
ชิมอน เปเรส ถือเป็นนักการเมืองของอิสราเอลคนหนึ่งที่มีความสำคัญ นับตั้งแต่รัฐยิวสมัยใหม่อย่างประเทศอิสราเอลถูกสถาปนาขึ้น
เขาเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเกือบทุกตำแหน่งของรัฐบาลอิสราเอล รวมไปถึงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีอีกด้วย ถึงแม้ว่าพรรคการเมืองของเขาจะไม่เคยได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งทั่วไปก็ตาม
ชิมอน เปเรส เกิดที่เมืองวีสนิวของโปแลนด์ (ปัจจุบันอยู่ในเบลารุส) เมื่อวันที่ 2 ในเดือรสิงหาคม เกิดในครอบครัวนักธุรกิจค้าไม้ ซึ่งพ่อแม่ของเขาเองไม่ได้นับถือศาสนายิวนิกายออโทดอกแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ชิมอน เปเรส ได้รับการศึกษาทางด้านกฏหมายของศาสนายิว และการอรรถาธิบายจากปู่ของเขา ก่อนที่จะกลายเป็นผู้นับถือศาสนายิวในที่สุด
และในปี 1934 ครอบครัวของเขาได้อพยพย้ายถิ่นไปยังดินดนปาเลสไตน์ ซึ่งในตอนนั้นยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐท้องถิ่นของอังกฤษ และได้ตั้งรกรากที่เมืองเทลอาวีฟ

หลังจากที่เขาได้จบจากโรงเรียนด้านการเกษตร ชิมอน เปเรส ได้เข้าทำงานเกี่ยวกับด้านการเกษตรเช่นเดียวกัน และช่วงนี้เองทำให้เขาเริ่มเข้าสู่แวดวงการเมืองเมื่ออายุได้ 18 ปี ในฐานะที่ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมาธิการของกลุ่มแรงงานไซออนิสต์
เป็นตัวแทนรัฐมนตรีกลาโหม
เมื่อปี 1947 นายกรัฐมนตรีคนแรกของอิสราเอล นายเดวิด เบนกูเรียน เขาได้รับมอบหมายให้ดูแลในด้านทรัพยากรบุคคลและด้านการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์
ซึ่งต่อมาได้บรรลุข้อตกลงความร่วมมือกับชาติฝรั่งเศส ในการนำเข้าเครื่องบินรบมิราจให้กับชาติที่เพิ่งก่อตั้งมาได้ไม่นาน และยังได้ก่อสร้างโรงงานลับผลิตอาวุธนิวเคลียร์ที่เมืองดีโมนาของอิสราเอล
ทั้งนี้ ชิมอน เปเรส ยังได้รับการคัดเลือกให้เข้าสู่รัฐสภาของอิสราเอลเมื่อปี 1959 โดยการสมัครภายใต้พรรคของกลุ่มแรงงานของอิสราเอลเป็นผู้สนับสนุน และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนรัฐมนตรีกลาโหมอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม เขาได้ลาออกอันเนื่องมาจากการที่ถูกกล่าวหามีส่วนในคดีที่เกี่ยวกับแผนการร้าย ซึ่งเป็นแผนการที่จะทำลายเป้าหมายที่เป็นของรัฐบาลอังกฤษและสหรัฐอเมริกาที่ตั้งอยู่ในประเทศอิยิปต์เมื่อปี 1954 เพื่อเป็นกุศโลบายที่จะดึงกองกำลังอังกฤษเพื่อไม่ให้ถอนทหารออกจาคาบสมุทรซีนาย
จากการสืบสวนย้อนหลังก่อนหน้านี้ ได้เห็นถึงความไม่ลงรอยกันของพยานที่ให้ปากคำ จนในที่สุดทำให้ เปเรส และ เบนกูเรียน ได้ลาออกจากพรรคการเมืองเดิม แล้วจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่
ในช่วงที่โกลด้า แมร์ นายกรัฐมนตรีของอิสราเอล ณ ขณะนั้น ได้ลาออกจากตำแหน่งในปี 1974 ภายหลังสิ้นสงครามยมคิปปูร์ ช่วงนี้เอง เปเรสได้ลงชิงชัยในตำแหน่งดังกล่าว แต่ต้องพ่ายแพ้ให้กับราบินในที่สุด
สามปีต่อมา ยิซซาก ราบิน ได้ลงจากตำแหน่งจากหัวหน้าพรรค เพราะมีเรื่องอื้อฉาวกับภริยาของเขา แต่ด้วยกฏหมายการสอบสวนของอิสราเอลที่มีความละเอียดอ่อน ทำให้เขาไม่สามารถลาดำเนินการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้
ด้วยเหตุนี้นายเปเรส ในฐานะเป็นหัวหน้าพรรค จึงได้ทำหน้าที่ในฐานะรักษาการณ์แทนนายกรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการ และไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้เนื่องจากพ่ายแพ้ต่อคู่แข๋งเช่นเคย
จากนั้นเขาต้องผิดหวังในการเลือกตั้งทุกครั้งถึงห้าครั้งด้วยกัน ถึงแม้ว่าเขาจะได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายๆ กระทรวงในรัฐบาลก็ตาม
ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
เมื่อปี 1992 เขาเองยังต้องพ่ายแพ้เช่นเดิมในการชิงชัยหัวหน้าพรรคแรงงาน เพราะว่าพ่ายแพ้ในรอบแรกให้กับราบิน แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงการบริหารของนายกรัฐมนตรีราบินเอง เขาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ในตำแหน่งดังกล่าว เขายังได้ดำเนินการเจรจาแบบลับๆ กับนายยัสเซอร์ อาราฟัต และองค์กรเพื่อการปลดปล่อยปาเวสไตน์อยู่บ่อยครั้ง ที่นำมาซึ่งการบรรลุข้อตกสันติภาพออสลีในปี 1993

