หน้าแรก บทความ

ประวัติศาสตร์การเมืองปาตานีแนวใหม่ : มุมมองว่าความรุนแรงภายใต้สภาวะสองรัฐ สองจินตนาการ

New Patani’s Political History : The Perspective of the Violence and the Breakdown of Imagined State.

โดย : อานนท์ บุญมาศ [1]
ที่มา : มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทคัดย่อ

บทความ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอมุมมองใหม่ต่อประวัติศาสตร์การเมืองปาตานีใน อดีต กล่าวคือแต่เดิมการศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองปาตานี เน้นการศึกษาด้านโครงสร้างอำนาจและความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างอาณาจักร สยาม/รัฐไทยกับอาณาจักรปาตานี ในขณะที่บทความนี้นำเสนอมุมมองที่ว่าด้วยความหมายเชิงสัญญะซึ่งผ่านการกระทำ ของภาษาและความทรงจำซึ่งในที่สุดแล้วก่อให้เกิดความเป็นอื่นหรือความเป็นชาย ชอบนั่นเอง ดังนั้นเมื่อเกิดสภาวะแปลกแยกดังกล่าวแล้ว ผลก็คือการเกิดขึ้นของชุดจินตนาการสองชุดซึ่งตรงข้ามกันและรัฐจินตนาการสอง รัฐซึ่งซ้อนทับกันอยู่ จนในที่สุดก่อให้เกิดความรุนแรงเชิงสัญญะและทางกายภาพ

คำสำคัญ : ประวัติศาสตร์การเมืองแนวใหม่ ปาตานี รัฐจินตนาการ ความรุนแรง

บทนำ

การ ศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองปาตานี[2]ถูกศึกษาผ่านผลงาน บทวิจัยของนักประวัติศาสตร์ นักรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์อื่นๆซึ่งโดยส่วนมากแล้วเน้นการศึกษาเชิงอำนาจ รัฐ(power) และโครงสร้างอำนาจ(power structure) ในช่วงเวลาต่างๆซึ่งปรากฏผ่านผลงานทางวิชาการต่างๆ เช่น หนังสือประวัติศาสตร์ปาตานี(ซึ่งแน่นอนว่าแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับ ประวัติศาสตร์ปาตานีกระแสหลักโดยนักประวัติศาสตร์ไทยกระแสหลัก) งานวิจัยต่างๆ วรรณกรรมท้องถิ่น ตลอดจนศิลปกรรมสะท้อนสภาพการเมืองในแต่ละช่วงสมัยต่างๆ อย่างไรก็ตามงานศึกษาเหล่านั้นเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองกระแสหลัก นั่นเอง[3]

สำหรับ บทความนี้ผู้เขียนนำเสนอมุมมองประวัติศาสตร์การเมืองปาตานี ผ่านสัญญะ( Sign) ซึ่งถือเป็นภาษาการสื่อสารอย่างหนึ่งซึ่งภาษาโดยตัวมันเองแล้ว อยู่ในสถานะที่เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร(Communication) ดังนั้นภาษาจึงเป็นเครื่องมือแห่งความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชน(Individual) กับสังคม(Society) กล่าวคือภาษาเป็นตัวแสดงออกซึ่งชุดความเชื่อ/ความคิดของปัจเจกชนและสังคม ซึ่งก็คือ วาทกรรม(Discourse) ต่างๆซึ่งเกิดขึ้นจากการปฏิบัติการทางภาษานั่นเอง[4] ชุดวาทกรรมที่เกิดขึ้นส่งผลให้เกิดระบบความเชื่อ/ความคิด ชุดหนึ่งขึ้นมาแต่ในขณะเดียวกันชุดวาทกรรมที่ผ่านกระบวนการกระทำผ่านภาษาไม่ ได้มีเพียงชุดเดียว ดังนั้นในสังคมหนึ่งจึงเกิดชุดวาทกรรรมมากว่าชุดเดียวเสมอ นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่จะเป็นชุดวาทกรรมคู่ตรงข้ามกันเสมอ

ประวัติศาสตร์ การเมืองปาตานีเป็นประวัติศาสตร์เป็นประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ของชุดวาท กรรม/ชุดความจริงสองชุดตลอดมา[5] ซึ่งก่อให้เกิดจินตภาพแห่งอุดมการณ์ซึ่งแตกต่างกันในที่สุด โดยผ่านกระบวนการทางภาษา สัญญะและวาทกรรม

