หน้าแรก ข่าวต่างประเทศ

มาเลเซียและปาตานี ร่วมกันหาทางแก้ปัญหาการแต่งงานของคนทั้งสองประเทศ

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดาโต๊ะศรี จามิล บาฮารูน(คนกลาง)ถ่ายรูปร่วมกับคณะวิทยากรและผู้เข้าร่วมการประชุมการแก้ไขปัญหาการจัดการแต่งงานและการหย่าร้างพร้อมกับคณะกรรมการอิสลามห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยครั้งที่สี่ ภาพ เบอร์นามา

จากกรณีที่จำนวนการแต่งงานของชาวมาเลเซียที่มาแต่งงานในประเทศไทยที่มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นเรื่องที่ดีที่ควรจะร่วมกันแสวงหาทางออก ในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว เพื่อมให้ถูกต้องตามกฏหมาย

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดาโต๊ะศรี จามิล บาฮารูน กล่าวว่า การแต่งงานที่ไม่ถูกต้องชอบธรรมตามกฏหมายอาจนำมาซึ่งปัญหาต่างๆ มากมาย ที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อภรรยาและบุตรในอนาคต

“เกี่ยวกับเรื่องนี้ เรา(มาเลเซีย)กับห้าจังหวัดทางตอนใต้ของประเทศไทย คือ ยะลา นราธิวาส ปัตตานี สงขลา และสตูล จะร่วมกันผลักดันกฏกติกาที่มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับประเด็นการแต่งงานและการหย่าร้าง ที่เกี่ยวกับชาวมาเลเซียที่เข้ามาแต่งงานในจังหวัดดังกล่าว”

“เพราะว่าการแต่งงานกันระหว่างชาวมาเลเซียกับคนนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นับวันยิ่งมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้จำเป็นที่จะต้องดำเนินการอย่างรัดกุม เพื่อเป็นการป้องกันกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต” เขากล่าวภายหลังจากเปิดประชุมในเรื่องการจัดการการแต่งงานและการหย่าร้างสำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนทั่วประเทศมาเลเซียพร้อมด้วยคณะกรรมการอิสลามจากห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย

เขากล่าวด้วยว่า หนึ่งในผลกระทบที่เกิดจากการแต่งงานกันโดยไม่มีการจดทะเบียนหรือเป็นการแต่งงานแบบลับๆ ก็คือ ลูกเกิดมาไม่มีสูติบัตรแจ้งเกิด ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน และมีบางส่วนถึงขั้นต้องใช้คำว่า บิน อับดุลลอฮ์ ถึงแม้ว่าการแต่งงานกันของทั้งสองจะถูกต้องตามหลักศาสนาก็ตาม

“และสิ่งที่ได้กลายเป็นปัญหาที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนมากขึ้น ก็ต่อเมื่อเกิดการเสียชีวิตหรือการกย่าร้างขึ้น ซึ่งอาจทำให้มีความยุ่งยากในการรับรองผู้มิสิทธิ์รับมรดกเกี่ยวกับสิทธิในเรื่องทรัพย์สินและการแบ่งทรัพย์สินที่ได้มา”

“นี่คือบางส่วนของปัจจุยที่เป็นสาเหตุของการเกิดรอยร้าวขึ้นในครอบครัว เพราะฉะนั้นเราหวังว่าคู่สามีภรรยาที่ไปแต่งงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยหรือที่ใดก็แล้วแต่ ขอให้มีการจดทะเบียนย้อนหลังใหม่ในประเทศของตน”

จามิล ยังกล่าวด้วยว่า เขาได้ขอร้องไปยังคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั้งห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย จงออกมาตรการเอาจริงเอาจังกับคู่แต่งงานจากมาเลเซียได้กลับไปแจ้งทะเบียนสมรสหลังจากแต่งงาน

“การประชุมเป็นครั้งที่สี่ติดต่อกันครั้งนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่าทางรัฐบาลค่อนข้างให้ความสำคํญในการพยายามที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้” เขากล่าวพร้อมกับได้เน้นไปยังผู้ที่ต้องการแต่งงานนอกประเทศมาเลเซียด้วยว่า จะต้องได้รับการรับรองอนุญาตจากทางการในรัฐนั้นๆ

ในขณะเดียวกัน ทางด้านประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา อิสลาแอล อับดุลลาตีฟ ได้กล่าว่า ทางคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั้งห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำได้แค่เพียงการครบเงื่อนไขเบื้องต้นก่อนที่จะแต่งงานกันก็คือ แค่มีหนังสือเดินทางก็พอ

“ซึ่งส่วนใหญ่กรณีที่เราตรวจพบมากที่สุดก็คือคู่ที่ต้องการแต่งงานเพิ่มเติม(แต่งานมากกว่าหนึ่งคน) ที่มีปัญหากับข้อกฏหมายของมาเลเซีย” เขากล่าว

ที่มา http://www.bharian.com.my/node/175553