อยู่ๆ ชื่อนี้กลับได้รับความสนใจจากสังคมอย่างรวดเร็ว ภายหลังจากถูกเป็นที่สงสัยว่าอาจมีส่วนรู้เห็นในความพยายามในการก่อรัฐประหารโดยกลุ่มทหารบางกลุ่มของตุรกี ที่ไม่สำเร็จเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา
แหละนี่คือตัวตนของนายฟัตฮุลลอฮ์ กูเลน ในสายตาของท่านอูมัร ฟารุก คอสมาส ซึ่งเป็นอดีตที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรีอะฮ์เหม็ด โดวูโตกลู
ฟัตฮุลลอฮ์ กูเลน เกิดที่เมือง เอินซูรูมในประเทศตุรกี เมื่อปี คศ. 1947 เขาได้เริ่มต้นงานเคลื่อนไหวด้านสังคม ด้วยการทำหน้าที่เป็นอิหม่ามที่ได้เดินทางไปปราศรัยบรรยายศาสนาตามมัสยิดต่างๆ นับตั้งแต่ปี 1966 ซึ่งเขาเคลื่อนไหวภายใต้องค์กรหรือขบวนการนูรซีเมื่อปี 1970 เป็นต้นมา เพื่อให้ได้รับการยอมรับ เพื่อให้ได้มาซึ่งบารมีอำนาจ และความมั่งคั่ง ซึ่งต่อมาเขาได้ซึมซับในหลักคำสอนแนวคิดจากซาอิด นูรซี และได้เริ่มทำการเผยแพร่แนวคิดดังกล่าวทั้งการเคลื่อนไหวและกลุ่มเครือข่ายด้วยตนเองอีกด้วย ที่ทางกองทัพได้ให้การหนุนหลังและบรรดาเจ้าหน้าที่ที่ให้การสนับสนุน
ทางกูเลน ได้ให้การสนับสนุนการก่อรัฐประหารในอดีต ที่นำโดยนายยทหารคีนัน เอรเวน เมื่อปี 1980 ในฐานะที่เปิดโอกาสให้กับทางรัฐบาลทหารได้ให้การหนุนหลังด้านงบประมาณให้กับกลุ่มสื่อในเครือข่ายของกลุ่มหนังสือพิมพ์ที่เป็นกิจการของเขาที่ชื่อ “ซามาน” ที่ถือได้ว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่มีความยิ่งใหญ่มากอีกเจ้าหนึ่งของตุรกี ณ ขณะนั้น
กูเลนได้มีการพบปะกับท่านพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 เมื่อปี 1998 และได้เริ่มมีการติดต่อเจรจาต่อรองและปฏิสัมพันธ์กับชาวคาทอลิกเป็นต้นมา และได้เริ่มเคลื่อนไหวเผยแพร่แนวคิดของเขาต่อสังคมและทำงานร่วมมือกับทางโบสถ์ของชาวคาทอลิกมาโดยตลอด ทางกูเลนเองยังได้สร้างความ “คลางแคลง” สงสัยให้เกิดขึ้นในสังคมเกี่ยวกับกลุ่มองค์กรและขบวนการเคลื่อนไหวของเขาให้กับนักธุรกิจหรือนายทุนของตุรกี เพื่อหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนเงินงบประมาณให้กับโรงเรียนที่เขาเป็นผู้ดูแลที่มีอยู่ทั่วโลกอีกด้วย ที่เขาได้อ้างว่าเพื่อเป็นการเผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมของตุรกีต่อคนทั่วโลก
