หน้าแรก ข่าวต่างประเทศ

กลุ่มสิทธิมนุษยชนในพม่าเรียกร้องให้มีการตรวจสอบการเสียชีวิตของสาวโรฮิงญา

ภาพผู้นำพม่า นางออง ซาน ซุจี ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมสันติภาพทศวรรษที่ 21 ภาพ AP/Aung Shine Oo

berita – กลุ่มที่เคลื่อนไหวทางด้านมนุษยชนในพม่าได้ออกมาเรียกร้องทางการรัฐบาลพม่าทำการตรวจสอบการเสียชีวิตของผู้หญิงชาวมุสลิมโรฮิงญา ที่เป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกกดขี่ในประเทศดังกล่าว

หญิงสาวดังกล่าวได้เสียชีวิตลงโดยถูกพบในสภาพเปลือยกายอยู่ไม่ห่างจากฐานทหารมากนัก

หญิงผู้เสียชีวิตดังกล่าวต่อมาทราบชื่อว่า ราซูนา อายุ 25 ปี ถูกพบเสียชีวิตอยู่ริมทางหลวงใกล้กับอาณาเขตของทหารที่เมืองเซตเวย์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐยะไข่ของพม่า ตามการรายงานของนักสิทธิมนุษยชนแอมเนสตี้

เธอได้หายตัวไปอย่างลึกลับในระหว่างเดินทางไปในพื้นที่ที่มีประชากรชาวโรฮิงญาอาศัยอยู่กว่า 100,000 คนในศูนย์พักพิงที่จัดตั้งขึ้มานับตั้งแต่เมืองเซตเวย์ได้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้นเมื่อปี 2012 ตามการรายงานของแอมเนสตี้เมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา

กลุ่มที่อพยพส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาวมุสลิมโรฮิงญา เป็นกลุ่มที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกลุ่มผู้อพยพมาจากประเทศบังคลาเทศอย่างผิดกฏหมาย

พวกเขาถูกกีดขวางในการเดินทางไปมาและสวัสดิการทางดฃการศึกษาและสาธารสุขจะไม่ได้รับการคุ้มครอง

HlaMyint ผู้นำชาวโรฮิงญาคนหนึ่ง เปิดเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า เขาได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ทหารหน่วยหนึ่งว่า ให้นำตัวราซูนาที่ไม่ได้สติกลับไปเมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา

“ตอนนั้นเธอยังมีลมหายใจอยู่ในช่วงที่ผมได้ดู แต่เธอนอนแผ่ราบกับพื้นในสภาพที่ไม่มีเสื้อผ้าใส่ (นอกจากชุดชั้นใน) ก่อนที่จะมีถูกคลุมด้วยผืนผ้าอีกครั้ง” HlaMyint กล่าว

เธอถูกนำตัวส่งไปยังคลีนิกแห่งหนึ่ง จากการตรวจสอบพบว่ามีรอยช่ำบริเวณต้นคอและมีรอยเลือดที่อวัยวะเพศของเธอ HlaMyint กล่าวเสริม

เธอได้เสียชีวิตลงในช่วงเย็นของวันดังกล่าวเช่นกัน

ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของชนกลุ่มน้อยและบรรดานักเคลื่อนไหวด้านสทธิมนุษยชนได้ดำเนินการต่อสู้กับรัฐบาลพม่ามาเป็นระยะเวลาหลายปี ที่ใช้อำนาจในทางที่มิชอบ รวมไปถึงการทำกระทำชำเรา แต่อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลทหารพม่าก็ยังปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวเช่นเคย

ในเรื่องนี้ทางรัฐบาลกำลังเเปิดการเจรจาสันติภาพกับกลุ่มติดอาวุธต่างๆ เมื่อไม่นานมานี้ (31 สิงหาคม) ในความพยายามที่จะลดปัญหาความขัดแย้งลงที่ได้นินมาอย่างยาวนานหลายทศวรรษ ที่ได้คร่าชีวิตผู้คนไปหลายพันคน ที่ทำให้ประเทศพม่าต้องจมอยู่ในสภาพความยากจนตลอดมา

สำนักข่าวเอเอฟพีได้รายงานว่า ทางเลขาธิการสหประชาชาติ นาย บัน คี มูน ที่ได้เดินทางเข้าร่วมในการเจรจาสันติภาพในครั้งนี้ ที่แสดงให้เห็นว่า เป็นหน้าประวัติศาสตร์สำหรับประเทศพม่าที่กำลังอยู่ในช่วงรอยต่อจากรัฐบาลทหารไปสู่รัฐประชาธิปไตย

อย่างไรก็ตาม มีความคาดหวังเพียงนิดเดียวกับผลการเจรจาในห้าวันดังกล่าว ที่เชื่อว่าจะเป็นการเริ่มต้นของกระบวนการที่จะต้องใช้เวลานานนับปี