นับวันสมาชิกของกองกำลังรัฐอิสลามที่มาจากประเทศในแถบยุโรป ได้มีการติดต่อกับรัฐบาลของพวกเขา เพื่อขอความช่วยเหลือในการเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาของตน
นั่นคือเป็นการรายงานจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงและหน่วยงานภาคีในประเทศซีเรีย ที่คอยให้ความช่วยเหลือให้กับบรรดาสมาชิกกองกำลังรัฐอิสลามที่ได้หันหลังให้กับกลุ่มรัฐอิสลามได้เดินทางกลับบ้านเกิด
สำนักข่าวดาวโจนส์รายงานว่า บางส่วนของพวกเขาได้เดินทางมายังหน่วยงานระดับสูงต่างๆ ที่ประเทศตุรกี ในขณะที่อีกบางส่วนได้ใช้วิธีการส่งข้อความแบบลับๆ ไปยังรัฐบาลของพวกเขาแทน
ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการขอความช่วยเหลือในการหนีออกจากจังหวัดที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มดังกล่าว ที่กำลังยึดในบางพื้นที่ของซีเรีย ตามการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่กำลังพำนักในประเทศตุรกี
กองกำลังที่มาจาก ฝรั่งเศส ต้องการกลับบ้านเกิด
การร้องขอความช่วยเหลือของนักรบกลุ่มไอเอสจากกลุ่มประเทศยุโรปดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากที่ทางกลุ่มดังกล่าวได้สูญเสียอำนาจและกำลังเผชิญกับการปะทะตามฐานที่มั่นต่างๆ ของพวกเขาถูกโจมตีอย่างนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเมืองร็อกกอฮ เมืองฟัลลูจาฮ์ อิรัก ที่เคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกเขามาเป็นเวลาสองปี
บางคนที่กำลังพยายามหาหนทางในการหนีออกมา ถือเป็นอดีตนักรบของกองกำลังไอเอส ในขณะที่ยังมีอีกบางส่วนที่มีใจอยากจะหนีย้ายไปยังเมืองอิสลามที่ครั้งหนึ่งก่อนหน้านี้ถูกสถาปนาขึ้นโดยกลุ่มดังกล่าวที่ได้ประกาศสัตยาบรรณ ต่อกลุ่มดังกล่าว
แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้กลับพบว่า พวกเขากำลังตกอยู่ในสภาพที่เลวร้าย เจ้าหน้าที่ระดับสูงท่านหนึ่งกล่าวไว้
“พบว่ามีชาวฝรั่งเศสหลายคนที่ต้องการกลับบ้าน” ตามการรายงานของหัวหน้าศูนย์ข่าวกรองแห่งชาติของฝรั่งเศส Didier le Bret ได้เปิดเผยในการประชุมด้านความมั่นคงเมื่อเร็วๆ นี้
เขายังกล่าวด้วยว่า ยังพบว่ายังมีชาวยุโรปอีกบางส่วน ที่ต้องการกลับบ้านเกิดของพวกเขา
150 กองกำลังจาก 6 ประเทศได้รับการช่วยเหลือ
บรรดาเจ้าหน้าที่ระดับสูงได้เปิดเผยว่า ประมาณ 150 คน จาก 6 ชาติในยุโรป ได้รับการช่วยเหลือแล้วเป็นการเบื้องต้น เพื่อหนีออกจากกลุ่มเคลื่อนไหวดังกล่าวหรือที่ได้หนีออกจากกลุ่มดังกล่าวได้อย่างสำเร็จเมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว
จำนวนทั้งหมดของสมาชิกกองกำลังรัฐอิสลามที่ได้เข้าร่วมในการสู้รบในประเทศซีเรียและประเทศอิรัก ที่ได้หนีกลับบ้านเกิดของพวกเขาเหล่านั้น ไม่เป็นการแน่ชัดจำนวนที่ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามบรรดาผู้ติดตามสถานการณ์จากยุโรป ได้ออกมาเปิดเผยว่า มีจำนวนหลักร้อย
