ทางหน่วยงานสหประชาชาติ ได้ส่งสัญญาณเตือนไปยังรัฐบาลพม่า เกี่ยวกับปัญหาชนกลุ่มน้อยมุสลิมในประเทศพม่าเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ที่ผ่านมา
ซึ่งการละเมิดสิทธิดังกล่าวยังได้ครอบคลุมไปถึงเรื่องการไม่รับรองความเป็นสถานะทางสังคม และสิ่งที่ได้กระทำต่อพวกเขา ที่เป็นดั่งแรงงานทาสและเป็นเหยื่อของการกดขี่ทางเพศอีกด้วย
ในรายงานดังกล่าวของหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้เปิดเผยออกมาว่า “พบว่าได้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมากมายต่อกลุ่มชาวโรฮิงญา อย่างที่ได้ปรากฏให้เห็นที่มีการประทุษร้ายและการละเมิดสิทธิอย่างมีระบบอย่างขนานใหญ่และแพร่หลาย และกรณีดังกล่าวนี้เองที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นการกระทำที่เป็นการก่ออาชญากรรมต่อเพื่อนมนุษย์ก็ว่าได้ หากว่าประเด็นเหล่านี้ได้ผ่านมติการพิจารณาของศาลโลก”
รายงานชิ้นนี้ได้ถูกเปิดเผยออกมาท่ามกลางความคาดหวังที่สูงต่อผู้นำรัฐบาลคนใหม่ของพม่า ที่นำโดยนางอองซาน ซูจีและพรรคที่สนับสนุนระบอบประชาธิปไตย ที่ยังคงหมกมุ่นอยู่กับความเกลียดชังของเขาที่มีต่อชาวมุสลิมโรฮิงญาที่รัฐยะไข่
ชาวโรฮิงญานับหมื่นคนที่ต้องเข้าไปอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยอพยพที่มีความคับแคบแออัด หลังจากที่ต้องทิ้งพรากบ้านเรือนของพวกเขา ภายหลังจากที่เกิดเหตุการณ์จลาจลและการนองเลือดกับชาวพุทธพม่าเมื่อปี 2012
หัวหน้าสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ นายซีดรา อัลฮูเซ็น กล่าวว่า เขารู้สึกกังวลต่อแถลงการณ์และจุดยืนของผู้นำรัฐบาลพม่าคนใหม่ที่ออกมาเมื่อหลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้
แต่อย่างไรก็ตามเขายังได้ส่งสัญญาณเพื่อการเป็นตักเตือนไปยังผู้นำคนใหม่ของพม่าคนนี้ว่า “เสมือนเป็นการสืบทอดเจตนารมณ์ของกฎหมายแห่งพม่าฉบับดั้งเดิม ที่ได้มีการดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติมในข้อกฎหมาย เพื่อที่จะปฏิเสธสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของชนกลุ่มน้อย ตลอดจนเรื่องการละเมิดสิทธิของพวกเขา อีกทั้งเพื่อเป็นการเบี่ยงเบนเพื่อไม่ให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรงนั้นไม่สามารถเอาผิดได้ จนนำไปสู่การเปิดโอกาสในการก่อเหตุละเมิดสิทธิที่มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นทุกๆ วัน”
ถึงแม้ว่าจะเป็นเช่นนั้น แต่ทางผู้นำคนใหม่ของพม่าคนปัจจุบัน จะต้องหาทางแก้ไขเพื่อยับยั้งการละเมิดสิทธิที่กำลังเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในพื้นที่ดังกล่าว ที่ได้เป็นการเอื้ออำนวยให้เกิดการกดขี่ต่อประชาชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญาที่เพิ่มขึ้น ที่มาจากความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติและความเชื่อในประเทศพม่า
ผลจากการติดตามเฝ้าตรวจสอบของหน่วยงานสหประชาชาติมาเป็นระยะเวลาหนึ่งปีพบว่า “กลับมีสถิติที่น่าเป็นห่วง” เกี่ยวกับการปลุกระดมปลุกปั่นแนวคิดความเกลียดชัง และไม่มีความอะลุ่มอล่วยระหว่างคนในสังคมในเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนาของกลุ่มคนพุทธที่มีต่อชาวโรฮิงญา
ในขณะที่กลุ่มเคลื่อนไหวชาวพุทธที่ได้เคลื่อนไหวในเชิงสัญลักษณ์ได้พยายามเผยแพร่แนวคิดดังกล่าวทั่วประเทศ เพื่อปฏิเสธและต่อต้านการมีอยู่ของชาวโรฮิงญาดังกล่าว
ซึ่งพวกเขาที่เป็นชาวพุทธพม่าได้ขับไล่ไสส่งชาวโรฮิงญาด้วยถ้อยความหยาบคายว่าเป็น (เบงกาลี) ที่หมายถึงคนผิวดำอะไรประมานนั้น และได้ถือว่าชาวโรฮิงญาที่มีอยู่ในพม่ากว่าหนึ่งล้านคนนั้น เป็นแขกหรือผู้ที่เข้ามาอาศัยที่มาจาดประเทศบังคลาเทศอย่างผิดกฎหมาย
ประชาชนชาวโรฮงญาที่อยู่ในประเทศพม่า ไม่ได้รับการยอมรับทางกฎหมายของความเป็นพลเมือง ถึงแม้ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวมาแล้วนานนับศตวรรษก็ตาม
ในรายงานของสหประชาชาติดังกล่าวนั้น ได้กล่าวอีกว่า มีการตรวจพบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากหน่วยงานความมั่นคงของพม่าเอง ที่มีกระทำต่อชาวโรฮิงญา
ในส่วนนี้ยังรวมไปถึงข้อกฎหมายหรือการตัดสินประหารชีวิตโดยการไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมอีกด้วย และได้หายเงียบไร้การชี้แจงแต่อย่างใด ได้มีการจับกุมและคุมขังโดยที่ปราศจากการดำเนินการตรวจสอบหรือต่อสู้ทางกฎหมายอย่างเป็นธรรม รวมทั้งการซ้อมทรมาน การให้ความดูแลที่เลวร้ายและได้มีการบังคับให้ใช้แรงงาน
กลุ่มชาวโรฮิงญาที่รัฐยะไข่ยังต้องได้รับการรับรองอนุญาตอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานราชการอีกด้วย ในกรณีที่จะต้องเดินทางไปยังเขตเมือง และนี่คือเป็นการปิดกั้นความอิสระและเสรีภาพในการเคลื่อนไหว จนทำให้ได้รับผลกระทบต่อการทำมาหากิน การศึกษา ทางด้านสาธารณสุขและการดูแลรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานของพวกเขาโดยปริยาย
ที่มา http://berita.mediacorp.sg/mobilem/world/pbb-rohingya-di-myanmar/2889162.html