BBC – หลังจากที่ผู้อพยพชาวโรฮิงญาได้อพยพขึ้นฝั่งอยู่ในจังหวัดอาเจะห์เป็นเวลากว่าหนึ่งปี กลุ่มผู้อพยพชาวโรฮิงญาอาจถูกส่งกระจายเพื่อไปยังในที่ต่างๆ ของอินโดนีเซีย ไม่ว่าจะเป็นที่เมืองเมดาน สุมาตราเหนือ ซึ่งที่นั่นพวกเขาจะต้องเข้าสู่กระบวนการการเตรียมความพร้อมที่จะถูกส่งไปยังประเทศที่สามต่อไป ซึ่งหนึ่งในนั้นคืออเมริกา
ทางด้านหัวหน้าศุลกากรประดำด่านตรวจคนเข้าเมืองลังซา เฟาซี ยูโซฟ กล่าวว่า ตอนนี้มีชาวโรฮิงญาประมาณ 35 คน ที่อาศัยอยู่ในค่ายอพยพที่เมืองบาเยน ทางภาคตะวันออกของอาเจะห์ และยังมีที่ค่ายอพยพที่บลันอาโดวอีกประมาณ 25 คน ทางภาคเหนือของอาเจะห์
ซึ่งรวมทั้งสิ้นประมาณ 60 คน ที่จะถูกเคลื่อนย้ายไปยังเมืองเมดาน เพื่อสมทบกับผู้อพยพชาวโรฮิงญาที่มีอยู่ก่อนหน้านั้นประมาณ 77 คน ที่ถูกเคลื่อนย้ายมาก่อนหน้านี้เมื่อช่วงเดือนกรกฏาคม 2015 ที่ผ่านมา โดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแห่งชาติและหน่วยงานสหประชาชาติเป็นผู้ดำเนินการ
“พวกเขาจะเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบและเงื่อนไขอื่นๆ ก่อนที่พวกเขาจะเดินทางไปยังประเทศที่สามต่อไป” รองผู้ว่าราชการจังหวัดอาเจะห์ตะวันออก อุสมาน อับดุลเราะห์มาน กล่าว
สหรัฐฯ คือหนึ่งในประเทศปลายทาง
มีประเทศที่สามบางประเทศที่พร้อมจะเปิดรับเหล่าผู้อพยพชาวโรฮิงญาเหล่านั้น แต่อุสมาน กล่าวเพียงประเทศอเมริกาเท่านั้นที่เป็นหนึ่งในปลายทางของพวกเขาต่อไป
หลังจากที่กลุ่มผู้อพยพชาวโรฮิงญาถูกเคลื่อนย้ายไปยังเมืองเมดานแล้ว หัวหน้าศุลกากรประดำด่านตรวจคนเข้าเมืองลังซา เฟาซี ยูโซฟ กล่าวว่า ศูนย์ดูแลผู้อพยพที่อาเจะห์ทุกศูนย์จะถูกปิดลง
ซึ่งก่อนสิ้นปี 2016 นี้ ศูนย์ดูแลผู้อพยพชาวโรฮิงญาในอาจะห์ทุกศูนย์จะถูกปิดลง ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ทางภาคเหนือ ทางภาคตะวันออก หรือที่เมืองลังซา เฟาซี กล่าว
ขั้นตอนการเคลื่อนย้ายกลุ่มอพยพชาวโรฮิงญาเหล่านี้ จะมีการดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
“การเคลื่อนย้ายชาวโรฮิงญาไปยังสุมาตราเหนือนั้น จะส่งไปก็ต่อเมื่อทางผู้มีอำนาจในเมืองเมดานนั้นมีความพร้อมที่จะรับดูแลชาวโรฮิงญาเหล่านี้เป็นระยะเวลากว่าหกเดือน จนกว่ากระบวนการตรวจสอบจะเสร็จสิ้นโดยตัวแทนของแต่ละประเทศที่จะรับไปยังประเทศของตน” อัลเบต กล่าว
ปฏิเสธที่จะกลับไปยังพม่า
อูมัร (22 ปี) หนึ่งในผู้อพยพชาวโรฮิงญาที่อาศัยอยู่ในค่ายอพยพที่บาเยนในอาเจะห์เหนือ ได้กล่าวยอมรับว่าพร้อมที่จะไปทุกๆ ที่ไม่ว่าประเทศไหนก็ตาม ขอเพียงว่าไม่ใช่ประเทศพม่าเท่านั้น
“ผมไม่ต้องการกลับไปยังประเทศพม่าอีก เพราะหากว่าทีการส่งตัวผมกลับไปยังประเทศพม่า คงไม่ต่างอะไรกับการฆ่าผม ผมไม่ถูกยอมรับเป็นประชากรของประเทศ และมักจะได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมมาโดยตลอด” อูมัร กล่าว
อูมัร กล่าวอีกว่า สำหรับข่าวคราวที่ได้รับจากพี่น้องของเขาที่ยังอยู่ในประเทศพม่า ยังคงถูกขับไล่โดยกองทัพพม่าอย่างต่อเนื่อง
“ผมค่อนข้างมีความปวดร้าวมากที่อยู่ในพม่า จนทำให้พวกเราต้องเดินทางหนีกับเรือจนมาขึ้นฝั่งที่อาเจะห์”
เขายังกล่าวอีกว่า ส่วนใหญ่ที่อพยพเข้ามาในอาเจะห์ ที่เข้าไปอยู่ศูนย์อพยพต่างๆ สิ่งที่พวกเขากังวลมากก็คือ กลัวจะถูกส่งไปยังประเทศพม่าอีกครั้ง
“เพราะหากว่าส่งกลับไปยังพม่า พวกเขาคงต้องตาย จนทำให้พวกเขาต้องเลือกเดินทางไปยังมาเลเซีย”
เมื่อเดือนเมษายน 2015 ชาวโรฮิงญานับร้อยคนได้ลอยขึ้นฝั่งที่อาเจะห์ พวกเขาถูกส่งไปยังที่ต่างๆ ในอาเจะห์ ด้วยการอำนวยความสะดวกของทางการอินโดนีเซีย ศูนย์ตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานผู้อพยพลี้ภัยแห่งสหประชาชาติร่วมกันดำเนินการ
แต่ยังไม่ถึงหนึ่งปีที่พวกเขาได้อยู่ในอาเจะห์ สุดท้ายบางส่วนของพวกเขาได้หนีไปยังประเทศมาเลเซียอีกครั้ง เพราะกังวลว่าอาจจะถูกส่งกลับไปยังพม่า