
เบอร์กอส ถือเป็นต้นฉบับหนังสือที่มีอายุเก่าแก่ไม่ต่ำกว่า 100 ปี ที่ถูกเขียนในภาษาที่ไม่มีผู้ใดรู้จักหรือเป็นการเขียนด้วยรหัสลึกลับ ที่ยังไม่มีใครสามารถถอดรหัสดังกล่าวได้อย่างสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นนักโบราณคดีผู้เชี่ยวชาญเอง
หนังสือดังกล่าวยังได้สร้างความฉงนใจให้กับบรรดานักศึกษาที่พยายามที่จะทอดรหัสต้นฉบับหนังสือโบราณดังกล่าว ที่ประกอบไปด้วยตัวเขียนและภาพประกอบที่มีความน่าสนใจพร้อมกับภาพเขียนผู้หญิงที่เปลื่อยเปล่าที่แฝงด้วยพลังวิเศษอันขลัง
หนังสือดังกล่าวถูกจัดเก็บไว้ในห้องใต้ดินของหอสมุดเมืองเบนิคแห่งมหาวิทยาลัยยาเลที่สหรัฐอเมริกา ที่ถูกนำมาแสดงนานๆ ครั้ง
อย่างไรก็ตามหลังจากที่ผ่านมาแล้วสิบกว่าปี ในความพยายามที่จะได้รับลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์ ในที่สุดสำนักพิมพ์เล็กๆ แห่งหนึ่งที่อยู่ทางตอนเหนือของสเปนก็ได้รับลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์ตำราดังกล่าว ในขณะเดียวกันเป็นที่น่ายินดีชื่นชอบของผู้บริหารไปในตัว
“ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์สำหรับการได้รับลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์สิ่งนี้” Juan Jose Garcia ผู้บริหารสำนักพิมพ์กล่าว ที่เป็นสำนักพิมพ์หนึ่งที่ติดอันดับในเบอร์กอส
“หนังสือดังกล่าวที่มีกลิ่นอายของความปริศนาลึกลับเมื่อท่านได้เห็นมันตอนแรกๆ มันเต็มไปด้วยอารมณ์ที่ยากต่อการอธิบาย”
“สำนักพิมพ์ซิโลร์ ที่มีความเชี่ยวชาญในการตีพิมพ์หนังสือโบราณ ได้ทำการซื้อลิขสิทธิ์เพื่อสร้างต้นฉบับจำลองจำนวน 898 เล่ม ที่จะถูกตีพิมพ์เหมือนต้นฉบับทุกระเบียบนิ้ว ไม่ว่าจะเป็นรอยตำหนิรอยเปื้อน รอยรู และรอยเย็บของปกหนัง”
สำนักพิมพ์แห่งนี้โดยปกติจะตีพิมพ์ในจำนวน 898 ฉบับ เพื่อให้จบที่เลขแบบพาลินโดรมคือลงตัวที่หมายเลขเท่ากัน ไม่ว่าจะอ่านจากด้านหน้าหรือจากด้านหลังก็คงเหมือนกัน
สำนักพิมพ์ดังกล่าววางแผนที่จะจำหน่ายในราคา7,000 ถึง 8,000 ยูโร (ประมาณ 320,000-360,000 บาท) ต่อหนึ่งฉบับ เมื่อตีพิมพ์เสร็จ ซึ่งตอนนี้มีการจองเป็นที่เรียบร้อยแล้วจำนวน 300 เล่ม
ในขณะเดียวกัน ไรมอนด์ คลีเมนส์ ผู้บริหารหอสมุดเบนิคดังกล่าว ได้กล่าวว่าทางมหาวิทยาลัยยาเล ได้ตัดสินใจที่จะตีพิมพ์ต้นฉบับดังกล่าวเช่นกัน เพราะว่ามีผู้มาเยี่ยมเยือนได้มาตามหาต้นฉบับดังกล่าวกันอย่างต่อเนื่อง
“ผมหวังว่าการตีพิมพ์ในครั้งนี้ จะสามารถให้ความรู้สึกเสมือนกับต้นฉบับแก่ผู้ที่สนใจ”
“ทั้งนี้ยังได้เปิดโอกาสให้ทางห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ต่างๆ มีไว้ในครอบครองด้วยเช่นกัน เพื่อเอาไว้เป็นสื่อในการเรียนการสอน และทางเรายังได้อนุญาตให้ใช้หนังสือฉบับนี้ไปแสดงในที่ต่างๆ นอกห้องสมุดด้วย เช่น นักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจ” เขากล่าว