กูเลนได้ก่อตั้งโรงเรียนมากกว่า 3,000 แห่ง ตั้งอยู่อย่างกระจัดกระจายทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศมุสลิมเพื่อเป็นสนับสนุนทางด้านงบประมาณให้กับบรรดาผู้นำประเทศแห่งเสรีนิยม ด้วยการสนับสนุนของพระสันตะปาปาและบรรดานายทุนของกลุ่มไซออนิสต์ในตุรกี ในร่างธรรมนูญแห่งอิซเมท กูเลนมีความสัมพันธ์อย่างดีกับทางอิสราเอลและกลุ่มไซออนิสต์แห่งสหรัฐอเมริกา และยังได้ก่อตั้งโรงเรียนในสหรัฐอเมริกาอีกด้วยจำนวน 129 แห่ง ด้วยผลกำไรประมาณ 400 ล้านดอลล่าร์สหรัฐอเมริกาต่อปี ด้วยการให้การสนับสนุนต่อเครือข่ายผู้สนับสนุนครอบคลุมทั้งระบบในรัฐบาลตุรกี (รัฐธรรมนูญและกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงยุติธรรม หน่วยงานตำรวจ ฯ) อย่างไรก็ตามจนถึงตอนนี้เขายังไม่สามารถที่แทรกแซงเข้าไปในกองทัพตุรกีได้จนถึงปัจจุบัน
ทางด้านกูเลนเองเคยให้การสนับสนุนรัฐบาลของพรรคความยุติธรรมและการพัฒนา(AKP) และนายอัรดูฆอนเองเคยหวังว่าเขาอาจสามารถช่วยเหลือพรรคเอเคพีได้และอาจสามารถช่วยขยายเพิ่มศักยภาพในการบริหารประเทศในด้านต่างๆอีกด้วย สำหรับความขัดแย้งและควาไม่ลงรอยกันระหว่างฟัตฮุลลอฮ์ กูเลน กับ เรเซป ตอยยิบ อัรดูฆอน นั้นเกิดขึ้นเมื่อตอนที่นายอัรดูฆอนเริ่มแสดงท่าทีต่อต้านอิสราเอลอย่างโจ่งแจ้ง ในขณะเดียวกันมีบางข้อมูลได้รายงานว่านายกูเลนเองได้รับมอบหมายจากทางไซออนิสต์โดยตรงเพื่อให้ควบคุมท่าทีและจุดยืนของอัรดูฆอนที่มีต่ออิสราเอล ยิ่งไปกว่านั้นอูมัรได้พบหลักฐานสำคัญในขณะที่เขาอยู่ในชิคาโก ที่ได้เห็นหลักฐานสำคัญที่เป็นลายลักษณ์อักษรว่า ทางรัฐบาลอเมริกาได้ใช้ประโยชน์จากกูเลนเพื่อการต่อกรกับขบวนการเคลื่อนไหวอิสลาม
กูเลน ยังได้ก่อตั้งโรงเรียนในปากีสถานและในบังคลาเทศอีกด้วย เพื่อเป็นการบรรเทารัฐบาลของทั้งสองประเทศ ยิ่งไปกว่านั้นทางด้านรัฐบาลบังคลาเทศยังได้ให้ที่ดินวากัฟอย่างมหาศาลให้กับกิจกรรมการขับเคลื่อนของกูเลน
ในประเทศตุรกีสื่อที่อยู่ภายใต้การดูแลของเขา ได้ให้การสนับสนุนต่อบทลงโทษเกี่ยวกับผู้นำ ซึ่งกลุ่มญามาอะฮ์อิสลามค่อนข้างมีความแตกต่างอย่างสิ้งเชิงกับประธานาธิบดีกูล ณ ขณะนั้น และนายกรัฐมนตรีอัรดูฆอนเองที่ได้กดดันบังคลาเทศเพื่อไม่ให้การสนับสนุนต่อร่างกฎหมายบทลงโทษดังกล่าว
การสนับสนุนของประธานาธิบดีอัรดูฆอนต่อปัญหาปาเลสไตน์ อีกทั้งยังได้ตำหนิต่ออิสราเอลอย่างรุนแรงกรณีฉนวนกาซ่า ที่เสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงของเขาได้รับความสนใจจากปัญญาชนมุสลิมอย่างคาดไม่ถึง สิ่งนี้เองที่ทำให้อิสราเอลเกิดอาการไม่พอใจกับการกระทำของนายอัรดูฆอน ซึ่งต่อจากนั้นทางอิสราแอลได้มีการกดดันให้นายกูเลนยับยั้งการกระทำของนายอัรดูฆอนด้วยการจัดรายการผ่านทางโทรทัศนร์ “Sixty