โครงการงานประชุมวิชาการระดับชาติ โครงการ ช.ช.ต. ประจำปี 2559 สานภาคีพัฒนาสู่การสร้างสันติชายแดนใต้ Building Trust and Fostering Peace
โครงการสนับสนุนชุมชนเพื่อฟื้นฟูชายแดนภาคใต้ (ช.ช.ต.) สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) และธนาคารโลก จัด งานประชุมวิชาการระดับชาติ โครงการ ช.ช.ต. ประจำปี 2559 “สานภาคีพัฒนาสู่การสร้างสันติชายแดนใต้ : Building Trust and Fostering Peace” นำเสนอผลงานและยกระดับให้เป็นแนวปฏิบัติของกลไกรัฐและการนำเสนอเชิงนโยบาย เปิดพื้นที่ให้กลุ่มคนในท้องถิ่นและเครือข่ายประชาสังคมสื่อสารในสาธารณะได้ และสร้างพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หนุนเสริมระหว่างคนทำงานพัฒนาและหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่ ในวันที่ 4 มิถุนายน 2559 ณ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป ประธานมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการฯ และการจัดงานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งนี้ว่า
“โครงการสนับสนุนชุมชนเพื่อฟื้นฟูชายแดนภาคใต้ (ช.ช.ต.) เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา(LDI) และธนาคารโลก เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 2552 ปัจจุบันโครงการดำเนินงานอยู่ในระยะที่ 2 ซึ่งจะดำเนินงานตั้งแต่เดือนกันยายน 2556 – กุมภาพันธ์ 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจระหว่างคนในชุมชนเป้าหมาย 43 ชุมชน 6 ตำบลหลัก และพื้นที่ร่วมเรียนรู้อื่น ๆ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านโครงการพัฒนาที่เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดความต้องการจากการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนอย่างรอบด้านร่วมกันกับองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งจะช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์ภายในและระหว่างชุมชน และระหว่างชุมชนกับ อปท. และหน่วยงานรัฐให้มากขึ้น
นอกจากนี้ โครงการยังเน้นสร้างความเข้มแข็งในการสร้างกระบวนการสันติภาพให้องค์กรภาคประชาสังคมและเครือข่ายเป้าหมาย ภายใต้การสนับสนุนทุนเพื่อการดำเนินงานเพื่อสร้างสันติภาพในพื้นที่”
จากการดำเนินงานที่ผ่านมา โครงการฯ ได้มีการสั่งสมบทเรียนและประสบการณ์ในการพัฒนา และกระบวนการสร้างสันติภาพในพื้นที่ผ่านการดำเนินงานของชุมชน ภาคประชาสังคม และเครือข่ายในพื้นที่ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ได้มีแนวคิดในการจัดการความรู้และประสบการณ์ดังกล่าว พร้อมทั้งเปิดพื้นที่ให้ชุมชน ภาคประชาสังคม และเครือข่ายกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ ตลอดจนภาคี หน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินงานร่วมกับโครงการ ช.ช.ต. ได้พบปะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการฯ อันจะนำไปสู่ส่วนหนึ่งของการสกัดองค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินงานพัฒนาและการสร้างกระบวนการสันติภาพจากโครงการ นำไปสู่การเผยแพร่เพื่อเป็นบทเรียนสำคัญให้แก่พื้นที่อื่น ๆ และกลุ่ม องค์กร หน่วยงาน ที่สนใจ รวมทั้งจะเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนในพื้นที่ที่มีแนวคิดในการนำงานพัฒนาไปสู่กระบวนการสร้างสันติภาพ และขยายเครือข่ายแนวคิด เมล็ดพันธุ์ในการสร้างสันติภาพจากภายในสู่พื้นที่อื่น ๆ อีกต่อไป
ประธานมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา กล่าวต่อถึงวัตถุประสงค์ในการจัดประชุมวิชาการครั้งนี้ว่า เพื่อนำเสนอผลงานรูปธรรมและยกระดับให้เป็นแนวปฏิบัติของกลไกรัฐและการนำเสนอเชิงนโยบาย เปิดพื้นที่ให้กลุ่มคนในท้องถิ่นและเครือข่ายประชาสังคมสามารถเชื่อมโยงหรือสื่อสารในสาธารณะได้ และสร้างพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หนุนเสริมระหว่างคนทำงานพัฒนาและหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่
“งานในครั้งนี้จะมีตัวแทนชุมชนจากพื้นที่ที่ได้รับการสนับสนุนโครงการ ระดับจังหวัด อำเภอตัวแทนจากเครือข่าย องค์กร กลุ่ม ภาคประชาสังคมในพื้นที่ ตัวแทนจาก อปท. หน่วยงานภาคี ตำบลขยาย ในพื้นที่ จชต. ตัวแทนจากเครือข่าย องค์กร กลุ่ม ภาคประชาสังคมนอกพื้นที่ ตัวแทนหน่วยงาน องค์กรภาคีที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ สื่อมวลชน นักวิชาการ ตัวแทนจากสถาบันทางวิชาการ ตัวแทนจากต่างประเทศ/แหล่งทุน เจ้าหน้าที่ ผู้บริหาร ที่ปรึกษาโครงการ ช.ช.ต. และประชาชนผู้สนใจทั่วไป