วาท กรรมอุดมการณ์ซึ่งแตกต่างกันดังกล่าวเป็นอุดมการณ์คู่ตรงกันข้าม กล่าวคือมีวาทกรรมอุดมการณ์กระแสหลักปะทะกับวาทกรรมอุดมการณ์กระแสรองซึ่ง ถูกมองว่าเป็นความเป็นอื่น/สภาวะแปลกแยกจากกระแสหลัก(Otherness/Alieness) การปะทะทางวาทกรรมอุดมการณ์ดังกล่าวถึงการแตกหัก(Breakdown) อย่างชัดเจนและรุนแรงที่สุดคืออุดมการณ์/จินตนาการว่าด้วยรัฐ(Imagine state) ซึ่งแตกต่างกันจึงเป็นลักษณะของการซ้อนทับของสองรัฐ สองจินตนาการ ภายใต้พื้นที่เดียวหรือเป็นลักษณะซ้อนกันในเชิงอุดมการณ์/จินตนาการเกิดขึ้น ซึ่งสะท้อนเป็นรูปธรรมออกมาผ่านการต่อสู้ทางกายภาพหรือการจับอาวุธต่อต้าน รัฐ(วาทกรรมกระแสหลัก)นั่นเอง

ภาษาในฐานะการแสดงออกทางความคิด

ภาษา เป็นการแสดงออกให้เห็นซึ่งระบบความคิด ความเชื่อของปัจเจกบุคคล(Individual) หรือของสังคม(society) ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ภายใต้กรอบกำหนดแห่งความเข้าใจร่วมกันของสังคม[6]ในขณะชั่วเวลาหนึ่ง กล่าวคือเมื่อพูด/เขียนคำหนึ่งออกมาก็จะรับรู้ได้โดยทั่วกันว่าคำๆนั่นหมาย ถึงอะไร เช่น “ดาบ” หมายถึงอาวุธชนิดหนึ่งที่ประกอบขึ้นจากโลหะ มีลักษณะยาว มีปลายแหลมและมีคม ใช้สำหรับการต่อสู้ การทำสงครามและป้องกันตัว เป็นต้น ดังนั่นความหมายของคำว่าดาบดังกล่าวถึงเป็นการรับรู้โดยการกำหนดกรอบความ เข้าใจของสังคมนั่นเอง จากตัวอย่างข้างต้น สังเกตได้ว่าเป็นความหมายในเชิงวัตถุรูปธรรมซึ่งนักสัญญะวิทยาชื่อ แฟร์ดินองด์ เดอ โซซูร์ เรียกว่าเป็นความหมายของ “ระบบ/องค์รวมที่มีความสมบูรณ์ในตัวเองและมีกฏเกณฑ์ในการแยกแยะ จัดประเภทแบบต่างๆ” (…a self-contained whole and a principle of classification…)[7]

นอกจาก ภาษาในเชิงวัตถุรูปธรรมชัดเจนแล้ว ยังมีอีกภาษาซึ่งเป็นการสื่อสารที่มิได้เป็นความหมายเพียงเสียงที่ออกมาเท่า นั่นแต่เป็นไปในลักษณะความหมายที่เรียกว่า “สัญญะ” (sign) ซึ่งเป็นคำที่เสียงและความหมายไม่จำเป็นต้องจำกัดแค่เสียงหรือไม่จำเป็นต้อง ตรงกัน กล่าวคือเป็นคำซึ่งมีกรอบความเข้าใจของสังคมที่กว้างกว่าความหมายในเชิง วัตถุรูปธรรม ซึ่งโซซูร์ เรียกคำซึ่งมีความหมายเช่นนี้ว่าเป็น “การกระทำทางสังคมอันเป็นผลมาจากความสามารถในการใช้ภาษาของบุคคลบวกกับชุด ของกฎเกณฑ์ จารีตปฏิบัติที่จำเป็นซึ่งสังคมส่วนใหญ่ยอมรับเพื่อให้การติดต่อ สื่อสาร พูดคุยเป็นไปได้” (…a social product of the faculty of speech and a collection of necessary conventions that have been adopted by social body to permit individuals to exercise that faculty… )[8] ซึ่งภาษาในรูปแบบดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ภายใต้ระบบคิด จารีต ของสังคมซึ่งอยู่ภายใต้บริบท(context) ของแต่ละสังคมด้วย

สัญญะ อาจหมายถึงการอุปมา การเทียบเคียงซึ่งมีความหมายกว้างกว่าความเป็นจริงของภาษาซึ่งความหมาย ที่แท้จริงอาจจะแตกต่างไปจากสิ่งซึ่งสังคมเข้าใจโดยทั่วไป การทำความเข้าใจกับสัญญะได้อย่างถูกต้องตามความต้องการที่ผู้สื่อสารต้องการ ต้องเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขต่างๆ เช่นต้องมีความรู้ความเข้าใจในภาษาและวัฒนธรรมของผู้สื่อสาร ต้องอยู่ในระบบสถานะความสัมพันธ์ชุดเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เป็นต้น

ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง : เศรษฐสัญญะ

การ ส่งดอกไม้เงินดอกไม้ดอกของอาณาจักรปาตานีต่อสยาม มีการบันทึกว่าเกิดขึ้นครั้งแรกในราวปี 1636 ในรัชสมัยของรายากูนิง โดยพระนางได้ส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองซึ่งวันวลิต(Van vliet) ระบุว่าพระเจ้ากรุงสยามทรงยินดี[9]และในปี 1641รายากูนิงได้เสด็จเยือนกรุงศรีอยุธยาด้วยพระองค์เองเพื่อฟื้นฟูสันติภาพ ระหว่างสองอาณาจักร[10]

การ ส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองครั้งนั้นถือเป็นเศรษฐกิจเชิงสัญญะระหว่างสอง อาณาจักร เป็นระบบความสัมพันธ์ของสองอาณาจักรที่ “ไม่เท่าเทียมกัน” กล่าวคือเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้น้อย(ปาตานี)ที่มีกับผู้ใหญ่(กรุงสยาม )เป็นการแลกเปลี่ยนที่ไม่สามารถประเมินค่าเป็นราคาได้ หรือดังที่ Pierre Boudieu ให้คำจำกัดความเศรษฐสัญญะทำนองนี้ว่า “ฉันรู้ว่าเมื่อฉันให้เธอ ฉันรู้ว่าเธอจะตอบแทนฉัน”[11]

ใน แง่นี้การกระทำดังกล่าวของอาณาจักรปาตานี สะท้อนแง่คิดของชนชั้นปกครองในขณะนั้นได้ดังนี้ ประการแรก เป็นการการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองอาณาจักรเสียใหม่หลังจาก ทั้งสองอาณาจักรได้ทำสงครามกันมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ประการที่สอง เป็นเหตุผลเพื่อการค้าของอาณาจักรปาตานีเพราะในเวลานั้นอาณาจักรปาตานีเป็น เมืองท่าสำคัญที่มีพ่อค้า นักเดินเรือเข้ามาจอดเทียบท่าเพื่อทำการค้า รวมทั้งพ่อค้า นักเดินเรือชาวสยามด้วย ประการที่สาม เป็นการสร้างดุลอำนาจ กล่าวคือในขณะเวลานั้นสยามเกิดความขัดแย้งกับตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ ชาวฮอลันดา ด้วยสาเหตุที่ว่าฮอลันดาไม่ส่งกองทหารมาช่วยอยุธยาทำสงครามกับปาตานี[12] ดังนั้นเท่ากับว่าฮอลันดาเห็นความสำคัญของผลประโยชน์ของตนเองในปาตานี มากกว่าสยาม ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงที่สยามจะรับแผนฟื้นฟูสันติภาพของรายากูนิง จากกุศโลบายดังกล่าวของรายากูนิงเป็นการกระทำในเชิงสัญญะ แต่การส่งดอกไม้เงินอกไม้ดอกไม่ได้มีสถานะที่ชัดเจนอย่างเช่นหนังสือสนธิ สัญญาเพราะเป็นเพียง “ความเข้าใจร่วมกัน” เท่านั้น ไม่ได้มีข้อกำหนดตกลงชัดเจน ไม่ได้มีกำหนดเวลาที่ชัดเจน

อย่างไร ก็ตาม การกระทำเชิงสัญญะดังกล่าวขึ้นอยู่กับว่าทั้งสองมีความเข้าใจอย่างไร ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นอย่างไร เพราะไม่มีกติกาชัดเจน ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับการยอมรับและความเข้าใจของทั้งสองฝ่าย แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ “ความเข้าใจไม่ตรงกัน” นั่นคือมีการเกิดขึ้นของความเข้าใจสองชุด ความจริงสองชุด กล่าวคืออาณาจักรปาตานีเข้าใจว่าการส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองถวายแก่พระเจ้า กรุงสยามนั้นเป็นการสร้างสันติภาพอีกครั้ง(Renew the peace) เพราะบริบททางการเมืองสมัยนั้นเห็นได้ว่าไม่มีเหตุผลใดที่ปาตานีจะต้อง สวามิภักดิ์สยามในสถานะประเทศราช[13]อุปมาดั่งเช่นกรุงสยามส่งดอกไม้เงิน ดอกไม้ทองไปถวายแก่พระเจ้ากรุงจีนนั้นมิได้หมายความว่าสยามเป็นประเทศราชของ กรุงจีน การกระทำดังกล่าวเป็นเพียงการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างสองอาณาจักร ระหว่างอาณาจักรเล็ก(สยาม)กับอาณาจักรใหญ่(กรุงจีน) กล่าวคือระบบคิดของจีนมองว่ากษัตริย์ของตนเองคือ “ฮ่องเต้” ซึ่งเหนือกว่ากษัตริย์ของกรุงสยามที่ชาวจีนเรียกว่า “เสียมล้อก๊กอ๋อง” แต่กรุงจีนไม่เคยมีความคิดว่ากรุงสยามเป็นประเทศราชของกรุงจีน[14]

