หน้าแรก ข่าวต่างประเทศ

รมว.ต่างประเทศอินโดฯ เรียกร้องให้พม่าคุ้มครองชนกลุ่มน้อยโรฮิงญา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย เรทนามาร์ซูดี ได้มีโอกาสพบกับผู้นำพม่า นาง ออง ซาน ซูจี ที่ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า ที่กรุงเนปิดอว์ เมื่อวันอังคารรที่ผ่านมา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย เรทนามาร์ซูดี ได้มีโอกาสพบกับผู้นำพม่า นาง ออง ซาน ซูจี ที่ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า ในการพบกันครั้งนี้ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย ได้รียกร้องให้ทางพม่าให้ความเคารพและให้การคุ้มครองในด้านสิทธิมนุษยชนของพลเมืองในรัฐยะไข่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนกลุ่มน้อยโรฮิงญา

“เป็นปัญหาร่วมกัน ที่สังคมต่างมิสิทธิและความรับผิดชอบร่วมกัน ที่เป็นกุญแจสำคัญในการที่จะคลี่คลายสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในรัฐยะไข่” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย เรทนา กล่าว ในช่วงที่มีการพบปะกับออง ซาน ซูจี ที่กรุงเนปิดอว์ ตามรายงานของกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย

ออง ซาน ซูจี มีความเห็นเหมือนกับท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย เรทนา เช่นกัน ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาในรัฐยะไข่

นับตั้งแต่หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีชาวโรฮิงญาไม่น้อยกว่า 10.000 คน ที่ต้องอพยพหนีไปยังบังคลาเทศ หลังจากที่ทางฝ่ายความมั่นคงของพม่าได้เปิดปฏิบัติการทางทหารในรัฐยะไข่ทางตอนเหนือของพม่า ที่เป็นที่อยู่อาศัยของชาวโรฮิงญามาอย่างยาวนาน

พวกเขาต่างได้รับความปวดร้าวจากความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การข่มขืน การฆาตกรรม และการเผาสถานที่อยู่อาศัย ที่กระทำโดยกองกำลังพม่า ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นการกุเรื่องที่ไม่ได้สอดคล้องกับความจริงที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้องค์กรที่ปกป้องสิทธิมนุษยชนฮิวแมนไรวอช์ ได้มีการเผยแพร่ภาพถ่ายทางดาวเทียม ที่แสดงให้เห็นว่ามีบ้านเรือนไม่น้อยกว่า 1.200 หลัง ได้หายสาบสูญ ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวมุสลิมโรฮิงญาในรัฐยะไข่

ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย เรทนามาร์ซูดี “ได้ให้คำปรึกษาแก่นางออง ซาน ซูจี ต่อปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในรัฐยะไข่”

ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย เรทนามาร์ซูดี ได้ยืนยันด้วยว่า ความสงบและสันติภาพมีความสำคัญยิ่งนักสำหรับความพยายามในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่

ชาวโรฮิงญาที่เป็นพลเมืองของพม่าได้อพยพหลบหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซียเอง และชาวโรฮิงญานับหมื่นคนปัจจุบันที่อยู่ที่อาเจะห์ และจะมีการย้ายไปยังเมืองเมดาน สุมาตราเหนือต่อไป
ชาวโรฮิงญาที่เป็นพลเมืองของพม่าได้อพยพหลบหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซียเอง และชาวโรฮิงญานับหมื่นคนปัจจุบันที่อยู่ที่อาเจะห์ และจะมีการย้ายไปยังเมืองเมดาน สุมาตราเหนือต่อไป

หนึ่งในความพยายามในการยกระดับความอะลุ่มอล่วยและการให้ความเคารพต่อชาวเมืองในรัฐยำข่ทางรั้ฐบาลอินโดนีเซียและพม่ามีความตกลงร่วมกันที่จะทำงานร่วมกันผ่านการสนทนาโดยใช้ศาสนา

ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย ยังกล่าวด้วยว่า อินโดนีเซียพร้อมให้ความช่วยเหลือพม่าในด้านการบริหารจัดการที่ดี ที่มีประชาธิปไตย และในด้านสิทธิมนุษยชน

ภาพที่แสดงให้เห็นความเสียหายของสภาพบ้านเรือนของชาวโรฮิงญาในประเทศพม่า

ไม่มีการชุมนุมใหญ่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา

อินโดนีเซียเห็นชอบที่จะให้มีการย่นระยะเวลาของการเดินทางเยือนของนางออง ซาน ซูจี ที่จะเดินทางไปยังกรุงจาการ์ตา

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่อินโดนีเซียให้ความสำคัญ

ซึ่งการร้องขอดังกล่าวเป็นที่ตอบรับโดยดีจากนางออง ซาน ซูจี “ทางรัฐบาลพม่าได้มีการเปิดประตูสำหรับหารส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากอินโดนีเซีย”

การชุมนุมประท้วงหน้าสถานทูตพม่าในกรุงจาการ์ต้าเกิดขึ้นสองครั้งติดต่อกันภายในระยะเวลาสองสัปดาห์
การชุมนุมประท้วงหน้าสถานทูตพม่าในกรุงจาการ์ต้าเกิดขึ้นสองครั้งติดต่อกันภายในระยะเวลาสองสัปดาห์

การชุมนุมประท้วงหน้าสถานทูตพม่าในกรุงจาการ์ต้าเกิดขึ้นสองครั้งติดต่อกันภายในระยะเวลาสองสัปดาห์ล่าสุด การชุมนุมดังกล่าวเพื่อประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลพม่ายุติการกดขี่ต่อชาวโรฮิงญา

หัวหน้ากลุ่มภาคประชาสังคมอินโดนีเซียเพื่อปกป้องชาวโรฮิงญา ยังได้เรียกร้องให้โจโกวีแสดงจุดยืนความห่วงใยต่อชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่

การปรากฏขึ้นของการชุมนุมดังกล่าวและต่อด้วยการประกาศยกเลิกกำหนดการเยือนอินโดนีเซียของนางออง ซาน ซูจี ที่แต่เดิมมีกำหนดการเดินทางในวันที่ 2-3 ธันวาคมที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามโฆษกกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับการชุมนุมแต่อย่างใด

“เกี่ยวกับเรื่องกำหนดการการเดินทางของนางออง ซาน ซุจี เมื่อวันที่ 2-3 ธันวาคม ที่ผ่านมา เป็นเพราะสถานการณ์ภายในประเทศพม่า เสมือนว่าการเดินทางเยือนในครั้งนี้ค่อนข้างมีความไม่เอื้ออำนวย” โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียกล่าว

ที่มา http://www.bbc.com/indonesia/indonesia-38231911?ocid=socialflow_facebook