หน้าแรก ข่าวต่างประเทศ

ชาวมาเลเซียเรียกร้องให้แสดงจุดยืนต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า

ชาวมาเลเซียเรียกร้องให้เคลื่อนไหวเชิงรุกในการแสดงออกประท้วงต่อต้านการกดขี่และการสังหารโหดกับโรฮิงญาในพม่า

ผู้แทนพิเศษขององค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) พม่า Tan Sri ไซฮามิดอัลบาร์ กล่าวว่าเรื่องดังกล่าวถือเป็นสิ่งจำเป็นในการที่จะเรียกร้องไปยังรัฐบาลพม่ามีการรับรองความเป็นพลเมืองของชาวโรฮิงญา

นอกจากนี้เขายังได้เรียกร้องไปยังรัฐบาลพม่าว่า ให้มีการดำเนินคดีเอาผิดกับบุคคลที่ปลุกระดมเสี้ยมสอนความเกลียดชังต่อชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญาดังกล่าว

“เราปรารถนาอยากให้รัฐบาลพม่ารับรองสิทธิของชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์พม่าโรฮิงญา ซึ่งพวกเขามิสิทธิแฃะพวกเขาเคยได้รับการยอมรับจากประธานาธิบดีคนแรกของพม่าในในอดีตที่เป็นกลุ่มชาติพันธ์หนึ่งของประเทศ

“มาเลเซียได้ยึดมั่นถือมั่นในหลักสิทธิมนุษยชน เราไม่ต้องการให้เกิดขึ้นแม้แต่น้อยเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติไม่ว่าต่อชนกลุ่มใดก็ตาม ด้วยเหตุนี้เราต้องต่อต้านความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นต่อไปและ” เขากล่าว

เขาได้กล่าวเช่นนี้ในช่วงการชุมนุมเพื่อมนุษยธรรมชาวโรฮิงญา’PeduliUmmah-Pray 4 Rohingyaที่ลานอิสรภาพที่ชาห์อาลัม ที่มีรองประธานอูลามอฺโลก ดาโต๊ะ ศรี อับดุล ฮาดี อาวัง เดินทางเข้าร่วม

เชด ฮามิด ได้กล่าว่ามาเลเซียจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องร่วมกันต่อสู้เพื่อสิทธิของชาวโรฮิงญา เพื่อที่ว่าปัญหาการล่วงละเมิดในด้านสิทธิมนุษยชนในพม่านั้น จะสามารถคลี่คลายลงอย่างรวดเร็ว

ดูเหมือนว่ารัฐบาลพม่ามักจะมองชนกลุ่มน้อยในประเทศของตนด้วยท่าทีที่ต้อยต่ำไม่มีเกียรติ์ จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใดที่พวกเขาจะปฏิเสธสิทธิของความเป็นพลเมืองของชาวโรฮิงญาหลายแสนคนที่อาศัยอยู่ในพม่า

“เราจะมอบความยุติธรรม เราจะทำการรวบรวมหลักฐานเพื่อยื่นให้กับศาลระหว่างประเทศในคดีอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติที่มีต่อชาวโรฮิงญา” เขากล่าว

ขณะที่นายอับดุลฮาดี ได้อธิบายว่าการปราบปรามที่เกิดขึ้นกับชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญาในพม่า ถือเป็นความเศร้าโศกของพี่น้องมุสลิมทั่วโลก

“มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกันทางศาสนาจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกัน สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในพม่าเป็นสิ่งตรงข้ามกับหลักสิทธิมนุษยชน” เขาต้องการที่จะรวมตัวกันเพื่อจะจัดการกับปัญหาด้านมนุษยธรรมที่กำลังเกิดขึ้นในพม่าดังกล่าว

ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮิงญาถูกกดขี่และทำร้ายมาอย่างยาวนาน ที่เป็นเหตุให้พวกเขาต้องหาทางอพยพออกจากบ้านเกิดของพวกเขา เพื่อรักษาชีวิตและไม่อยากตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงที่ถูกกล่าวหาว่ากองทัพพม่ามีส่วนในการก่อเหตุ

ที่มา https://www.malaysiakini.com/news/367129?utm_source=dlvr.it&utm_medium=facebook