ต้นฉบับดังกล่าวถูกตั้งชื่อโดยนักวิจัยด้านชาติพันธุ์ ที่ได้ซื้อต้นบับดังกล่าวเมื่อปี 1912 จากเจ้าของขายหนังสือที่เป็นกลุ่มคน Jesuit ในอิตาลี ที่ต่อมาในเป็นที่รู้จักของสังคม
เขายังได้รู้ถึงหลายทฤษฏี เกี่ยวกับเอกลักษณ์ของผู้เขียนรวมทั้งความหมายด้วย
สำหรับในระยะยาวนั้น เขาเชื่อว่าผลงานของนักเขียนชาวฝรั่งเศสนั้นของโรเกอร์ บาร์คอน ในช่วงศตวรรษที่ 13 ที่หลงใหลชื่นชอบในความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนโลหะไปเป็นแร่ทองคำและการเล่นมายากล ที่ส่งผลให้เขาต้องถูกจับกุมในที่สุด
ในขณะที่นักวิจัยคนอื่นๆ ได้ทำการทดสอบตามทฤษกีของลีโอนาโด ดาร์วินซี ที่สามารถพิสูจน์ได้อย่างสำเร็จในช่วงวัยเยาว์ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกไต่สวนหรือสอบสวน นั่นก็คือเป็นการอภิปรายที่ว่าด้วยการที่จะลบล้างกิจกรรมที่ไร้สาระหรือการแสดงมายากลในทวีปยุโรป นอกจากการแสดงละครหรือเล่นเวทมนต์ที่ถูกท้องไว้ก่อนจะเสียชีวิตลง
ประเด็นเนื้อหาของต้นฉบับดังกล่าวความจริงแล้วยังเป็นเรื่องปริศนา ซึ่งต้นไม้ที่ถูกเขียนในหนังสือดังกล่าวก็ยังไม่สามารถที่จะระบุได้อย่างแน่ชัด แม้กระทั่งเอกลักษณ์ของหญิงสาวคนนั้นก็ยังไม่สามารถที่จะทอดรหัสออกได้
อาจเป็นไปได้หรือว่าตำราดังกล่าวแฝงไปด้วยความลับของอายุไขแห่งศตวรรษ? หรือไม่ก็อาจหนีไม่พ้นจะเป็นตำราทางการแพทย์สมุนไพรก็เป็นได้?
มีผู้เชี่ยวชาญมากมายที่พยายามที่จะทอดรหัสดังกล่าว รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญในด้านการถอดรหัสเองอย่าง วิลเลี่ยม ฟริดแมน ที่สามารถถอดลับของญี่ปุ่นได้ในช่วงสมัยสงครามดลกครั้งที่สอง
อย่างไรก็ตาม จะว่าไปแล้วถือเป็นการบ่งบอกถึงความรุ่งเรือง ที่อินเดียน่า ได้กล่าวไว้ในนวนิยายของเขา ถึงบุคคลที่สามารถถอดรหัสได้
นักบินอวกาส Rene Zandbergen ได้เขียนลงบล๊อกส่วนตัวของเขาเกี่ยวหนังสือดังกล่าวว่า ทางหอสมุดเบนิคได้รับจดหมายทางอีเมลล์ทุกๆ เดือน ที่ได้อ้างว่าสามารถถอดรหัสได้อย่างสำเร็จ
ต้นฉบับดังกล่าวมีควางกว้างยาวกว่าหนังสือทั่วไปเล็กน้อย มีความหน้าประมาณ 200 หน้า รวมไปถึงแผนกระดาษใหญ่ที่พับนั้นอีกด้วย
เขาต้องใช้เวลามากกว่า 18 เดือนโดยประมาณเพื่อให้ทางสำนักพิมฑ์ทำการคัดลอกในครั้งแรก ที่ต้องอาศัยกระบวนการที่ละเอียด เพื่อคำนึงถึงความเหมือนของตันฉบับดังกล่าว
พนักงานของที่นี่กำลังอยู่ในช่วงการดำเนินการฉบับพิมพ์ตัวอย่างก่อนที่จะเข้าระบบการพิมพ์ผลิต ด้วยการคำนึงความคล้ายคลึงกับต้นฉบับและรูปวาดจะต้องมีความสมจริงอีกด้วย
กระดาษที่ใช้จะใช้กระดาษที่ผลิตโดยสำนักพิมพ์ดังกล่าวเป็นการเฉพาะ ในขณะเดียวกันจะต้องผ่านกระบวนการที่พิเศษเพื่อให้ดูเหมือนต้นฉบับจริงให้มากที่สุด
หลังจากที่ตีพิมพ์เสร็จเรียบร้อย กระดาษดังกล่าวจะถูกเก็บไว้และเข้าสู่กระบวนการเพื่อให้ดูเหมือนเก่าทุกความไม่สมบูรณ์นั้นจะถูกปรับปรุงแก้ไขใหม่ด้วยการใช้เครื่องมือเฉพาะที่ยังไม่เป็นที่เปิดเผย
ที่มา http://www.bharian.com.my/node/185257