ผู้นำมุสลิมและอูลามาอ์จาก 30 กว่าประเทศมุสลิมกว่า 500 คน ได้มีการรวมตัวกันครั้งใหญ่ที่กรุงอิสตันบูลประเทศตุรกี ที่ได้ออกมาส่งสัญญาณเตือนถึงมัสยิดสำคัญแห่งที่สามของชาวมุสลิมทั้งโลก คือ มัสยิดอัล อักซอ กำลังตกอยู่ในสภาวะอันตราย
ทั้งนี้พวกเขาเหล่านี้ยังประกอบไปด้วยคนที่เป็นตัวแทนขององค์เอกชนที่ไม่แสวงหากำไรอีกด้วย ตลอดจนที่มาเป็นตัวแทนจากพรรคการเมืองต่างๆ ที่มีการรวมตัวกันในการประชุมผู้นำชาติมุสลิมครั้งที่ 8 ที่มีการประชุมในหัวข้อ “มัสยิดอัล อักซอ กำลังตกอยู่ในสภาวะอันตราย” ซึ่งสนับสนุนการจัดเสวนาโดย ศูนย์ประสานงานความสัมพันธ์อาหรับและตุรกี
เลขาธิการพรรคเพื่อความยุติธรรมและการพัฒนาของตุรกี นายยาซีน อักเตย์ กล่าวว่า มัสยิดอัล อักซอ กำลังตกอยู่ในสภาวะอันตราย ซึ่งยังรวมไปถึงผู้คนก็ตกอยู่อันตรายอีกด้วย
“อัลกุดซ์(เยรูซาเล็ม) ได้ให้ตัวอย่างแก่เราเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของคนต่างสำนักคิด(มัซฮับ) ได้ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสงบและสันติอย่างไร” เขากล่าวในช่วงหนึ่งที่เปิดการประชุมดังกล่าว
ในขณะเดียวกันทางประธานสหพันธ์ความเคลื่อนไหวเพื่อสันติแห่งแอลจีเรีย อับดุลรอซัค มักรี กล่าวว่า ประเทศมุสลิมต่างๆ ไม่อาจที่จะได้รับชัยชนะได้ หากไม่ได้มีการสนับสนุนปาเลสไตน์และมัวแต่โยนความผิดให้กับชาติอื่น ที่ไม่อยากให้มีประชาชาติมุสลิมมีความเป็นปึกแผ่นและอันหนึ่งอันเดียว
“ด้วยเหตุนี้ เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องร่วมมือกันเป็นหนึ่งในการสนับสนุนปกป้องมัสยิดอัลกุดซ์” เขากล่าว
เมื่อปีที่แล้ว ทางอิสราเอลได้มีการสั่งห้ามชายหนุ่มที่อายุต่ำกว่า 50 ปี เขาไปยังบริเวณมัสยิดดังกล่าว ภายหลังจากที่ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบที่เยรูซาเล็มและฉนวนกาซ่า
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นดังกล่าว เกิดขึ้นเพราะว่าประชาชนชาวปาเลสไตน์ไม่มีความพอใจกับจำนวนประชากรของยิวที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในบริเวณอัลกุดซ์ ซึ่งในทัศนะของคนยิวแล้วสถานที่ดังกล่าวคือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขา (Temple Mount)
ไม่เพียงแต่ความตึงเครียดที่มีสาเหตุมาจากการที่ถูกสกัดกั้นไม่ให้เข้าไปยังมัสยิดอัลกุดซ์เท่านั้นเพียงอย่างเดียวเท่านั้นไม่ แต่ยังเกิดความรุนแรงต่อชาวปาเลสไตน์อีกด้วย ที่อย่างน้อยมีจำนวน 235 คน ที่ถูกฆ่าตายโดยน้ำมือของทหารไซออนิสต์
“ท่านคงอาจจะทราบกันดีว่า ความพยายามในการก่อการรัฐประหารที่ประสบความล้มเหลวในประเทศตุรกีนั้น ก็เพื่อต้องการที่จะบั่นทอนความมีเสถียรภาพของรัฐบาลดังกล่าว ที่ในฐานะตุรกีถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีบทบาทต่อปัญหาปาเลสไตน์อย่างแข็งขัน ซึ่งปรากฏการณ์การก่อรัฐประหารดังกล่าว ก็เพื่อเป็นการยับยั้งบทบาทของตุรกีที่มีต่อปาเลสไตน์เท่านั้น” เขากล่าว
ทางด้านอดีตท่านรัฐมนตรีสื่อสารของอียิปต์ในช่วงรัฐบาลประธานาธิบดีมูฮัมหมัด มอร์ซี่ ซาลาฮ์ อับเดลมักซูด ได้กล่าวว่า ชาวตุรกีที่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในความพยายามก่อรัฐประหารดังกล่าวที่นำโดยกองทัพกลุ่มหนึ่ง พวกเขามีความปรารถนาที่จะโดดเดี่ยวรัฐปาเลสไตน์
ในขณะเดียวกันทางแกนนำพรรคอิควานุลมุสลีมีนในซีเรีย มูฮัมหมัด วาลีด ได้กล่าวว่า เขาได้ส่งสาสน์ดังกล่าวในฐานะตัวแทนจากพรรคฝ่ายค้านเพื่อส่งไปยังรัฐบาลรัสเซียอีกด้วย
“เราไม่ได้เข้าไปในประเทศดังกล่าวเพื่อต้องการเข่นฆ่าท่าน แต่ว่าท่านเข้ามาในประเทศของเราเพื่อเข่นฆ่าลูกหลานของเรา ลูกเมียของเรา และทำลายบ้านเรือน และประวัติศาสตร์ของพวกเรา”
“เราก็รู้ว่าท่านคือผู้รุกราน พวกท่านปรารถนาจรวด กระสุนนำวิถีที่มีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพ เรารู้ว่าพวกท่านนั้นเป็นพวกที่ขี้ขลาดตาขาวแห่งประวัติศาสตร์” เขากล่าว