ด้วยข้อตกลงดังกล่าว ถือเป็นครั้งแรกภายใต้การพยายามของเขา ที่ทำให้ปาเลสไตน์ได้ให้การยอมรับถึงการมีอยู่ของรัฐอิสราเอลนับแต่นั้นมา
หนึ่งปีต่อจากนั้น เขาพร้อมด้วย ยิซซาก ราบิน และยัสเซอร์ อาราฟัต ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
หลังจากการลอบสังหารนายราบินเมื่อปี 1995 ในที่สุด เปเรส ได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอิสราเอล แต่ไม่ถึงหนึ่งปีเขาต้องพ่ายแพ้ต่อนายเบนจามิน เนทันยาฮู
มีโอกาสได้เป็นประธานาธิบดี
เมื่อปี 2000 เปเรส ยังต้องพ่ายแพ้ในการชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีของอิสราเอล ครั้งนี้ต้องพ่ายแพ้ให้กับมอชีร์ กัตซาว
ในขณะที่พรรคแรงงานได้กลับมาพ่ายแพ้อีกครั้งในปี 2002 เปเรส ได้นำพรรคแรงงานไปทำความสัมพันธ์กับพรรคลีกูด และในที่สุดเขาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีอาเรียล ชารอน
สามปีต่อจากนั้น เขาได้ประกาศลาออกจากพรรคแรงงาน และให้การสนับสนุนนาย อาเรียล ชารอน ที่ได้ออกมาจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ กาดิมา

และในที่สุดเมื่อปี 2007 เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีก่อนที่จะลาออกจากตำแหน่ง และเขาถูกบันทึกเป็นสมาชิกรัฐสภาของอิสราเอลที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของอิสราเอล
เปเรส ซึ่งก่อนหน้านี้ ให้การสนับสนุนการไปตั้งถิ่นฐานของชาวยิวในดินแดนของปาเลสไตน์บริเวณฉนวนกาซา ซึ่งต่อมาเขาได้กลายมาเป็นนักเคลื่อนไหวด้านสันติภาพ ที่ได้เน้นหนักไปที่การประนีประนอมที่เกี่ยวกับบริเวณที่มีปัญหาของปาเลสไตน์
“ชาวปาเลสไตน์คือเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดของฉัน” เขาได้กล่าวไว้ในช่วงหนึ่ง “ฉันมั่นใจว่าพวกเขาอาจเป็นมิตรที่ใกล้ชิดของฉัน”