Minutes” ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากบริษัทหนังสือพิมพ์นิวยอกร์ไทม์อย่างเต็มที่ ทั้งจากความร่ำรวยและผลกำไรที่ได้รับจากกิจการโรงเรียนและกิจการการลงทุนต่างๆ ที่เป็นของสหรัฐอเมริกา และทางอเมริกาเองยังได้ข่มขู่ด้วยการตัดเงินสนับสนุนดังกล่าวอย่างทันทีหากว่ากูเลนไม่สามารถที่จะยับยั้งการกระทำของนายอัรดูฆอนได้
สิ่งนี้เองทำให้กูเลนได้เริ่มทำการเปลี่ยนแปลงความหมายการอรรถธิบายในอัลกุรอานและฮาดิษ ถึงขั้นในแวดวงของกลุ่มไซออนิสต์เขาได้เปรยปากว่า เท่าที่ผ่านมาเขานั้นมีความเข้าใจผิดมาโดยตลอดเกี่ยวกับโองการอัลกุรอานที่ว่า ตามทรรศนะของชาวคริสต์และชาวยยิวแล้ว พวกเขาก็สามารถเข้าสวรรค์เช่นกัน จนนำไปสู่การเป็นประโยชน์ให้กับนายโทมัส ไมเคิ้ล (อดีตผู้ช่วยสันตะปาปา) ที่ได้นำเขาไปยังตุรกีและในประเทศต่างๆ ซึ่งต่อมาไมเคิ้ลได้เริ่มเขียนหนังสือและได้เทศนาในเชิงที่ว่า อาจมีความเป็นไปได้ว่าเกิดข้อผิดพลาดในคัมภีร์อัลกุรอาน และความผิดพลาดดังกล่าวได้นำมาซึ่งความเข้าใจผิดที่ปรากฏอยู่ในอัลกุรอานที่ส่งผ่านชาวอาหรับบัดวีย์ที่ไม่รู้หนังสือ
สำหรับการศึกษาของนายอัรดูฆอน ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนอิหม่ามฮาติบ จนเขาได้มีความเข้าใจในอัลกุรอานอย่างถ่องแท้และเขาไม่ค่อยชอบเท่าใดนักกับความพยายามในการดัดแปลงแก้ไขคำสอนที่กำลังกระทำโดยนายกูเลน อีกทั้งกลุ่มผู้สนับสนุนของเขายังไม่ค่อยชอบกูเลนอีกด้วย อีกทั้งกลุ่มผู้สนับสนุนยังได้ให้นายอัรดูฆอนมีท่าทีเด็ดเดี่ยวเด็ดขาดต่อกูเลน แต่อย่างไรก็ตามทางด้านนายกูเลนเองได้อาศัยอำนาจของตนผ่านนโยบายและกลไกแห่งรัฐ ในการยับยั้งกิจกรรมทางการเมืองของอัรดูฆอนทุกวิถีทาง ในขณะที่นายกูเลนพร้อมบรรดาสมุนนายทหารของตุรกี ซึ่งนายอัรดูฆอนเองเชื่อว่านายกูเลนได้รายงานความเคลื่อนไหวของเขาไปยังหน่วยข่าวกรองของอิสราแอลและสื่อตะวันตก
ขณะที่นายอัรดูฆอนเองรู้อยู่แก่ใจว่า การเข้าไปเกี่ยวข้องของนายกูเลนดังกล่าวก็เพื่อต้องการที่จะโค่นล้มอำนาจรัฐบาลของเขาเช่นกัน ฟัตฮุลลอฮ์ กูเลนได้ดำเนินการผ่านเครือข่ายภายในประเทศตุรกีเพื่อต่อสู้กับรัฐบาลอัรดูฆอน อย่างเช่นในปี 2013 ที่เกิดเหตุการณ์การประท้วงที่สวนสาธารณเกซีปาร์ก และกลุ่มเคลื่อนไหวอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งทางด้านกลุ่มขบวนการโค่นล้มรัฐบาลดังกล่าวไม่สามารถที่จะโค่นได้อย่างสำเร็จก็เพราะว่านายกูเลนเองได้สร้างภาพพจน์ที่ไม่ดีให้กับตนเอง ด้วยการยกประเด็นศาสนาขึ้นมาชูด้วยการกล่าวที่ว่าชาวคริสต์และยิวเองสามารถเข้าสวรรค์ได้เช่นกัน และเขายังได้เผยแพร่ความอคติความเกลียดชังที่มีต่อกลุ่มชนอาหรับให้กับกลุ่มผู้สนับสนุนของเขาอย่างแพร่หลาย
สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ เขามักจะนำเสนอภาพความสูญเสียของเด็กๆ ชาวอิสราแอล แต่ในขณะเดียวกันภาพความสูญเสียของเด็กปาเลสไตน์เขาไม่เคยนำเสนอเลย และเขาได้กล่าวด้วยว่ากรณีความสูญเสียที่เกิดขึ้นกรณีเรือเพื่อมนุษยธรรมมาร์มาร่าของตุรกีในช่วงเดินทางไปให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่ฉนวนกาซา สมควรที่จะต้องขออนุญาตจากทางอิสราแอลก่อนเป็นอันดับแรก การออกมาพูดดังกล่าวทำให้เขามีคะแนนเสียงที่ตกต่ำลงเป็นอย่างมากในบรรดากลุ่มผู้สนับสนุนของเขาด้วยกันเอง
กุเลนเองยังได้ทำการดักฟังโทรศัพทร์ของกลุ่มขั้วการเมืองตรงข้ามกับเขา ด้วยการอาศัยเครือข่ายของหน่วยงานตำรวจทั่วประเทศ ซึ่งนายอีรดูฆอนค่อนข้างไม่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าวและได้ทำการกวาดล้างเครือข่ายการดักฟังและการมีอยู่ของนโยบายดังกล่าวทั่วประเทศ ในขณะที่นายอัรดูฆอนได้ปราบปรามกลุ่มสนับสนุนนายกูเลน ทางรัฐบาลอัรดุฆอนได้ตรวจพบหลักฐานสำคัญที่ว่า ใครก็ตามที่ทำการขัดขวางความพยายามของนายกูเลนในการปรับแปลงแก้ไขความหมายโองการอัลกุรอ่าน อาจต้องเข้าสู่ในกระบวนการยุติธรรมพร้อมกับข้อกล่าวหาและหลักฐานเท็จที่อาจถูกสร้างขึ้นมาโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ศาลที่อยู่ภายใต้อาณัติของกูเลน และอาจได้รับข้อกล่าวหาเป็นสมาชิกตอลีบันหรืออื่นๆ
ด้วยเหตุนี้นายอัรดูฆอนได้เลือกแนวทางการเจรจาและการทำข้อตกลงกับกลุ่มของกูเลน ซึ่งต่อมานายอัรดูฆอนสามารถขจัดและกวาดล้างเครือข่ายกลุ่มผู้สนับสนุนของนายกูเลนไปได้บางส่วนที่มีอยู่ทั่วประเทศ ทั้งสถาบันและหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนศูนย์บริการสาธารณต่างๆ อีกทั้งทางรัฐบาลตุรกีได้ดำเนินการมาตรการที่ไม่คาดคิดด้วยการยกเลิกหรือสั่งระงับหนังสือเดินทางของนายฟัตฮุลออฮ์ กูเลน และได้ขึ้นบัญชีเป็นบุคคลเฝ้าระวัง สิ่งที่กลุ่มไซออนิสต์ได้ให้การสนับสนุนนายกูเลนและพรรคพวกพวกของเขาก็เพราะว่า กูเลนและเครือข่ายของเขาได้ก่อประโยชน์มากมายให้กับไซออนิสต์ โดยเฉพาะในเรื่องข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวความลับต่างๆ ของประเทศตุรกีไปยังไซออนิสต์และรัฐบาลอิสราแอล
ที่มา http://www.dakwatuna.com/2016/07/17/81551/siapakah-fethullah-gulen/#axzz4EeVSa3fk