ขณะ เดียวกันระบบคิดของสยามกลับมองว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์ของ เจ้าประเทศราชสยามกับอาณาจักรมลายูปาตานี ด้วยเหตุผลที่ว่าในขณะช่วงเวลานั้นรัฐต่างๆมีลักษณะเป็น “รัฐจารีต” ด้วยลักษณะดังกล่าวทำให้การดำรงอยู่ของอาณาจักรมีอาณาเขตที่ไม่แน่นอน มีการเคลื่อนย้ายของผู้คนอยู่ตลอดเวลา เจ้าประเทศราชต้องคุ้มครองตนเองจากภายนอก จึงจำเป็นที่จะต้องนำรัฐใกล้เคียงที่เล็กกว่าเพื่อความมั่นคงของตนเอง

ระบบ คิดของชนชั้นนำสยามในเรื่องดังกล่าวเต็มไปด้วยคติความเชื่อแบบพราหมณ์ ที่ว่ากษัตริย์จะต้องเป็นผู้มีบุญญาธิการ ดังนั้นจึงต้องนำประเทศอื่นๆมาเป็นประเทศราชเพราะเป็นสัญญะของความมีบุญญาธิ การของกษัตริย์ผู้มีบุญญาธิการเพียงพอต่อการดำรงตำแหน่งเป็นกษัตริย์เทวราชา ในทางกลับกันการสูญเสียประเทศราชหรือการแพ้สงครามย่อมเป็นสัญญะแห่งการสูญ เสียอำนาจ สูญเสียความชอบธรรมในการปกครอง ดังนั้นในแง่ประเทศราช รัฐใดเป็นประเทศราชก็ต้องเป็นประเทศราชตลอดไป[15]

นอกจาก นี้ ธงชัย วินิจจะกูล ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรต่างๆในช่วงเวลาขณะนั้น ว่า ความสัมพันธ์ยังไม่มีแนวคิดองค์อธิปัตย์เหนืออธิปไตยและเส้นเขตแดนเพราะ ชนชั้นนำของอาณาจักรต่างๆในช่วงเวลาดังกล่าวตระหนักดีว่าดินแดนซึ่งตนถือว่า เป็นประเทศราชถูกครอบครองโดยอาณาจักรอื่นหรือหลายอาณาจักรในช่วงเวลา เดียวกัน มีอาณาเขตไม่ชัดเจนและนับได้ว่ามีอิสระในการปกครองตนเอง(เน้นโดยผู้เขียน) แต่นักประวัติศาสตร์ยุคใหม่กลับไม่ตระหนักในความจริงข้อนี้[16]

จากประวัติศาสตร์การเมืองปาตานีสู่ประวัติศาสตร์ของความเป็นอื่น

ประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรปาตานีกับอยุธยานั้นเป็นความสัมพันธ์แบบหลวมๆ ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลประโยชน์ด้านการค้าร่วมกัน ดังนั้นความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างสองอาณาจักรจึงเป็นไปในลักษณะที่ ยืดหยุ่น

อย่างไร ก็ตาม ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรปาตานีกับอาณาจักรสยาม เปลี่ยนไป ปาตานีตกอยู่ภายใต้สถานการณ์เป็นเมืองประเทศราชของสยาม จากการแพ้สงครามในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก(รัชกาลที่ 1)แต่ความสัมพันธ์ของทั้งสองอาณาจักรเปลี่ยนไปในแง่ของความสัมพันธ์เชิง อำนาจเท่านั้น ทั้งสองอาณาจักรยังคงมี “พื้นที่” รองรับความคิด ความทรงจำที่แยกจากกันและเป็นอิสระต่อกันอยู่ กล่าวคือทั้งสองยังคงมีพื้นที่รองรับที่เป็นรัฐเหมือนกัน[17](รัฐปาตานีและ รัฐสยาม) ดังนั้นจึงเป็นเรื่องง่ายที่ระบบความคิด ความทรงจำทั้งสองจะปะทะกันโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคิด ความทรงจำเรื่อง “ชาตินิยม” ซึ่งเกี่ยวกับอย่างแนบแน่นกับการเป็นอิสระทางการเมืองของเชื้อชาติตนเอง ในขณะที่ช่วงเวลานั้นปาตานีเป็นประเทศราชของสยาม รูปธรรมที่ชัดเจนของความขัดแย้งดังกล่าวคือ “การก่อกบฏ” ในช่วงเวลาต่อมา[18]