คาดหวังว่า โครงการ ช.ช.ต. ประชาชน และเครือข่าย ภาคประชาสังคมกลุ่มเป้าหมาย ได้มีโอกาสนำเสนอผลการดำเนินงาน และพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานฯ ในพื้นที่ ตลอดจนสามารถนำไปสู่การยกระดับให้เป็นแนวปฏิบัติของกลไกรัฐและการนำเสนอเชิงนโยบาย เกิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หนุนเสริมระหว่างกลุ่มคนในท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาสังคมและหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่ได้เชื่อมโยง สื่อสารในพื้นที่สาธารณะ และเกิดองค์ความรู้ บทเรียนจากการดำเนินงานของโครงการฯ เพื่อเผยแพร่ให้แก่ชุมชน และหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกพื้นที่”
ภายในงานมีการจัดรูปแบบกิจกรรมที่มีความหลากหลาย เพื่อสร้างทางเลือก และโอกาสให้แก่ผู้ที่เข้าร่วมงานได้ร่วมเรียนรู้ในส่วนกิจกรรม เนื้อหา หรือบทเรียนที่สนใจ โดยมีรูปแบบกิจกรรมคือปาฐกถาพิเศษ โดย นายภานุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการ ศอ.บต., บรรยาย“ประสบการณ์และบทเรียนจากต่างประเทศ”, อภิปรายคณะ (Panel Discussion) , ห้องย่อย การนำเสนอประสบการณ์ บทเรียน และสังเคราะห์ยกระดับสู่องค์ความรู้และข้อเสนอทางนโยบาย ในประเด็น เศรษฐกิจท้องถิ่น การจัดการทรัพยากรท้องถิ่น แผนบูรณาการสู่ท้องถิ่น กลั่นหัวใจสู่ชุมชนศานติ, นำเสนอรายงาน “บทเรียนการทำงาน 11 ปี ของภาคประชาสังคมชายแดนใต้”, การอภิปรายคณะ “แผนพัฒนาท้องถิ่นกับกลไกความร่วมมือเชิงบูรณาการในงานสร้างสันติภาพชายแดนใต้”, การแสดงทางวัฒนธรรม และการจัดและนำเสนอนิทรรศการผลการดำเนินงาน นิทรรศการศิลป์สู่ศานติ โปสเตอร์
สนใจเข้าร่วมกิจกรรม โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.30 น. ณ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี ติดต่อสอบถามได้ที่ เลขา เกลี้ยงเกลา 089-7247270 และ ฮัมดี เจะเฮาะ 089-5975939
กำหนดการประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2559
สานภาคีพัฒนาสู่การสร้างสันติชายแดนใต้ : Building Trust and Fostering Peace
วันเสาร์ ที่ 4 มิถุนายน 2559
ณ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
………………………………………………………………………………………………………….
8.30 – 9.00 น. ลงทะเบียน
ชม VTR ผลการดำเนินงานโครงการ ภาพรวมโครงการ ช.ช.ต.
การแสดงทางวัฒนธรรม
9.00 – 9.15 น. กล่าวต้อนรับ โดย รศ.อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ รองอธิการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี
กล่าวรายงาน โดย นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป ประธานมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
9.15 – 9.45 น. กล่าวเปิด และปาฐกถาพิเศษ งานพัฒนาแบบมีส่วนร่วมในการสร้างสันติสุขชายแดนใต้
โดย นายภานุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการ ศอ.บต.
9.30 – 11.00 น. อภิปรายคณะ (Panel Discussion) งานพัฒนาสร้างสันติภาพใน 3 จชต. ได้อย่างไร?
โดย นายดนยา สะแลแม ผู้ประสานงานโครงการฯ
นายอิมรอน สาและ คณะทำงานตำบลพ่อมิ่ง จ.ปัตตานี
นายรุสลัน อารง นายก อบต. โคกเคียน
นางโซรยา จามจุรี รองประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้
นายฮาซัน ยามาดีบุ กลุ่มบุหงารายา
ผู้ดำเนินรายการ : ฐปนีย์ เอียดศรีไชย สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
11.00 – 12.30 น. ห้องย่อย การนำเสนอประสบการณ์ บทเรียน และสังเคราะห์ยกระดับสู่องค์ความรู้และข้อเสนอทางนโยบาย
ห้องย่อย 1 (A 301) เศรษฐกิจท้องถิ่น
ผู้ดำเนินรายการ อ.วีรบูรณ์ วิสารทสกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิทยากร 1 นายซูกุรมัม มูซอ ตัวแทนจากชุมชนชุมบก จังหวัดนราธิวาส
วิทยากร 2 นางสาวสากีต๊ะ อีแต ตัวแทนจากชุมชมทุ่งเค็จ จังหวัดปัตตานี
วิทยากร 3 นางสาวสารีพ๊ะ มิ่งสกุล ตัวแทนจากชุมชนอาซ่อง จังหวัดยะลา
ผู้ทรงคุณวุฒิ
1. ดร.ธวัช นุ้ยผอม วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
2. นายหวันอับดุลรอณี เหละดุหวี ผู้จัดการใหญ่
สหกรณ์อิสลามอิบนูอัฟฟาน จำกัด
3. นายสุทน มานะสุวรรณ ผอ.ส่วนพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต ศอ.บต.
