ทางการพม่าได้ออกคำสั่งเพื่อสั่งห้ามประชาชนที่เป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงานออกไปขายแรงงานในประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย หลังจากที่ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศอยู่ในขั้นไม่สู้ดีนัก สืบเนื่องจากเหตุการณ์การสังหารชาวมุสลิมในรัฐยะไข่
มาตรการดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากที่ดาโต๊ะ ศรี นาจิบ ตนราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้มีการออกถ้อยแถลงต่อผู้นำพม่านางออง ซาน ซูจี อย่างเผ็ดร้อน เพราะว่า “ได้มีการอนุญาตให้มีการกวาดล้างชาติพันธุ์” ในรัฐยะไข่ เมื่อช่วงการชุมนุมเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ที่มีประชาชนเข้าร่วมหลายพันคน
ซึ่งการชุมนุมครั้งนี้มีขึ้นเพื่อเป็นการต่อต้านการใช้ความรุนแรงในรัฐยะไข่ ที่ทำให้ประชาชนชาวโรฮิงญาไม่ต่ำกว่า 20.000 คน ต้องอพยพหลบหนีไปยังบังคลาเทศ
ซึ่งบางคนที่หนีรอดปลอดภัยได้เปิดเผยกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า ชาวโรฮิงญาถูกข่มขืนกระทำชำเรา ถูกทรมาน และถูกฆ่าตายโดยกองกำลังความมั่นคงของพม่า ในขณะเดียวกันได้มีคนที่เสียชีวิตอีกหลายสิบคนในช่วงที่พยายามว่ายข้ามแม่น้ำที่แบ่งกั้นระหว่างพม่าและบังคลาเทศ
พม่าที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุธ ที่มีการเลือกปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญามาอย่างยาวนานมาแล้ว โดยที่ไม่มีการรับรองความเป็นพลเมืองของประเทศ และกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดนี้ ได้ทำให้มีการรณรงค์ต่อต้านในประเทศมุสลิมทั่วโลก รวมถึงมาเลเซีย
“ผมขอเรียนไปยัง ออง ซาน ซูจี ว่า จนถึงขณะนี้ เราจำเป็นที่จะต้องปกป้องชาวมุสลิมและอิสลาม โลกไม่อาจที่จะนิ่งเฉยและเฝ้ามองการเข่นฆ่ากันเช่นนี้ได้อีกต่อไป” นาจิบกล่าวอย่างเผ็ดร้อน ท่ามกลางฝูงชนกว่า 5.000 คน ที่เข้าร่วมในครั้งนี้
ในขณะที่รัฐมนตรีมาเลเซียท่านหนึ่งได้เรียกร้องให้ความเป็นสมาชิกภาพของพม่าในกลุ่มอาเซียนให้มีการพิจารณายับยั้ง
ทางด้านเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพม่ากล่าวว่า ทางการพม่าได้แสดงความไม่เห็นด้วยในการก้าวก่ายอำนาจ และนาง ออง ซาน ซูจี เองได้ออกมาเรียกร้องให้นานาชาติอย่าได้โหมกระพือสถานการณ์ให้ดูยิง่มีความรุนแรง
ยกเลิกบัตรอนุญาติทำงานต่างแดนรายใหม่สำหรับผู้ที่จะไปทำงานในมาเลเซีย
ในขณะเดียวกัน ทางด้านรัฐมนตรีศุลกากรพม่าได้ออกมาเปิดเผยว่า ตอนนี้ทางการพม่าได้มีการยุติการออกใบอนุญาติทำงานสำหรับชาวพม่าที่จะออกไปทำงานในมาเลเซียเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหลายปีมานี้ถือเป็นตลาดแรงงานสำคัญของพม่าเลยทีเดียวสำหรับชาวต่างชาติ
“ในเบื้องต้นพม่าได้มีการยุติการส่งแรงงานเข้าไปยังประเทศมาเลเซีย นับตั้งแต่วันที่ 6/12/16 เป็นต้นไป อันเนื่องมาจากสถานการณ์ในประเทศมาเลเซีย ณ ตอนนี้”
ในขณะที่ปัจจุบันรัฐบาลมาเลเซียได้ขฃจ้างแรงงานชาวพม่าหลายหมื่นคน ซึ่งส่วนใหญ่เข้ามาทำงานในอาชีพที่มีรายได้ต่ำ ที่งในโรงงาน ในอุตสาหกรรมอาหาร และการประมง
ตามข้อมูลรัฐบาลมาเลเซียกล่าวว่า มีชาวโรฮิงญาที่หลบหนีเข้ามายังประเทศมาเลเซียไม่ต่ำกว่า 56.000 คน ในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปีกลังมานี้ และส่วนใหญ่ยอมที่จะเดินทางด้วยเรือที่เต็มไปด้วยอันตราย เพื่อหลับหนีจากความแร้นแค้นและการเลือกปฏิบัติในรัฐยะไข่