แต่ แล้วจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองปาตานี(ซึ่งก็เป็นจุดเปลี่ยน สำคัญของสยามด้วยเช่นกัน) คือการรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางในช่วงเวลาแห่งการปฏิรูปของพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยเหตุผลหลักคือการคุกคามของจักรวรรดินิยมอังกฤษและฝรั่งเศส ดังนั้นสำหรับพระองค์แล้วจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างบูรณภาพแห่งดินแดน “สยามประเทศ” ในสถานะของรัฐสมัยใหม่[19](modern state) พระองค์ทรงเปลี่ยนจากหัวเมืองมลายูทั้งเจ็ดเป็นเป็นบริเวณเจ็ดหัวเมือง อย่างไรก็ตามการปกครองดินแดนดังกล่าวพระองค์ยังคงให้ชนชั้นนำท้องถิ่นปกครอง ต่อไปแต่ในทางปฏิบัติแล้วอำนาจส่วนใหญ่อยู่ที่ข้าราชการซึ่งถูกแต่งตั้งมา จากส่วนกลาง

ผลของ การปฏิรูปการปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือว่าเป็น “ความสำเร็จในการบูรณภาพดินแดนสยาม” แต่ในทางกลับกันถือเป็น “ประวัติศาสตร์บาดแผล” ของรัฐปาตานี ในเรื่องนี้ เตช บุนนาค นักประวัติศาสตร์คนสำคัญของไทยเห็นว่า “ …ควรบันทึกไว้อีกด้านหนึ่งด้วยว่า สำหรับนักประวัติศาสตร์มลายู ปี พ.ศ.2445 เป็นปีของการล่มสลายครั้งสุดท้ายของชาติปัตตานี เป็นการสูญเสียอำนาจอธิปไตยของรายาและการทำลายอธิราชของชาวมลายูในประเทศ ปัตตานีและการจำนำสิทธิเสรีภาพ อิสรภาพของปัตตานีในมือของสยาม ปีนี้จึงเป็นปีสุดท้ายที่โชคร้ายที่สุดของประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรมลายู ปัตตานี…”[20] ขณะเดียวกัน อิบรอฮีม ซุกรี นักประวัติศาสตร์ชาตินิยมมลายูคนสำคัญ ได้เสดงความเห็นในทำนองเดียวกันว่า “…ในปี พ.ศ. 2445 เป็นปีของการล่มสลายครั้งสุดท้ายของชาติปัตตานี เป็นการเสียอำนาจอธิปไตยของรายาและเป็นปีที่โชคร้ายที่สุดของประวัติศาสตร์ ราชอาณาจักรปัตตานี”[21]

ภาย หลังการปฏิรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการก่อกบฏขึ้น อย่างหนักในบริเวณเจ็ดหัวเมือง[22] ซึ่งปรากฏการดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนของสภาวะของการดำรงอยู่ของพื้นที่แห่งการ รองรับความคิด ความทรงจำ ในฐานะ “ดินแดน” ของอาณาจักรปาตานีซึ่งกำลังถูกคุกคามและอยู่ในสภาวะที่ไม่มั่นคง กล่าวคือ ปาตานีกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านและมีความไม่ชัดเจนว่าสถานะของปาตานีอยู่ ในสถานะใดระหว่าง “ประเทศราช” หรือเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของ “รัฐสยาม” ดังนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นการแย่งชิงพื้นที่รองรับความคิด ความทรงจำร่วมกันของอาณาจักรปาตานี/ชาตินิยมปาตานี ซึ่งก็คือการแย่งชิงความชัดเจนแน่นอนของ “รัฐและบูรณภาพแห่งดินแดนของตนเอง”

แบบจำลองความคิด ความทรงจำของรัฐปาตานีและรัฐสยามโดยมีบูรณภาพแห่งดินแดนเป็นเงื่อนไข

 

สีชมพู แทนสยาม สีฟ้า แทนปาตานี

รูปที่ 1 สมัยอยุธยา

3-300x127

 

รูปที่2 สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

2-300x200

 

รูปที่ 3 หลังการปฏิรูปของรัชกาลที่ 5

1-300x198

ใน ที่สุดเมื่ออาณาจักรปาตานีเป็นส่วนดินของดินแดนสยาม(อย่างชัดเจน)ในฐานะ จังหวัดหนึ่ง[23]จึงทำให้บูรณภาพแห่งความคิด ความทรงจำโดยมีบูรณภาพทางดินแดนเป็นพื้นทีรองรับเปลี่ยนไป กล่าวในอีกแง่หนึ่ง “ไม่มีรัฐปาตานีอีกต่อไปแล้ว” ดังนั้นระบบความคิด ความทรงจำ/ประวัติศาสตร์ชาตินิยมปาตานีนั้นกลายเป็น ระบบความคิด ความทรงจำ/ประวัติศาสตร์ชาตินิยมของ “ความเป็นอื่น” คือเป็นสิ่งซึ่งไม่ใช่ความเป็นไทย/สยามกระแสหลักซึ่งเป็นระบบคิดอันมี บูรณภาพแห่งดินแดนรองรับอยู่ซึ่งหมายรวมถึงดินแดนซึ่งครั้งหนึ่งเคยรองรับ ระบบความคิด ความทรงจำร่วมกันของปาตานีแต่ บัดนี้เป็นเพียงอดีตซึ่งเคยมีอยู่จริง แต่สำหรับปัจจุบันคงเหลือแค่ความเป็นอื่นเท่านั้น

