หน้าแรก ข่าวต่างประเทศ

กลุ่มสิทธิมนุษยชนเรียกร้องรัฐบาลพม่า เพื่อเปิดทางให้ต่างชาติส่งความช่วยเหลือไปยังโรฮิงญา

ทางรัฐบาลพม่าได้ส่งกองกำลังลงไปยังเขตรัฐยะไข่เพิ่มมากขึ้น หลังจากได้เกิดเหตุการณ์การโจมตีฐานทหาร เอเอฟพี

กลุ่มที่เคลื่อนไหวในด้านสิทธิมนุษยชน ได้ออกมาเรียกร้องรัฐบาลพม่าให้มีการเปิดช่องทางและอนุญาตให้องค์กรการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สามารถเข้าไปหรือส่งความช่วยเหลือปัจจัยความจำเป็นไปยังพื้นที่ของรัฐยะไข่ทางด้านทิศเหนือของประเทศได้

การเรียกร้องดังกล่าวแถลงโดยองค์กรแอมเนสระหว่างประเทศและองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

ซึ่งกลุ่มองค์ดังกล่าวได้เรียกไปยังรัฐบาลพม่าเพื่อให้มีการเปิดช่องทางที่มีความสะดวกมากไปกว่านี้ ที่สามารถที่จะให้การส่งความช่วยเหลือเข้าถึงไปยังประชาชนชาวโรฮิงญาและกลุ่มคนอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ดังกล่าว

ตามการรายงานของสหประชาชาติพบว่า มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 50.000 คน ประชาชนที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือทางด้านโภชนาการ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ได้มีการวางแผนเตรียมการไว้หมดแล้ว

ในขณะเดียวกัน ยังพบว่ายังมีประชาชนอีกมากที่ยังไม่ได้รับการบริการทางด้านสุขภาพในขั้นพื้นฐาน

สถานการณ์ความตึงเครียดดังกล่าวนี้เกิดขึ้นภายหลังจากที่บริเวณพื้นที่โดยรอบของเมืองเมียวดี เมืองในรัฐยะไข่ใกล้กับชายแดนระหว่างพม่ากับบังคลาเทศถูกประกาศปิดฃายแดนโดยเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง เนื่องด้วยเกิดเหตุการณ์การลอบโจมตีฐานทหารเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (09/10) ซึ่งในครั้งนั้นทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิตไปเก้านาย

ความตึงเครียด

นับตั้งแต่ที่ได้เกิดเหตุการณ์การปฏิบัติการทางทหารได้มีรายงานว่า อย่างน้อยมีชาวโรฮิงญาอย่างน้อย 30 คน ที่เสียชีวิตลง ที่ถือเป็นชาวมุสลิมชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่า

แต่เนื่องจากผู้สื่อข่าวถูกห้ามมิให้มีการรายงานข่าวในพื้นที่ดังกล่าว ทำให้ไม่สามารถที่จะรับรู้ข้อมูลที่ชัดเจนได้ว่ามีชาวมุสลิมโรฮิงญาเสียชีวิตทั้งหมดเป็นจำนวนเท่าไหร่

ทางด้านเจ้าหน้าที่รัฐบาลได้กล่าวหาชาวมุสลิมโรฮิงญาคือผู้ที่อยู่เบื้องหลังปฏิบัติการสังหารที่ทำให้ตำรวจเสียชีวิตไปทั้งหมดเก้านาย

รัฐยะไข่ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศพม่า ได้ประสบกับความตึงเครียดระหว่างคนสองศาสนาพุทธและมุสลิมที่เป็นชนกลุ่มน้อยมาอย่างต่อเนื่อง ที่ส่วนใหญ่แล้วเป็นชาวมุสลิม

และทางด้านกลุ่มพุทธสุดโต่งถือว่าชาวโรฮิงญานั้น ที่มีจำนวนเรือนล้านคนดังกล่าว ถือเป็นกลุ่มคนที่อพยพเข้ามาจากบังคลาเทศ ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่ของพวกเขาขะอาศัยอยู่ในประเทศพม่าอยู่ก่อนนับตั้งแต่บรรพบุรุษแล้วก็ตาม

อย่างไรก็ตามทางด้านรัฐบาลพม่าจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการยอมรับสถานะของความเป็นพลเมืองของพวกเขาแต่อย่างใด ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ชาวโรฮิงญาบางส่วนต้องอพยพหนีออกจากพม่าไปยังประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย และอินโดนีเซีย

http://www.bbc.com/indonesia/dunia/2016/10/161021_dunia_myanmar_rakhine?ocid=socialflow_facebook