ห้องย่อย 2 (A 310) การจัดการทรัพยากรท้องถิ่น
ผู้ดำเนินรายการ นายโยฮัน สาตออุมา
วิทยากร 1 นายบาสรี มะเซ็ง ผู้ประสานงานพื้นที่โครงการ ช.ช.ต.
วิทยากร 2 นายดนยา สะแลแม ผู้ประสานงานพื้นที่โครงการ ช.ช.ต.
วิทยากร 3 อาจารย์มะยูโซะ อีแต ตัวแทนโครงการฟื้นฟูคลองปะเสยาวอ
ผู้ทรงคุณวุฒิ
อาจารย์พงษ์พันธ์ สุขสุพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
ดร.เกื้อ ฤทธิบูรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ผศ.ดร. HYPERLINK “http://huso.pn.psu.ac.th/Personnel/index_staff_dept.php?id=408” ณชพงศ์ จันจุฬา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ห้องย่อย 3 (B 103) แผนบูรณาการสู่ท้องถิ่น
ผู้ดำเนินรายการ นางสาวเบญจมาพร อินผลา เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
อบต. ห้วยกระทิง จังหวัดยะลา
ผู้นำเสนอ/แลกเปลี่ยน นายกนกศักดิ์ ดวงแก้วเรือน นายก อบต.แม่ทา จังหวัดเชียงใหม่
นำเสนอบทบาทสมมุติ โดย ทีมตำบลโคกเคียน และทีมตำบลอาซ่อง
สรุปผลการนำเสนอ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดย นายอัสรีย์ ยา
ห้องย่อย 4 (A302) กลั่นหัวใจสู่ชุมชนศานติ
ผู้ดำเนินรายการประจำห้องย่อย นางสาวลม้าย มานะการ
วิทยากร 1 ตัวแทนโครงการ การพัฒนาฐานข้อมูลความขัดแย้งและสันติภาพเชิงบูรณาการ เพื่อการสนับสนุนกระบวนการสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
วิทยากร 2 น.ส.นท ศิริกาญจน์ โครงการครอบครัวสื่อศานต์สุข กลุ่ม Kawan Kita
วิทยากร 3 นายนุรดี ลาเตะ โครงการกล้าทำดี ลดการรังแก กลุ่มครูบันดาลใจ
วิทยากร 4 นางสาวฮูดา หลงแดวา โครงการพัฒนาศักยภาพผู้หญิงสู่การขับเคลื่อนสันติภาพชายแดนใต้ กลุ่ม Perwani
ผู้ทรงคุณวุฒิ
1.แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 15 ปัตตานี
2.ดร.เมตตา กูนิง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี
3. นางสาวซาร่าห์ บินเยาะ ผู้อำนวยการสำนักงานสนับสนุนวิชาการที่ 12 สงขลา
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
4.นายอารีย์ ดิเรกกิจ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ชำนาญการพิเศษ ศอ.บต.
12.30 – 13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน
การแสดงทางวัฒนธรรม “ดิเกร์ฮูลู”
13.30 – 14.30 น. การนำเสนอผลสรุปการประชุมจากห้องย่อย 4 ห้อง
– ห้องย่อย 1 ประเด็นเศรษฐกิจท้องถิ่น โดย นางสาวพาตีเมาะ ดวงจินดา
– ห้องย่อย 2 ประเด็นการจัดการทรัพยากรท้องถิ่น โดย นายบาสรี มะเซ็ง
– ห้องย่อย 3 ประเด็นแผนบูรณาการสู่ท้องถิ่น โดย นายอัสรีย์ ยา
– ห้องย่อย 4 กลั่นหัวใจสู่ชุมชนศานติ โดย นางสาวนท ศิริกาญจน์
14.30 – 15.30 น. นำเสนอรายงาน “บทเรียนการทำงาน 11 ปี ของภาคประชาสังคมชายแดนใต้”
โดย ศาสตราจารย์ สุริชัย หวันแก้ว
15.30 – 16.30 น. การอภิปรายคณะ “แผนพัฒนาท้องถิ่นกับกลไกความร่วมมือเชิงบูรณาการในงานสร้างสันติภาพชายแดนใต้”
– ผู้แทนจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
– รศ.ดร.วุฒิสาร ตันไชย สถาบันพระปกเกล้า
– นายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายก อบจ.ปัตตานี
ผู้ดำเนินรายการ : นพ.พลเดช ปิ่นประทีป
16.30 น. สรุปการประชุมและนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบาย
หมายเหตุ : กำลังอยู่ในระหว่างการประสานวิทยากร กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
นิทรรศการผลการดำเนินงาน โปสเตอร์ และกิจกรรมจัดแสดง ณ ใต้อาคารคณะวิทยาการสื่อสาร