scarce and transportation is very limited.”

The International Organization for Migration (IOM) has helped deliver supplies from Padang, the capital of West Sumatra province, to Mentawai using cargo ships, said operational officer Yuhendra, who like many Indonesians goes by only one name. IOM’s operation will wrap up on 27 April, he said.

Habitat for Humanity has built 18 temporary wooden houses, provided building kits and helped build small roads and evacuation routes in Sipora Selatan, said Andreas Hapsoro, Habitat’s project coordinator for West Sumatra.

Some 600 families in Sipora Selatan have refused to move to temporary shelters built by the government because the camps were too far from their farms, Hapsoro said.

“Now many families have moved to houses they have built on their own or are still looking for suitable locations,” he added.

ปี 2554 กำลังจะผ่านพ้นไปในอีกไม่กี่วัน ท่านผู้อ่านจำได้หรือไม่ว่าตัวเองได้ทำอะไรไปบ้างในปีนี้? หรือทำไปเมื่อวันที่เท่าไร เดือนอะไร? ผมคนหนึ่งล่ะ ที่ไม่สามารถจดจำวันที่หรือเดือนปีที่ทำอะไรได้ อันเนื่องจากอายุหรือเหตุผลใดก็สุดแล้วแต่ แต่อย่างหนึ่งที่ยังคงจำได้ดีก็คือ จำได้ว่ากระทำสิ่งนั้นๆไปแล้วครับ

บทความ English Corner ส่งท้ายปี 2554 ฉบับนี้นั้น เป็นเรื่องที่เหมาะอย่างยิ่งกับท่านผู้อ่านที่ความจำเรื่องวันเวลาไม่ค่อยจะดีนัก

ข่าวสัปดาห์นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์คลื่นยักษ์ซึนามิที่หมู่เกาะ Mentawai ทางใต้ของประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2553 โดยจากพาดหัวข่าว หมายถึงผู้รอดชีวิต (survivor) ค่อยๆฟื้นตัวดีขึ้น (recover) แต่ความท้าทาย (challenge) ในเรื่องอื่นๆยังคงมีอยู่ต่อไป (remain)

ในเนื้อข่าวจะมีการพูดถึงสิ่งที่ภาคส่วนรัฐบาล ประชาชน และองค์กรอิศระต่างๆได้กระทำเพื่อเป็นการทำนุบำรุงและช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยที่จุดสำคัญที่น่าสังเกตุคือ ผู้เขียนข่าวฉบับนี้ใช้ Present Perfect Tense ในการอธิบายเหตุการณ์ทั้งหมด โดยผมจะขออุทิศบทความของสัปดาห์นี้ให้กับเรื่องการใช้ Present Perfect Tenseทั้งหมดเลยนะครับ เพื่อท่านผู้อ่านที่ยังไม่ค่อยเข้าใจหรือใช้ Tense นี้ไม่ถูกต้อง ได้ทำความเข้าใจและจะใช้Tense นี้ได้อย่างถูกต้องต่อไปนะครับ โดยผมได้ขีดเส้นใต้ในส่วนของการใช้ Tense ดังกล่าวไว้ให้ท่านผู้อ่านในเนื้อข่าวแล้วครับ

Present Perfect Tense โครงสร้างคือ Have/Has + Past Participle (หรือ กริยาช่องที่ 3) เป็นหนึ่งใน Tense ที่คนไทยเป็นจำนวนมากไม่ค่อยเข้าใจ และเลือกใช้ไม่ถูกนะครับ Present Perfect นั้น มีลักษณะการใช้ทั้งหมด 2 แบบด้วยกัน โดยในสัปดาห์นี้จะขออธิบายการใช้แค่ 1 แบบเท่านั้นนะครับ อีก 1 แบบที่เหลือจะขอยกยอดไปในสัปดาห์ถัดๆไปครับ

อย่างที่เกริ่นเอาไว้ตั้งแต่ข้างต้น Present Perfect Tense นี้จะเหมาะมากกับผู้ที่จำวันเวลาที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ค่อยได้ ถ้าท่านผู้อ่านสังเกตุจากเนื้อข่าว จะเห็นได้ว่า ที่ผมได้ขีดเส้นใต้ไว้ทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วในอดีตทั้งสิ้น แต่จุดสังเกตุที่สำคัญคือ ที่ขีดเส้นใต้ทั้งหมด ไม่มีประโยคใดเลยที่จะระบุถึงวันเวลาที่เหตุการณ์เหล่านั้นได้เกิดขึ้น!