อย่างไรก็ตามการร้องขอความช่วยเหลือเพื่อหาทางหลับบ้านของพวกเขา ได้กลายเป็นเรื่องที่น่าท้าทายของชาติตะวันตกเช่นกัน
ซึ่งพวกเขาได้รับการช่วยเหลือในการติดต่อผ่านทางโทรศัพท์และผ่านทางจดหมายที่พวกเขาลักลอบส่งจากแระเทศซีเรีย ตามการรายงานของเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ได้เปิดเผย
แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่ได้ร้องขอความช่วยเหลือนั้น จำเป็นที่จะต้องเดินทางไปยังตุรกี ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก
ทางกองทัพจะทำการตรวจสอบอย่างน้อยหนึ่งเดือนก่อนจะรับพิจารณา
หวังว่าอดีตนักรบกองกำลังรัฐอิสลามเหล่านั้น จะเดินทางถึงที่หมายได้อย่างปลอดภัย ทางเจ้าหน้าที่ของตุรกีและเจ้าหน้าที่จากแต่ละประเทศของพวกเขา จะต้องคอยสอดส่องอดีตกองกำลังไอเอสดังกล่าวว่า จะเป็นภัยคุกคามหรือไม่ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงหนึ่ง อย่างที่เราได้รับทราบกันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศสและบรัสเซียล ที่มีความเกี่ยงโยงกับกลุ่มไอเอส
คนที่เดินทางถึงประเทศตุรกีแล้ว พวกเขาจะถูกกักตัวและตรวจสอบโดยหน่วยข่าวกรองของตุรกี อย่างน้อยต้องใช้เวลาหนึ่งเดือน ก่อนที่จะถูกส่งมอบไปยังสถานทูตของแต่ละประเทศของพวกเขา เจ้าหน้าระดับสูงเปิดเผย
สำหรับชาวยุโรปที่ได้เข้าร่วมรบกับกองกำลังไอเอสเปิดเผยว่า พวกเขาได้สัมผัสถึงความสะดวกสบายต่างๆ ที่เขาได้รับ ที่ไม่ใช่แค่เพียงอำนาจและสถานะอย่างเดียวไม่ แต่รวมไปถึงอาหารการกิน บ้าน แม้กระทั่งรถฟรีอีกด้วย
อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้ได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อพวกเขาต่างหาที่หลบซ่อนในตึกต่างๆ จากการโจมตีทางอากาศ พร้อมกับต้องเผชิญกับการขาดอาหารและเรื่องสุขภาพร่างกาย นี่คือเป็นการเปิดเผยของชาวซีเรียที่ได้หนีออกมา ที่จากเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ได้มีโอกาสพบกับกองกำลังไอเอสที่ได้แปรพักตร์
ผิดหวังที่มุสลิมข่มขู่มุสลิม
อดีตกองกำลังไอเอสนายหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อ อาบู ชูจา ที่ได้เป็นแกนนำกลุ่มของเครื่อข่ายการให้ความช่วยเหลือพวกเขาที่ได้กันหลังให้กับไอเอส ซึ่งทางกลุ่มพวกเขาสามารถเดินทางถึงประเทศตุรกีได้อย่างสำเร็จประมาณหนึ่งร้อยคน
เขากล่าวว่า บรรดาสมาชิกกลุ่มไอเอส รู้สึกผิดหวังกับการที่กองกำลังพวกเขา ได้ข่มขู่คุกคามชาวมุสลิมด้วยกันเอง ภายหลังจากการโจมตีทางอากาศเพื่อตัดท่อน้ำเลี้ยงทางเศรษฐกิจของพวกเขา
“มันไม่ได้เป็นอย่างที่กลุ่มไอเอสได้บอกไว้แต่อย่างใด” เขากล่าว
ที่มา http://berita.mediacorp.sg/mobilem/world/makin-ramai-anggota-isis/2852824.html