สองรัฐ สองจินตนาการ

ความ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของประวัติศาสตร์การเมืองปาตานี ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางระบบความคิด ความทรงจำในเรื่องรัฐสมัยใหม่(modern state) เท่านั้น แม้ว่าความทรงจำเหล่านั่นจะเป็นความเป็นอื่นเพราะถูกทำให้เป็นอื่นด้วยความ เป็นไทยกระแสหลัก(Thainess Mainstream)[24] ดังนั้นความคิดในแง่นี้ไม่มีพื้นที่รองรับ(ซึ่งหมายถึงรัฐปาตานี) อย่างในอดีตแต่ก็มิได้หมายความว่าระบบความคิดความทรงจำของรัฐปาตานีจะหายไป

เมื่อ ไม่มีรัฐปาตานีที่เป็นพื้นที่รองรับ ระบบความคิด ความทรงจำก็เปลี่ยนสถานะเป็น “รัฐจินตนาการ” (Imagined state) ซึ่งมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับจินตนาการชาตินิยมมลายู ซึ่ง “ชาติ” ในแต่ละชาติ(ซึ่งหมายถึงเชื้อชาติ) ย่อมมีวิวัฒนาการและความทรงจำร่วมกันของคนชาติเดียวกัน ดังที่เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน เรียกว่า “ชีวประวัติของชนชาติ” (The Biography of Nation)[25] ดังนั้นการสูญเสียรัฐมิได้หมายความว่าเป็นการสูญเสียรัฐจินตนาการและ ชาตินิยมปาตานี

ด้วย การดำรงอยู่ของรัฐจินตนาการดังกล่าว หากมองโดยละทิ้งเงื่อนไขว่าด้วยรัฐ บูรณภาพแห่งดินแดนและอำนาจอธิปไตย โดยพิจารณาแต่จินตนาการความเป็นรัฐเท่านั่น จะพบว่าลักษณะรัฐจินตนาการมีอย่างน้อย 2 ชุดจินตนาการ กล่าวคือ ชุดแรก จินตนาการว่าด้วยรัฐไทยซึ่งเป็นจินตนาการหลักซึ่งชอบธรรมในแง่หากพิจารณาถึง การดำรงอยู่ของบูรณภาพแห่งดินแดนของรัฐ

 

ชุด ที่สอง เป็นจินตนาการว่าด้วยรัฐปาตานี ผ่านกระบวนการชาติปาตานีนิยมและจิตสำนึกประวัติศาสตร์ปาตานีร่วมกัน รัฐจินตนาการชุดนี้เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่จริง ดังนั้นหากมองการดำรงอยู่ของรัฐในแง่รัฐจินตนาการแล้ว จะเกิดลักษณะซ้อนทับกันนั่นเอง

จินตนาการรัฐปาตานีถูกขับเคลื่อนด้วยปัจจัยสำคัญดังนี้

ประการ แรก เชื้อชาติมลายู กล่าวคือ เรื่องเชื้อชาติซึ่งแตกต่างกันระหว่างเชื้อชาติมลายูปาตานีซึ่งดำรงอยู่ใน พื้นที่รองรับรัฐจินตนาการของรัฐไทยและเชื้อชาติไทย (?)[26]และถูกทำให้เป็นไทย ซึ่งมลายูไม่ใช่ไทย(และไม่สามารถเป็นได้)ดังนั้นจึงเกิดกระบวนการต่อสู้โดย เฉพาะเชิงอุดมการณ์ในแง่ Ethnic Nationalism เพื่อแย่งชิงพื้นที่ทางความคิดและจินตนาการว่าด้วยชาติพันธุ์และการดำรงอยู่ ซึ่งบ่อยครั้งการต่อสู้แสดงออกมาในรูปแบบการต่อต้านรัฐด้วยความรุนแรง

ประการ ที่สอง จิตสำนึกทางประวัติศาสตร์รัฐมลายูร่วมกัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าครั้งหนึ่งในอดีต ปาตานีเคยอยู่ในสถานะ “รัฐ” เช่นเดียวกับรัฐสยาม ต่อมาสยามได้เข้ามายึดเป็นประเทศราชและผนวกดินแดนปาตานีเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ของสยาม ดังนั้นในแง่นี้ต้องยอมรับว่าชาวมลายูปาตานีมี “ความชอบธรรม” ที่จะต่อสู่เพื่อเรียกร้องสิ่งซึ่งเคยเป็นของตนเองคืนมา