ลองดูตัวอย่างจากบรรทัดสุดท้ายของข่าวดูนะครับ ‘Now many families have moved to houses they have built on their own or are still looking for suitable locations.’ “ขณะนี้ หลายครอบครัวได้ย้ายไปอยู่ยังบ้านที่พวกเขาสร้างกันขึ้นมาเอง หรือถ้าไม่เช่นนั้นก็ยังคงมองหาสถานที่ที่เหมาะสมอยู่”

ผู้เขียนข่าวเลือกใช้ Present Perfect Tense (Have/Has + V.3) กับการอธิบายข่าวนี้ เพื่อแสดงถึงการกระทำที่เกิดขึ้นไปแล้ว

ทั้งนี้ท่านผู้อ่านหลายท่านอาจจะสงสัยว่า “ถ้าอย่างนั้นก็เหมือนกับ Past Simple Tense (V.2) เลยน่ะซิ!” คำตอบคือ เหมือนและไม่เหมือนครับ ที่เหมือนก็คือ ทั้ง 2 Tense นี้บอกถึงเหตุการณที่เกิดขึ้นและจบไปแล้วในอดีตทั้งคู่ แต่ที่ไม่เหมือนกันก็คือสิ่งที่แต่ละ Tense เน้นและต้องการจะสื่อให้ผู้อ่านและผู้ฟังเข้าใจครับ สำหรับ Past Simple Tense ต้องการสื่อถึงเหตุการณ์ที่กระทำไปแล้วในอดีต โดยมีวันเวลาที่เกิดขึ้นระบุหรือเป็นที่เข้าใจไว้ ขณะที่Present Perfect Tense สื่อถึงเหตุการณ์ที่กระทำไปแล้วในอดีต โดยห้ามมีวันเวลาที่เกิดขึ้น

สิ่งที่ Past Simple ต้องการเน้นคือ เหตุการณ์นั้นๆเกิดขึ้นไปเมื่อใด ในขณะที่ Present Perfect ต้องการเน้นถึงผลลัพธ์ของเหตุการณ์นั้นๆ เพราะฉะนั้น ถ้าเราเพียงต้องการจะบอกเพื่อนเราว่า “ฉันทำการบ้านอาจารย์สมพงษ์เสร็จแล้วนะ!” ท่านผู้อ่านลองวิเคราะห์ประโยคนี้ดูนะครับ

อันดับแรกเลยคือ เหตุการณ์นี้เป็นอดีต เพราะฉะนั้นจึงมี Tense อยู่ 2 Tense ให้ใช้ในกรณีนี้ คือ Past Simple และPresent Perfect อันดับที่สองที่ต้องพิจารณาถัดมาก็คือ จุดประสงค์ของการพูดประโยคนี้ครับ จากที่อ่าน เราจะเห็นว่าผู้พูดมิได้ต้องการจะบอกคนอ่านหรือคนฟังเลยว่าตนได้ทำการบ้านเสร็จไปเมื่อใด แต่ต้องการจะบอกเฉยๆว่าการบ้านของตนนั้นเสร็จลงไปแล้ว ดังนั้น Tense ที่เหมาะสมและถูกต้องกับกรณีนี้ คือ Present Perfect Tenseครับ ‘I have finished Ajarn Sompong’s homework already!’

เพื่อนที่นั่งฟังอยู่ก็ประหลาดใจถึงความรวดเร็วพร้อมกับถามคำถามกลับว่า “เสร็จเมื่อไหร่?!?” ในกรณีนี้ ท่านผู้อ่านจะเห็นว่า มีวันเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องแล้วนะครับ เพราะฉะนั้น ไม่ยากเลยที่จะตอบสำหรับข้อนี้ใช่ไหมครับ? ใช่แล้วครับ คำตอบก็คือ Past Simple Tense นั่นเอง เพราะฉะนั้น ถ้าจะถามเพื่อนว่าเสร็จไปเมื่อไหร่? เราจะใช้ ‘Whendid you finish it ?!?’ ครับ

ท่านผู้อ่านคงจะเริ่มเข้าใจการใช้และความแตกต่างของ Past Simple Tense และ Present Perfect Tense ในกรณีของการบอกอดีตแล้วนะครับ เพราะฉะนั้น จึงไม่แปลกเลยที่เรามักจะเห็น Present Perfect (Have/Has + V.3) ในข่าว ถ้าข่าวนั้นต้องการจะบอกเราว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง โดยที่ไม่เน้นเรื่องวันและเวลาของเหตุการณ์ที่เกิดครับ ถ้าเป็นคนขี้ลืมอย่างผม และแค่ต้องการจะบอกผู้อ่านหรือผู้ฟังเราว่าเราได้ทำอะไรลงไปแล้วโดยไม่คำนึงถึงเรื่องเวลา ต่อจากนี้ไป ท่านผู้อ่านอย่าลืม Present Perfect Tense (Have/Has + V.3) นะครับ

สำหรับผมแล้ว ปี 2554 นี้ I have done so many things. I have been to Singapore twice. I have quit my old job. I have started my own school.

แล้วท่านผู้อ่านล่ะครับ What have you done?