สมาชิกกลุ่มอาเซียนได้เห็นชอบในหลักการเกี่ยวกับขั้นตอนของกรอบการร่วมมือกัน เพื่อควบคุมมวลภาวะอากาศเป็นพิษที่ข้ามแดน
กำหนดการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างภูมิภาคอาเซียนแห่งนี้ ให้ปลอดจากปัญหาหมอกควันก่อนถึงปี 2020
เรื่องนี้ได้แถลงผ่านสื่อมวลชนสำหรับการประชุมอาเซียนระดับรัฐมนตรี เพื่อร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาหมอกควันที่ข้ามแดน ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ที่ผ่านมา ถือเป็นการประชุมเพื่อหารือจัดทำสนธิสัญญาอาเซียนเกี่ยวกับปัญหาหมอกควัน
การประชุมเรื่องหมอกควันที่ข้ามแดนครั้งที่ 12 นี้ ถือเป็นการประชุมเพื่อรับมือกับปัญหาหมอกควันเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่เกิดวิกฤติหมอกควันปกคลุมในบางพื้นที่ของประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ นานนับสัปดาห์ เมื่อปี 2015 ปีที่แล้ว
ปัญหาการลักลอบตัดไม้และแผ้วถางป่าในประเทศอินโดนีเซียถือเป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้ประชาชนจำนวนมากจำเป็นต้องอยู่แต่ภายในบ้านหรือต้องใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนจะออกจากบ้าน และไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อประเทศสิงคโปร่ตลอดจนมาเลเซียอีกด้วย เป็นเหตุให้โรงเรียนต้องปิดทำการเรียนการสอนนานหลายวัน
อย่างไรก็ตามการประชุมในครั้งนี้ยังได้มีการทบทวนอีกครั้งต่อปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว เพื่อการรับมือกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในปีหน้า
สิงคโปร์หวังว่าจะบรรลุวัตถุประสงค์
การที่จะดำรงไว้ซึ่งภูมิภาดอาเซียนที่ปราศจากหมอกควันก่อนปี 2020 ถือเป็นเป้าหมายสูงสุด สืบเนื่องมาจากการที่เกิดวิกฤติหมอกควันเกือบทุกปี ในบางประเทศในภูมิภาดแห่งนี้
ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์ ถือเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติปัญหาหมอกควันดังกล่าวโดยตรง ที่ได้คาดหวังอย่างสูงต่อเป้าหมายดังกล่าวนี้
ทางด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมสิงคโปร์ นายมาซากอส ซุลกิฟลี ได้กล่าวว่า “หากว่าทุกฝ่ายต่างมีส่วนร่วมอย่างขันแข็ง พร้อมดำเนินการทุกอย่างที่ปรารถนา และหากว่ามีการดำเนินการในด้านการเมืองและมีการใช้กฏหมายของประเทศอย่างเคร่งครัด จะสามารถป้องปรามสิ่งนั้นไม่ให้เกิดขึ้นได้ และผมเชื่อว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้”
“แต่ทุกฝ่ายจะต้องสวมบทบาทของแต่ละฝ่ายตามหน้าที่ไป เราเองที่อยู่ในสิงคโปร์ก็ต้องแสดงบทบาทของเราอย่างเต็มที่เช่นกัน ซึ่งเราไม่อาจเรียกร้องต่อหมอกควันได้ แต่เราสามารถที่จะไม่รับซื้อสินค้าที่มาจากบริเวณที่เป็นต้นต่อของหมอกควันนั้นได้”
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาเลซีย ดาโต๊ะ ศรี จูนัยดี ต่วนกู ญะอฺฟัร กล่าวว่า เพื่อนบ้านจากอินโดนีเซีย ได้ให้คำมั่นแล้วว่า หมอกควันในปีนี้คงอาจไม่เลวร้ายกว่าปีที่ผ่านมา
ในขณะที่ ดร.ซีตี นูรบายา บากัร ไม่ได้เดินทางเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวเป็นปีที่สองติดต่อกัน เพราะมีภารกิจยุ่งอยู่กับการเตรียมความพร้อมในการจัดงานวันปศุสัตว์ที่เมืองบาหลี
“เราได้รับผลกระทบจากวิกฤติไฟไหม้ป่ามากพอแล้ว ด้วยเหตุนี้ที่เราเองจึงมีความคิดริเริ่มอย่างตั้งใจยิ่ง ไม่ใช่แค่เพียงฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงเจ้าหน้าที่ปกครองส่วนท้องถิ่นอีกด้วย” นายอารีฟ ยูโวโน กล่าว ซึ่งเป็นที่ปรึกษาฝ่ายบุคลากรประจำกระทรวงสิ่งแวดล้อมและอุทยานอินโดนีเซีย เมื่อถูกถามถึงมาตรการรองรับของรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
อาเซียนเห็นชอบในหลักการสำหรับมาตรการดำเนินงานของอินโดนีเซีย
ในที่ประชุมดังกล่าวที่จัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ที่ประชุมอาเซียนได้เห็นร่วมในหลักการสำหรับแผนการที่ทางรัฐบาลอินโดนีเซียได้เสนอไว้ เพื่อก่อตั้งศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อควบคุมมลพิษหมอกควันที่ข้ามแดน นั่นก็คือ สถานที่ในการควบคุมดูแลและการประสานงานให้ความช่วยเหลือในภูมิภาคอาเซียนในการรับมือกับปัญหาหมอกควันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ทางด้านสิงคโปร์และมาเลเซียต่างมีความพร้อมแล้วสำหรับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ และทรัพยากรที่จะส่งความช่วยเหลือให้กับประเทศอินโดนีเซียในการรับมือกับปัญหาการเผาไหม้ป่า แต่อย่างไรก็ตามมันก็ตามมีการเตรียมความพร้อมก่อนเป็นลำดับแรก
ทางด้าน ดร.วัน ยูนัยดี กล่าวว่า “แต่ถึงแม้ว่าเราจะมีอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมก็ตาม แต่อย่าได้เข้าใจว่า เราจะสามารถดำเนินการได้ทุกอย่างรวดเร็วตามอำเภอใจไม่ เมื่อใดก็ตามที่ได้รับทราบถึงเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นที่ใดก็ตาม เช่น ใช้เรือโบธ เรือน้ำ รถบรรทุกหรือรถยนต์ ฝ่าข้ามแดนไปอย่างหน้าตาเฉยไม่ ซึ่งเรามิอาจกระทำการแบบนั้นได้โดยเด็ดขาด”
“เรายังต้องเคารพเขตแดนและจำเป็นที่จะต้องดำเนินการตามกฏมารยาทและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศเพื่อนบ้าน เราไม่อาจอิงจากข้อตกลงร่วมฉบับนี้เพียงเพื่อให้เราสามารถดำเนินการตามอำเภอใจได้ในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด หรือเราจะดำเนินการอย่างไรก็ได้ตามความต้องการ ซึ่งเราทำไม่ได้”
ในขณะเดียวกัน มาเลเซียเองยังคงอยู่ในขั้นการพิจารณาในการประกาศใช้กฏหมายเฉกเช่นเดียวกับสิงดโปร์ ที่ได้อนุญาตใช้อำนาจในการดำเนินมาตรการกับหน่วยงานที่รับผิดชอบกับปัญหาหมอกควันที่ส่งผลกระทบต่อประเทศ
การประชุมอาเซียนเพื่อหารือกับการรับมือปัญหาหมอกควันครั้งต่อไป จะมีขึ้นที่ประเทศบรูไนในปีหน้า
http://berita.mediacorp.sg/mobilem/singapore/asean-persetujui-garis/3034158.html