โศกนาฏกรรมการประท้วงหน้าสภ.ตากใบ เมื่อเดือนตุลาคมปี 2004 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากถึง 85 คน ที่ยังคงฝั่งใจของผู้คน อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความรุนแรงได้ปะทุขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง
เหตุการณ์ระเบิดในเขตเทศบาลเมืองอำเภอยะหริ่งในจังหวัดปัตตานีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา ที่ทำให้มีชาวบ้านเสียชีวิตหนึ่งรายที่ต้องเสวยให้กับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในภาคใต้ของประเทศไทย
แต่ในความเป็นจริงแล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้อาจไม่ใช่เป็นเหตุการณ์ครั้งสุดท้าย ที่ปฏิบัติการณ์โดยกลุ่มขบวนปลดปล่อยปาตานีที่ยังคงดำเนินการโจมตีครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างไม่สิ้นสุด จนกว่าพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แห่งนี้จะได้รับการอำนวยการปกครองตนเอง อย่างที่กลุ่มขบวนการปลดปล่อยกำลังเรียกร้อง
ความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นอย่างยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2001 จนกระทั่งได้ปะทุครั้งใหญ่เมื่อปี 2004 หลังจากนั้นได้เกิดเหตุการณ์ปิดล้อมมัสยิดกรือเซะในเดือนเมษายน 2004 ที่ทำให้กลุ่มผู้ก่อเหตุเสียชีวิตในมัสยิดกรือเซะจำนวน 32 คน
ถึงกระนั้นสำหรับโศกนาฏกรรมการประท้วงหน้าสภ.ตากใบเมื่อเดือนตุลาคมปี 2004 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากถึง 85 คน ที่เสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ จากการถูกกระแทกในรถบรรทุกทหาร ที่ยังคงฝั่งลึกในใจของผู้คน อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความรุนแรงได้ปะทุขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง
จนถึง ณ ตอนนี้ความขัดแย้งในภาคใต้ของประเทศไทย ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วประมาณไม่น้อยกว่า 6,500 คน โดยไม่ระบุศาสนาและตำแหน่งหน้าที่การงานของประชาชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
ในบรรดาสาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั้งหลาย ส่วนหนึ่งมาจากการที่สังคมที่มีระดับการศึกษาและรายได้ที่ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างชาวมลายูส่วนใหญ่ในภาคใต้กับประชากรที่อยู่ในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศไทย
ความขัดแย้งดังกล่าวยิ่งมีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อมองในด้านการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เหมือนเป็นเมืองชายขอบที่แทบไม่มีโครงการพัฒนาใดๆ เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนกลางกรุงเทพมหานครอันเป็นเมืองแห่งสังคมแห่งพุทธ
อีกทั้งทางรัฐบาลไทยกลับถูกกล่าวหาว่าให้การปฏิบัติที่ไม่ดีไร้ความเป็นมนุษย์ต่อชาวมลายูทางภาคใต้ของประเทศไทยที่ชนกลุ่มส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่น่าจดจำมากที่สุดก็คือ โศกนาฏกรรมตากใบที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนรอมฎอน 2004 พอดี
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เห็นศักดิ์ศรีของศาสนาอิสลามถูกเหยียบย่ำ และจะยังคงถูกจดจำไปหลายชั่วอายุคน และในขณะเดียวกันได้กลายเป็นเครื่องขัดขวางของกระบวนการสันติภาพไปในตัว
นายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้น คือทักษิณ ชินวัตรเองดูเหมือนว่าพยายามจะวางท่าทีเมินเฉยต่อปัญหาภาคใต้ของประเทศไทย แต่ที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือไม่มีฝ่ายที่ออกมารับความรับผิดชอบต่อโศกนาฏกรรมตากใบที่เกิดขึ้น
ในขณะเดียวกันนักวิจัยด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Zacha Abuza ได้กล่าวว่า ความขัดแย้งดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเป็นอัติลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์มลายูในภาคใต้ของไทย ที่ปฏิเสธนโยบายการกลืนกลายวัฒนธรรมของสังคม (รัฐ) ไทย
“ทุกชนกลุ่มน้อยที่มีอยู่ในประเทศไทยทุกกลุ่ม ล้วนได้ยอมรับในกระบวนการของการกลืนกลายวัฒนธรรมไปเกือบหมดสิ้น นอกจากกลุ่มชาติพันธุ์มลายูเท่านั้น ที่ยังคงมุ่งมั่นต่อสู้กับสิ่งที่พวกเขามองว่าเป็นความมุ่งร้ายของการนักล่าอาณานิคมรัฐไทย นอกจากต้องการที่จะรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรม ศาสนา และวิถีชีวิตแล้ว” เขากล่าว
