ถาม : อาหารที่ทำโดยคยมุสลิมที่ไม่ละหมาดทานได้หรือไม่?
ตอบ : ท่านรอซูล(ซล.) เคยได้รับเชิญไปทานอาหารจากชาวยิวแห่งเมืองมาดีนะฮ์ และท่านรอซูลได้รับประทานอาหารของพวกเขา ซึ่งหากคิดแล้วคนยิวผู้นั้นคงเป็นคนกาเฟร แต่ท่านรอซูลก็ยังคงเลือกที่จะรับประทานอาหารดังกล่าว เพราะว่าท่านรอซูลมีความมั่นใจแล้วว่า อาหารดังกล่าวนั้นฮาลาล ซึ่งหากจะว่าไปแล้วคนกาเฟรนั้น มันแย่ยิ่งกว่าคนอิสลามที่ไม่ดำรงการละหมาดเสียอีก ฉะนั้นโปรดศึกษาฮาดิษหรือเรื่องราวเกี่ยวกับการรับประทานอาหารของคนที่ไม่ละหมาดดังกล่าวที่ว่า มีความแย่ยิ่งกว่าหมาดำเสียอีก ซึ่งไม่ว่าจะศอฮิฮหรือไม่ศอฮิฮก็ตาม
โดยทั่วไปแล้วการรับประทานอาหารที่คนต่างศาสนิกให้นั้น ถือว่าไม่มีปัญหาใดๆ ในทัศนะอิสลาม(ฮาลาล) หากว่าอาหารดังกล่าวนั้นไม่มีการเจือปนสิ่งที่ฮารอม อย่างเช่น มีส่วนประกอบของซากสัตว์ (ไม่ว่าจะเป็นเนื้อที่ไม่เป็นที่อนุญาต หรือเนื้อสัตว์ที่อนุญาตแต่เชือกไม่ถูกต้องตามหลักศาสนา) เป็นต้น เพราะฉะนั้นเราสามารถรับได้และสามารถรับประทานอาหารดังกล่าวได้ ซึ่งหากว่าท้ายที่สุดแล้ว ไม่ได้เป็นอาหารที่ทำมาจากส่วนประกอบที่ฮารอมอย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ถึงแม้ว่าอาหารดังกล่าวจะปรุงโดยคนที่เป็นต่างศาสนิกก็ตาม
อิหม่ามอะฮ์หมัด ได้กล่าวว่า ท่านรอซูล (ซล.) เคยได้รับเชิญจากคนยิวเพื่อไปยังสถานที่จัดเลี้ยงแห่งหนึ่งที่ได้จัดเตรียมไว้ ซึ่งเป็นอาหารขนมปังที่ทำมาจากแป้งสาลี ที่ได้เปลี่ยนกลิ่นแล้ว และท่านรอซูลก็ตอบรับการเชิญดังกล่าว
ไม่เป็นที่ห่วงห้ามสำหรับชาวมุสลิมที่จะรับประทานอาหารที่คนต่างศาสนิกจัดทำขึ้น และคนฟาซิก(เพราะไม่ละหมาด) ตราบใดที่เขายังไม่เกียวข้องกับอาหารที่ฮารอม เช่น เนื้อสุกร หรือเครื่องดื่มที่ต้องห้าม เช่น ไวท์ เหล้า เป็นต้น และเนื้อสัตว์ที่เชือกโดยคนที่ไม่ใช่มุสลิมและอะฮลิลกีตาบ
เช่นเดียวกับการใช้ภาชนะจาน แก้ว และอื่นๆ ที่ล้างโดยคนต่างศาสนิก นอกเสียจากว่าเขาได้ใช้น้ำยาล้างจานที่มีส่วนประกอบของสิ่งที่ฮารอม
คนต่างศาสนิกเป็นนายิส ดังโองการที่ว่า
“บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! แท้จริงบรรดามุชริกนั้นโสมม…..” [Surah al-Taubah ayat 28]
ความโสมมของชาวมุชรีกีนนั้นไม่ได้หมายถึงร่างกาย ทว่าเป็นความโสมมทางด้านอากีดะฮ์ของพสกเขา
เชคยูโซฟ อันกอรฏอวีย์ กล่าวว่า
“ความโสมมของมุชนีกีนนั้นคือความโสมมในแง่ของความหมาย (มักนาวีย์) อันกอรฏอวีย์ ได้ยกทัศนะของอิหม่ามเชากานี (รฏ.) ด้วยว่า สิ่งที่ให้ความหมายในที่นี้ก็คือไม่ได้เป็นนายิสฮิสสียะฮ์ แต่เป็นความโสมมในด้านฮูก่ม ซึ่งหมายถึงอากีดะฮ์ของพวกมุชรีกีนต่างหากที่โสมม ไม่ใช่เป็นร่างกายของพวกเขาไม่แต่อย่างใด”
สรุปก็คือ ท่านสามารถรับประทานอาหารที่คนต่างศาสนิกปรุงได้ ตราบใดที่ส่วนประกอบของอาหารดังกล่าวฮาลาลสามารถรับประทานได้ เพราะการสัมผัสกันของคนต่างศาสนิกนั้นไม่ถือเป็นความโสมม (นายิส) สิ่งที่มีความแตกต่างกันก็คือความเชื่อ (อากีดะฮ์) เท่านั้น เมื่ออาหารที่ปรุงโดยคนต่างศาสนิกสามารถทานได้ อาหารที่ปรุงโดยคนฟาซิก(ไม่ละหมาด) ก็ย่อมทานได้เช่นกัน
ที่มา http://www.islamituindah.my/hukum-makan-masakan-orang-yang-tidak-solat