หน้าแรก ข่าวต่างประเทศ

ทางการซาอุดีฯ กวดขันพวกมิจฉาชีพในคราบคนขอทาน

ด้วยเสื้อผ้าในชุดสีดำพร้อมกับลูกน้อยในอ้อมกอดของหญิงคนหนึ่ง ที่กำลังนั่งขอทานอยู่ตรงบริเวณหน้าประตูมัสยิดแห่งหนึ่งในประเทศซาอุดีอารเบีย

เธอเปิดเผยว่าเธอมาจากทางตอนใต้ของประเทศซาอุดีอารเบียใกล้กับชายแดนประเทศเยเมน และเธอได้ขอทานเกือบจะทุกวันไปตามมัสยิดในที่ต่างๆ ที่อยู่รอบๆ เมืองริยาด ซึ่งเป็นเมืองที่มีแรงงานต่างชาติอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

ผู้ชายจากตะวันออกเฉียงใต้จำนวนมากพวกเขาจะมาละหมาดที่นี่ ซึ่งส่วนใหญ่จะมาเป็นแรงงานที่มีค่าแรงขั้นต่ำ แต่พวกเขาก็ยังมีใจบริจาคอย่างน้อยคนละหนึ่งริยาลแก่เธอ ซึ่งกล่องขอทานดังกล่าวเพียงไม่นานก็จะเต็มไปด้วยเงินเหรียญภายในพริบตา หลังจากที่ผู้คนต่างหยิบยื่นให้คนละเล็กละน้อย

การบริจาคทานถือเป็นกิจวัตรหลักของเดือนรอมฏอนอันประเสริฐ ซึ่งนับตั้งแต่รอมฏอนได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ขอทานมากมายที่มารอรับบริจาคทานรอบๆ มัสยิด

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อในปีนี้ได้มีหน่วยงานแห่งหนึ่งที่ได้ออกมาเรียกร้องขอความร่วมมือเพื่อไม่ให้พี่น้องประชาชนชาวซาอุดีอารเบียให้เงินกับขอทานดังกล่าว

จำนวนผู้ขอทานขยับสูงขึ้น 50 % ในเดือนรอมฏอน

หน่วยงานอัลวาลีด ฟีลันโทรฟีส ซึ่งเป็นหน่วยงายหนึ่งของการค้าการลงทุนในด้านอสังหาริมทรัพย์ของซาอุดีอารเบีย นายอัลวาลีด บิน ตาลาล กล่าวว่า อาชีพขอทานดังกล่าวมักมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้มีอิทธิพลและกลุ่มผู้ค้ายาเสพติด

“ปรากฏการณ์การขอทานได้พุ่งสูงขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเดือนรอมฏอน” ตามการแถลงของหน่วยงานดังกล่าวในช่วงการรณรงค์ในเรื่องดังกล่าว พร้อมกับได้ย้ำเตือนว่า การให้เงินแก่กลุ่มขอทานดังกล่าว อาจส่งผลร้ายต่อปัญหาดังกล่าวเข้าไปอีก

ในแถลงการณ์ดังกล่าวยังกล่าวด้วยว่า นักขอทานตามริมถนนอาจมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับกลุ่มขบวนการมิจฉาชีพที่หลอกลวงขึ้นมาให้เป็นผู้ขัดสน โดยการอาศัยเด็กน้อยในการเรียกความสงสาร ซึ่งมีมูลค่ากว่า 700 ล้านริยาลในทุกๆ ปี สำหรับเงินที่ไหลเข้าสู่วงการขอทานในซาอุดีอารเบีย

การรณรงค์ดังกล่าวได้มีขึ้นบนหน้าเว็บไซต์เพื่อให้การปรึกษาแก่สาธารณเกี่ยวกับหน่วยงานที่มีความถูกต้องตามกฎหมาย

ทางการซาอุดีอารเบียได้กวาดล้างจับกุมขอทานกว่า 8,000 คน

ในบางพื้นที่ในกรุงริยาด พบว่ามีบรรดาเด็กๆ ที่เดินพร้อมกับเครื่องทำความสะอาดกระจกหน้า ที่อยู่ตามบริเวณสี่แยกไฟแดง เพื่อรับใช้บริการผู้คน ที่เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของมิจฉาชีพ

เด็กๆ ที่มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกาเหนือและเยเมน “ถูกบังคับให้ทำงานขายแรงงานในฐานะเด็กขอทานและผู้เร่ขายตามถนนหนทาง ซึ่งเป็นเรื่องราวที่บรรดามิจฉาชีพสามารถกระทำได้อย่างง่ายดาย” ตามการรายงานของศูนย์ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์แห่งสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2015 เกี่ยวกับประเทศซาอุดีอารเบีย

และเมื่อปี 2014 ทางการซาอุดีอารเบียได้กวาดล้างจับกุมผู้ขอทานจำนวน 8,000 คน ในจำนวนนี้  70 เปอร์เซ็นต์เป็นชาวต่างชาติ

แต่อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคมของปีดังกล่าว มีคนเดียวเท่านั้นที่มีหลักฐานเอาผิดในข้อหากักขังบังคับผู้อื่นให้ขอทาน ตามการรายงานของสหรัฐอเมริกา

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นของนักขอทานที่ค่อนข้างจะมากก็คือเพราะว่า ประเทศซาอุดีอารเบียถือเป็นเป้าหมายของเหล่าผู้แสวงบุญและอุมเราะฮ์

กองทุนช่วยเหลือเด็กและเยาวชนแห่งสหประชาชาติ(UNECEF) เปิดเผยว่ามีครอบครัวที่ยากจนจำนวนมากที่ไหล่เข้าสู่ประเทศซาอุดีอารเบีย ด้วยการขอวีซ่าการแสวงบุญและอุมเราะฮ์ และได้อาศัยอยู่ในซาอุดีอารเบียโดยการตั้งรากฐานอย่างผิดกฎหมายและใช้วิถีด้วยการเป็นคนขอทาน หรือไม่ก็ทิ้งลูกๆ ของเขาที่ซาอุดีอารเบียเพื่อเป็นคนขอทานที่นี่ แล้วนำเงินดังกล่าวส่งกลับไปยังบ้านเกิดของพวกเขา

บรรดานักขอทานที่พบเจอรอบๆ มักกะฮ์และมัสยิดฮารอม ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงชาวอาหรับ เอเชีย หรือแอฟริกา ซึ่งโดยปกติแล้วมักจะมีเด็กน้อยอยู่ข้างๆ เสมอ

คนส่วนใหญ่ชอบที่จะให้

นักขอทานคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ที่มัสยิดฮารอม อุมมูมูฮัมมหมัด ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวเอเอฟพีว่า เขามาจากเมืองชาดเมื่อเจ็ดปีที่แล้วเพื่อมาประกอบพิธีฮัจย์ แต่ว่าเขาไม่ได้กลับไปยังบ้านเกิดของเขา

“คนที่มีใจบุญสุนทานชอบที่จะช่วยเหลือคนยากคนจนและคนที่ขาดแคลน ผมเป็นคนยากจน ผมจะใช้เท่าที่มีความจำเป็นจริงๆ ส่วนที่เหลือผมจะส่งกลับไปยังบ้านเกิดที่ชาด” เขากล่าว

ขณะที่สำนักข่าวอาหรับนิวส์ได้รายงานว่า ทางการซาอุดีได้จับกุมขอทานกว่า 90 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็ก 34 คนในช่วงสี่วันแรกของเดือนรอมฏอน

ที่มา http://berita.mediacorp.sg/mobilem/specialreports/ramadan2016/peminta-sedekah-kumpul/2905114.html