การอภิปรายโต๊ะกลมเกี่ยวกับการมีอยู่ของลักษมานาฮังตูเวาะฮ์ตามประวัติศาสตร์ของอารยธรรมมลายู ที่โรงแรมพีเอ็นบี มาเลเซีย ยังไม่ได้ข้อยุติถึงข้อสรุปการมีอยู่ของจอมแม่ทัพมลายูที่ชื่อว่าฮังตูเวาะฮ์แต่อย่างใด
ต่อไปนี้เป็นผลงานเขียนของนักวิชาการจากคณะประวัติศาสตร์สาขาศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมาลายา (University of Malaya ;UM) ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.อัฮ์หมัด อดัม ที่ก่อนหน้านี้ได้ออกมาปฏิเสธของการมีอยู่ของฮังตูเวาะฮ์ ยกเว้นจอมทัพมลายูแห่งเมืองมะละกาเท่านั้น ที่รู้จักกันดีในนามฮังโตฮา
ดร.อัฮ์หมัดกล่าวว่าเขาจะยอมรับการมีอยู่ของฮังตูเวาะฮ์ได้ ก็ต่อเมื่อสามารถพิสูจน์ให้เห็นผ่านการตรวจสอบดีเอ็นเอ หรือมีการค้นพบหลักฐานอื่นๆ ที่สามารถยืนยันได้ว่าแม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยอาณาจักรมะละกานั้นคือฮังตูเวาะฮ์
นอกจากดร.อัฮหมัดแล้ว ในที่ประชุมยังได้เรียนเชิญท่านอธิการบดีของมหาวิทยาลัยอิสลามมะละกา (KUIM) ศาสตราจารย์กิตติคุณดาโต๊ะ ดร.มูฮัมหมัด ยูโซ๊ะ ฮาชิม อาจารย์ประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยมาลายา (UM)ศาสตราจารย์ดาโต๊ะ ดร.อับดุลเลาะห์ ซาการียา และอาจารย์ประจำคณะภาษาศาสตร์สมัยใหม่และการสื่อสารมหาวิทยาลัยปุตรามาเลเซีย (UPM) ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ฮาชิม มูซา
ในขณะที่อับดุลเลาะห์ ซาการียา กล่าวว่ามุมมองของดร.อัฮหมัด ที่มีการสรุปออกมาด้วยการปฏิเสธการมีอยู่ของฮังตูเวาะฮ์ เพียงแค่อาศัยหลักฐานการศึกษาในด้านภาษาศาสตร์และต้นกำเนิดของคำพูดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ในขณะที่เรื่องราวต่างๆ อีกมากมายส่วนใหญ่ที่ได้มีการกล่าวถึงความกล้าหาญของฮังตูเวาะฮ์อย่างมากมาย
“นอกจากนี้ตัวเขียนยาวีเองยังมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก การที่ไม่สามารถที่จะถอดความการอ่านงานเขียนในสมัยอดีตได้ ได้ทำให้เกิดความเพี้ยนในการสะกดคำอ่านได้ ซึ่งอาจทำให้ตูเวาะฮ์ กลายเป็น โตฮา ได้” เขากล่าว

อับดุลเลาะห์ กล่าวว่า การใช้คำนำหน้าด้วยคำว่า ลักษมานา ถือเป็นเรื่องปกติของคนในสังคมสมัยก่อน เพื่อเรียกขานสำหรับผู้ที่ได้รับการพระราชทานโดยสุลต่านหรือพระมหากษัตริย์
“การใช้ชื่อดังกล่าวถือเป็นการให้เกียรติกัน จึงไม่แปลกเลยที่ชื่อดั้งเดิมของท่านฮังตูเวาะห์ จะไม่ถูกเรียกอีกต่อไป” เขากล่าว
ความเห็นของดร.อับดุลเลาะห์ คล้ายๆ กับผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรม ดร.ฮารูน มัตปียะฮ์ ที่กล่าวว่าทัศนะของดร.อัฮหมัดช่างมีความตลกสิ้นดี เพราะว่าถึงว่าชื่อฮังตูเวาะฮ์จะไม่มีการถูกจดบันทึกที่ใดๆ มันไม่ได้หมายความว่าฮังตูเวาะฮ์ไม่ได้มีอยู่จริง
“ดังตัวอย่างเช่นในหนังสือทางการแพทย์โบราณ ที่มีการใช้ศัพท์หลายพันคำแต่ไม่ได้มีอยู่ในพจนานุกรมเล่มใดๆ แต่มันไม่ได้หมายความว่าความรู้การปฏิบัติทางการแพทย์ดังกล่าวไม่ได้มีอยู่” เขากล่าว
ในขณะเดียวกันโรฮัยดะฮ์กล่าวว่า การมีอยู่ของฮังตูเวาะห์นั้น ได้รับการยืนยันเป็นที่เรียบร้อยโดยผ่านการศึกษาวิจัยของตัวเองพร้อมกับทีมงานนักวิจัย ที่จะได้รับเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำรงอยู่ของฮังตูเวาะฮ์ที่เมืองโอกินาวาของญี่ปุ่นและเมืองกัวประเทศอินเดีย
“การเดินทางของฮังตูเวาะฮ์ไปยังเมืองเรียวเกียว ในฐานะเป็นตัวแทนทางการทูตของสุลต่านอะเลาดีนรียายาตชาฮ์ ตามที่เขียนไว้ในพงศาวดารฮังตูเวาะฮ์ และในเรื่องเดียวกันนี้ที่มีอยู่ในบันทึกในเอกสารอย่างเป็นทางการของจักรวรรดิดังกล่าวเช่นกัน
“Rekidai Hoan ได้เขียนเป็นภาษาจีนที่ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษโดย Atushu Obata และ Mitsugi Matsada ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 1969 จึงกลายเป็นหลักฐานสำคัญชิ้นใหม่ที่เกี่ยวกับการดำรงอยู่ของฮังตูเวาะฮ์” เขากล่าว
เขากล่าวว่า เมื่อช่วงที่อยู่ที่เมืองกัว เขาได้พบกับสิ่งประดิษฐ์หนึ่งที่มีการแกะสลักบนหิน เป็นรูปของชายคนหนึ่งและมีสัญลักษณ์ของดอกบัวซึ่งเป็นสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของสุลต่านแห่งมะละกา
“มันพิสูจน์ให้เห็นความถูกต้องเกี่ยวกับการบันทึกที่ว่าฮังตูเวาะฮ์ที่เป็นที่กล่าวถึงดังกล่าว เคยอาศัยอยู่ที่อินเดียและให้บริการเลี้ยงดูม้าให้เชื่องแก่ผู้ปกครองในเมืองดังกล่าว” เขากล่าว
ขณะเดียวกัน ฮาชิมกล่าวว่า เขาและพร้อมด้วยทีมงานของเขามีแผนที่จะดำเนินการตรวจพันธุกรรมดีเอ็นเอ และได้รับตัวอย่างจากหลุมฝังศพของฮังตูเวาะฮ์จากตันหยงกีลิง
เวทีอภิปรายนี้จัดโดยมูลนิธินักเขียน สมาคมประวัติศาสตร์ของประเทศมาเลเซีย และสถาบันภาษา พร้อมด้วยบัณฑิตเกือบ 30 คน จากสาขาประวัติศาสตร์ วรรณกรรม วัฒนธรรม และภาษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาข้อสรุปถึงการมีอยู่ของฮังตูเวาะฮ์ ด้วยอาศัยหลักฐานทางวิชาการ
ที่มา http://www.bharian.com.my/node/145411