หน้าแรก ข่าวต่างประเทศ

มาเลเซียกำลังพิจารณาถอนตัวจากการแข่งขันเอเอฟเอฟ 2016 เพื่อประท้างรัฐบาลพม่า

เจ้าภาพพม่าที่อยู่ในสายเดียวกับมาเลเซีย ที่มีกำหนดจะลงเตะที่ยะล่อนในวันเสาร์ที่จะถึงนี้ ภาพ EPA/NYEIN CHAN NAING

BBC – มาเลเซียกำลังพิจารณาที่จะขอถอนตัวในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยในรายการเอเอฟเอฟ ที่จะทำการแข่งขันในประเทศพม่าและฟิลิปปินส์ในรอบแบ่งกลุ่มที่จะถึงนี้

มาตรการดังกล่าวถือเป็นปฏิกิริยาของรัฐบาลมาเลเซียล่าสุด ที่มีต่อการกวาดล้างของทหารพม่าต่อพี่น้องชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่

ซึ่งในรอบแบ่งกลุ่มการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยเอเอฟเอฟ 2016 ที่ได้เริ่มการแข่งขันเมื่อวันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และจะสิ้นสุดลงในวันที่ 17 ธันวาคม ที่จะถึงนี้

ในช่วงที่ผู้สื่อข่าวได้พยายามติดต่อไปยังรัฐมนตรีเยาวชนและกีฬาของมาเลเซีย คอยรี ญามาลุดดีน ซึ่งเขายังไม่พร้อให้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้

“ผมไม่ต้องการพูดใดๆ กับท่าน การตัดสินยังต้องรอมติในที่ประชุม” เขากล่าวสั้นๆ ก่อนจะวางสายลง

อย่างไรก็ตามตามที่ได้รับรายงานจากผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า เขายังยืนยันว่ามติสุดท้ายจะรอคำตอบจากทางคณะรัฐมนตรีในวันศุกร์นี้ (25/11/2559)

“หลังจากก่อนหน้านี้เราได้ทราบกันดีว่าพม่าจะเป็นเจ้าภาพ และการพิจารณาครั้งนี้ก็เนื่องจากว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่ ที่เผยให้เห็นว่าการกวาดล้างชาติพันธุ์อย่างชัดเจน” ญามาลุดดีนกล่าว
“ถึงแม้มติการตัดสินจะเป็นเช่นใด แต่เราจะต้องยกระดับปัญหาเหล่านี้”

ภาพจากดาวเทียมที่ให้เห็นการเผาทำลายบ้านเรือนของประชาชนมุสลิมโรฮิงญาในรัฐยะไข่ ภาพ เอพี
ภาพจากดาวเทียมที่ให้เห็นการเผาทำลายบ้านเรือนของประชาชนมุสลิมโรฮิงญาในรัฐยะไข่ ภาพ เอพี

ความรุนแรงในรัฐยะไข่

พม่ามีกำหนดการจะลงแข่งขันกับมาเลเซียในกลุ่มบีในวันเสาร์นี้ (26/11) ที่สนามกีฬาทูวันนาที่ยะง่อน
และหากว่ามาเลเซียมีการถอนตัวจากการแข่งขันในครั้งนี้จริง แน่นอนมันจะมีความย้อนแย้งกับกฎบัตรอาเซียนที่ไม่มีการก้าวก่ายปัญหาภายในของประเทศสมาชิก

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่ของพม่า ได้ทำให้พี่น้องชาวมุสลิมโรฮิงญาต้องอพยพไปยังประเทศต่างๆ และส่วนหนึ่งไปขึ้นฝั่งที่อินโดนีเซียเพื่อการเดินทางไปยังประเทศปลายทางต่อไป

เมื่อเดือนที่แล้วปฏิบัติการทางทหารมนรัฐยะไข่ได้เริ่มขึ้น หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจถูกสังหารจำนวนเก้านายที่ฐานตามแนวชายแดนที่เมืองเมียวดาว

ทั้งนี้ทางรัฐบาลพม่าได้กล่าวหาว่ากองกำลังติดอาวุธชาวโรฮิงญาเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในเหตุการณ์ดังกล่าว ที่ต่อมาได้เกิดเหตุการณ์การสู้รบกันทำให้มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 100 คน และถูกจับกุมหลายร้อยคน ตามการรายงานของนักเคลื่อนไหวชาวโรฮิงญา