
ปัญหาบุคคลสองสัญชาติระหว่างไทยและมาเลเซียที่มีความยืดเยื้อมาอย่างยาวนาน ถือเป็นประเด็นหลักในการพูดคุยในการพบปะกันแบบทวิภาคีในครั้งนี้ ในโอกาศที่ได้เดินทางไปเยี่ยมเยือนของทั้งสองประเทศของรองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ดาโต๊ะศรีดร.อะฮ์หมัด ซาฮีด เมื่อไม่นานมานี้
รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซียยังกล่าวด้วยว่า ทั้งสองประเทศดังกล่าวต้องการที่จะให้มีการแก้ไขปัญหาของบุคคลสองสัญชาติให้เป็นรูปธรรมในการประชุมกลุ่มความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซีย ที่อาจมีขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์อันใกล้นี้ เพราะมันมีความเกี่ยวเนื่องกับข้อกฏหมาย
“จนถึงวันนี้เราไม่ทราบว่าบุคคลที่ถือสองสัญชาตินั้นมีจำนวนเท่าใด เพราะทางทางการไทยไม่ได้มีระบบการลงทะเบียนหรือจัดเก็บข้อมูลในรายละเอียดอย่างมาเลเซีย”
“ปัญหาเหล่านี้มันได้นำมาซึ่งปัญหาทางด้านข้อกฏหมายและอาชญากรรมตามแนวชายแดน” รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวกับผู้สื่อข่าว ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจการเยือนของทั้งสองประเทศที่มาเลเซีย
ซึ่งก่อนหน้านี้รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ดาโต๊ะศรีดร.อะฮ์หมัด ซาฮีด ได้มีการประชุมพบปะกับทางรองนายกรัฐมนตรีของไทย ดร.วิษณุ เครืองาม ที่ทำเนียบรัฐบาล
การประชุมที่ใช้เวลากว่าหนึ่งชั่วโมงที่มีท่านทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย ดาโต๊ะ นาซีเราะห์ ฮูเซ็น ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมาเลเซีย ดาโต๊ะศรี อัลวี อิบราเฮม และคณะกรรมมธิการของมาเลเซียเข้าร่วม
นอกจากนี้ท่านยังได้เข้าร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนรตีกลาโหมของไทย พล.อ.ประวิตร วทย์สุวรรณ ที่กระทรวงกลาโหม
ท่านในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีมหาดไทยมาเลเซียได้เรียนให้ทราบว่า นอกจากเรื่องดังกล่าวแล้วที่ประชุมยังได้หยิบยกปัญหาความหนาแน่นในช่วงเวลาเร่งด่วนที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดาของไทย
ทั้งนี้ทั้งสองเรื่องดังกล่าวจะถูกหยิบยกนำมาอภิปรายในรายละเอียดอีกครั้งในการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่อาจมีขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ในอีกไม่นาน
อะฮ์หมัด ซาฮีดกล่าวด้วยว่า ทางฝ่ายไทยยังได้หยิบยกประเด็นปัญหาการลักลอบข้ามแดนบริเวณตามแนวชายแดน และยังต้องการที่จะสร้างรั้วกำแพงตลอดแนวชายแดนเพื่อการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ อาวุธสงครามและยาเสพติด
“เรื่องนี้ไม่เพียงแต่เป็นความรับผิดชอบของสภามั่นคงแห่งชาติอย่างเดียวไม่ แต่มันรวมไปถึงเกี่ยวข้องกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่แวดล้อม และกระทรวงกลาโหมเช่นกัน”
อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับเรื่องที่เกี่ยวโยงกับปัญหาอาชญากรรมทั่วไปตามแนวชายแดน ยังมีการพูดคุยถึงเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน และในเรื่องนี้ปัจจุบันมีชาวไทยจำนวน 799 คน ที่ถูกจับกุมในมาเลเซีย 300 คนที่ถูกตัดสินไปแล้ว ในขณะที่อีก 499 ยังอยู่ในขั้นตอนของการคุมขัง
ในจำนวนดังกล่าว 79 คน ที่เห็นสมควรส่งตัวกลับผ่านข้อกฏหมายการแลกเปลี่ยนนักโทษที่ยังเหลืออายุดำเนินคดีไม่เกินหกเดือน
เกี่ยวกับผู้ที่กระผิดเกี่ยวกับการเข้าเมืองอย่างผิดฏกหมายของคนไทย รองนายกมาเลเซียยังเปิดเผยด้วยว่า มีจำนวน 1,430 คนไทย ที่เข้ามาลักลอบทำงานในมาเลเซียเกินกำหนดที่อาจส่งตัวกลับ
ที่มา http://www.utusan.com.my/berita/nasional/isu-dua-kerakyatan-perlu-diselesai-segera-1.367120