ประการ ที่สาม เหตุผลอีกประการหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดรัฐจินตนาการมลายูปาตานีคือ “ความใจแคบ” ของรัฐสยาม/ไทย เช่นการไม่ยอมรับการดำรงอยู่ของชาติพันธุ์มลายูปาตานีและไป “หลอก” ว่าเขาเป็นคนไทย ซึ่งไม่ใช่[27] และที่สำคัญปรากฏว่า “หลอกไม่สำเร็จ” ดังนั้นจึงก่อให้เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ คือการต่อต้านรัฐจินตนาการของสยามอย่างรุนแรงรวมถึงความรุนแรงทางกายภาพด้วย

แบบจำลองความสัมพันธ์รัฐจินตนาการของสยามและปาตานี

41-300x200

อย่างไร ก็ตามความสัมพันธ์ของรัฐจินตนาการของสยามและปาตานีมิได้เป็นคู่ขัดแย้งกับ เสมอไป กล่าวคือ มีแนวคิดที่ยินดีที่จะอยู่ภายใต้รัฐแห่งบูรณภาพทางดินแดนของสยาม ซึ่งแนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่ประนีประนอม(Reconciliation)หรือแนวทางสันติซึ่ง เกิดขึ้นในปัญญาชนและชนชั้นนำใหม่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้[28]

แนวคิด ดังกล่าวคือแนวคิดที่ว่าต้องการอยู่ในดินแดนของรัฐไทยด้วยความสันติและ ต้องการให้รัฐไทย “ใจกว้าง” ต่อชาวมลายูปาตานีซึ่งหมายถึงการยอมรับการมีอยู่ของชาติพันธุ์มลายู หยุดการยัดเหยียดความเป็นไทยให้กับเขาอย่างในอดีต หยุดการกระทำสองมาตรฐาน ตัวอย่างแนวคิดดังกล่าวที่ผู้เขียนนำมาเป็นกรณีศึกษาคือ กรณีของเจ๊ะกูดิง ซึ่งเป็นอดีตหัวหน้ากองจรยุทธ์ทหารปลดแอกปัตตานี (Tentara Pembebasan Pattani) ซึ่งให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์จัตุรัส วันที่ 2 มีนาคม 2519 ดังนี้[29] “…ที่เราเข้ามาปฏิบัติการในป่า มันเป็นเรื่องของการเกิดสำนึกว่าประชาชนของเราถูกกดขี่จากคนต่างชาติ ประชาชนปัตตานีต้องประสบกับภาวะบีบคั้นและกดขี่ทารุณไม่ขาดสาย ไม่ว่าทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ หรือวัฒนธรรม…เรื่องแยกตัวเป็นสาธารณะรัฐอิสระ หรือเรื่องปกครองตนเองของชาวมลายูปัตตานี ไม่ใช่เรื่องสำคัญสำหรับเรา มันล้วนเป็นปัญหาการผ่อนคลายวิธีรวบอำนาจที่ส่วนกลางของจักรวรรดินิยม ไทย(เน้นโดยผู้เขียน)…การปกครองตนเองแบบ Autonomy จะหมายถึงการกดขี่ทั้งปวงหมดไปหรือลดน้อยลง คำตอบจะต้องมาจากประชาชนเอง…” จากบทสัมภาษณ์ดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มของเจ๊ะกูดิงเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีรัฐจินตนาการแบบ ประนีประนอม ไม่ได้มีเป้าหมายการต่อสู้เพื่อรัฐบูรณภาพแห่งดินแดนแต่ต้องการเพียงสิทธิ ของการดำรงอยู่ของชาติพันธุ์มลายู สิทธิในการกำหนดชีวิตของตนเองเท่านั้น ผู้เขียนเชื่อว่ายังไม่สายหากรัฐไทย “กล้าหาญ”พอที่จะยอมรับความจริงซึ่งเป็นความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายในอดีต และ “ใจกว้าง” ที่จะทำความตามต้องการความอิสระในการปกครองตนเองของชาวมลายูปาตานีในฐานะ พลเมืองของประเทศไทย

สรุป

ความ ขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากสำนึกร่วมกันของความเป็นมลายูปาตานีและรัฐจินตนาการ ร่วมกัน ผ่านกระบวนการรับรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์การเมืองปาตานี นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากการถูกกดขี่ ปิดกั้นทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อีกทั้งการกดทับการดำรงอยู่ของชาติพันธุ์มลายูปาตานี วิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวที่ดีต่อทั้งสองฝ่ายคือการเปิดให้มีพื้นที่รองรับ ความทรงจำ ความคิดร่วมกันของทุกฝ่ายด้วยทัศนคติที่ดีในฐานะพลเมืองไทยที่เท่าเทียมกัน