ถึงแม้ว่าทางกองทัพจะได้วางกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดรัดกุมในทุกพื้นที่ โดยการส่งกองกำลังความมั่นคงลงในพื้นที่ประมาณ 70,000 คน ทั่วทั้งสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่เหตุการณ์การลอบวางระเบิดยังเกิดขึ้นเกือบแทบจะทุกวันโดยไม่เลือกวันเวลาและสถานที่
ไม่เพียงแต่ชีวิตของเจ้าหน้าที่ทหารและกลุ่มขบวนการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยเท่านั้นที่ต้องล่องลอยล่วงลับไป แต่ชีวิตครู พระสงฆ์ และพนักงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ข้าราชการ ที่เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจการปกครองก็ได้ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตี ไม่ว่าจะโดยการวางระเบิดหรือการตามประกบยิงโดยใช้รถจักรยานยนต์
แต่ตลอดระยะเวลาของการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น กลับไม่มีฝ่ายใดที่ออกมาอ้างความรับผิดชอบในทุกๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จนบางครั้งทำให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของไทยเกิดความสับสนจับต้นชนปลายไม่ถูก
ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วแห่งโลกดิจิตอลในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เช่นในเฟสบุ๊ค การใช้เทคนิคต่างๆ ในการสร้างเป็นอาวุธแห่งการสื่อสารในการแบ่งปันวิดีโอต่างๆ ที่อาจสร้างประเด็นใหม่ให้เกิดขึ้นและอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ความขัดแย้งมีความรุนแรงยิ่งขึ้น
ซึ่งสามารถที่จะกล่าวได้ว่าความสำเร็จของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในการต่อสู้กับขบวนการปลดปล่อยปาตานีค่อนข้างมีน้อย ซึ่งล่าสุดทางเจ้าที่สามารถทลายแหล่งผลิตระเบิดของกลุ่มขบวนการได้ในอำเภอหนองจิกเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
เพราะฉะนั้นการแก้ไขปัญหาด้วยวิถีทางการเมืองที่ยั่งยืนจำเป็นที่ทางรัฐบาลไทยจะต้องค้นหา อย่างล่าสุดได้มีการชักชวนกลุ่มขบวนการเข้าร่วมบนโต๊ะเจรจาได้อย่างสำเร็จ
แต่อย่างไรก็ตามกระบวนการเจรจาดังกล่าวไม่ควรที่จะเกี่ยวข้องเพียงบางกลุ่มเท่านั้น เช่นขบวนการปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี Barisan Revolusi Kebangsaan (BRN) ดังที่เคยทำมาก่อน แต่ควรจะมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มขบวนการอื่น ๆ เสียด้วย เช่นขบวนการปลดปล่อยรัฐปาตานี Pertubuhan Pembebasan Bersatu Pattani (PULO) ขบวนการกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติปาตานี Barisan Pembebasan Islam Patani (BIPP) และมูจาฮีดีนอิสลามปาตานี Gerakan Mujahideen Islam Patani (GIMP)
เพราะเหตุนี้ในระหว่างที่มีการเจรจาสันติภาพกับกลุ่มบีอาร์เอ็น เหตุระเบิดยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยกลุ่มขบวนการปลดปล่อยเพื่อปาตานี และนี่เป็นการแสดงให้เห็นว่าทางกลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็นยังไม่ใช่กลุ่มที่มีอำนาจเสียงพอในบรรดากลุ่มขบวนการทั้งหมด
นอกจากนี้การมีส่วนร่วมของบรรดาจากประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนโดยหลักการในฐานะเป็นตัวกลางถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถอำนวยความสะดวกในการช่วยคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งที่นองเลือดในภูมิภาคนี้ได้
ในขณะเดียวกันทางรัฐบาลไทยควรที่จะทอดแบบจากรัฐบาลฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียที่สามารถบรรลุผลในการแสวงหาสันติภาพได้อย่างสำเร็จกับแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร Barisan Pembebasan Islam Moro(MILF) ในจังหวัดมินดาเนาและกลุ่มขบวนการอาเจะห์เสรี Gerakan Acheh Merdeka (GAM) ผ่านการเจรจาและการต่อรองและไม่ใช่ด้วยวิธีความรุนแรงแต่อย่างใด
บทความแปล เขียนโดย MUHAMAD ZAID ADNAN และ NAWWAR ABDUL RAHIM
ที่มา http://www.utusan.com.my/berita/luar-negara/mencari-keadilan-untuk-penduduk-selatan-thai-1.208253