บรรณานุกรม

  • ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร.2551.ภาษากับการเมือง/ความเป็นเมือง.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  • เชษฐา พวกหัตถ์.2547.ปัญหาทวิลักษณ์ในทฤษฏีสังคม: โครงสร้างเป็นตัวกำหนด VS ผู้กระทำการเป็นตัว กำหนด.
  • วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ปีที่ 24 ฉบับที่ 3 2547).
  • เตช บุนนาค เขียน ภรณี กาญจนัษฐิติ แปล.2548.การปกครองระบบเทศาภิบาลของประเทศสยาม พ.ศ. 2435-2458 กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  • 2514.พระยาแขกเจ็ดหัวเมืองคบคิกขบถ ร.ศ.121,ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม.โครงการตำราสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์.
  • ธงชัย วินิจจะกูล เขียน พวงทอง ภวัครพันธุ์ แปล .2551.ภูมิกายาและประวัติศาสตร์.วารสารฟ้าเดียวกัน ฉบับพรมแดน แผนที่ ประวัติศาสตร์ ชาตินิยม (ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 2551)
  • นิธิ เอียวศรีวงศ์.2543.การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มติชน.
  • เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน เขียน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ บรรณาธิการแปล.2552.ชุมชนจินตกรรม: บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแผ่ขยายของชาตินิยม,กรุงเทพฯ:มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
  • ปิแยร์ บูร์ดิเยอร์ เขียน ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุข แปล นพพร ประชากุล บรรณาธิการ.2550.เศรษฐกิจของทรัพย์สินเชิงสัญลักษณ์.กรุงเทพฯ:โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
  • ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี.2552.เอกสารประกอบการบรรยายวิชาการปกครองและการจัดการความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
  • สายชล สัตยานุรักษ์.2548.การสร้างความเป็นไทยกระแสหลักและความจริงที่ความเป็นไทยสร้าง,วารสารฟ้าเดียวกัน ฉบับสถาบันกษัตริย์กับสังคมไทย (ปีที่3 ฉบับที่4 2548).
  • สมเกียรติ วันทะทะ เขียน สมบัติ จันทรวงศ์ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ บรรณาธิการ.2530.อยู่เมืองไทย รวมบทความทางสังคม การเมือง เพื่อเป็นเกียรติแด่ ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ในโอกาสอายุครบ 60 ปี.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  • อ.บางนรา นามแฝง.2551.ปัตตานี อดีต-ปัจจุบัน.เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการเรื่อง โลกของอิสลามและมุสลิมในอุษาคเนย์ วันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2551 โรงเรมทวินโลตัส นครศรีธรรมราช.
  • อิบรอฮีม ซุกรี .2543.Hikayat pattani(The story of pattani).สถาบันสมุทรรัฐ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
  • Kobkua Suwannathat-Pian.1988.Thai-Malay Relations:Traditional Intraregional Relations From The Seventeeth to the Twentieth CenturiesKuala Lamper:oxford University Press.

[1] นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

[2] ปาตานี หมายถึงอาณาจักรปาตานีในอดีต ขณะที่ปัตตานีหมายถึงจังหวัดปัตตานี

[3] งานศึกษาประวัติศาสตร์ปาตานีที่สำคัญ ได้แก่ ปาตานี ประวัติศาสตร์การเมืองในโลกมลายู โดย อารีฝีน บินจิ และคณะ (2550), Hikayat Pattani : Story of Pattani โดย A.Teeuw และ D.K. Wyatt ,ขบถ รศ. 121 โดย เตช บุนนาค (2551) ,ปัตตานี อดีต-ปัจจุบัน โดย อ.บางนรา (นามแฝง) ซึ่งตีพิมพ์หลายครั้งแล้ว สำหรับที่ผู้เขียนมีอยู่เป็นเอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการเรื่อง โลกของอิสลามและมุสลิมในอุษาคเนย์ วันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2551 โรงเรมทวินโลตัส นครศรีธรรมราช

[4] โปรดดูการวิเคราะห์วาทกรรมซึ่งเป็นการแสดงออกของความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจเจกบุคคล(Individual)กับสังคม(society) ในฐานะความสัมพันธ์ระหว่าง การกระทำ/ผู้กระทำการ (Action/Agency) ได้ใน เชษฐา พวกหัตถ์.2547.ปัญหาทวิลักษณ์ในทฤษฏีสังคม: โครงสร้างเป็นตัวกำหนด VS ผู้กระทำการเป็นตัวกำหนด.วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ปีที่ 24 ฉบับที่ 3 2547) หน้า 60-80

[5] ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี.2552.เอกสารปร