หน้าแรก ข่าวต่างประเทศ

กลุ่มหัวรุนแรงและชาวพุทธพม่าชุมนุมต่อต้านโรฮิงญาหน้าสถานทูตสหรัฐในประเทศพม่า

ชาวมุสลิมโรฮิงญาถือเป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกกดขี่มากที่สุดในโลก

กลุ่มนักเคลื่อนไหวชาวพุทธพม่าออกมาเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านคำเรียกชื่อ โรฮิงญา หน้าสถานทูตสหรัฐอเมริกาในพม่า

บรรดาพระภิกษุและกลุ่มหัวอนุรักษ์นิยมและชาวพุทธพม่าหลายร้อยคนออกมารวมตัวประท้วงต่อต้านบริเวณหน้าสถานทูตสหรัฐในพม่าเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ที่ไม่เห็นด้วยกับการเรียกชื่อของคนบางกลุ่มว่าโรฮิงญา

หนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้านี้อย่างน้อยมีชาวโรฮิงญา 21 คน ที่เสียชีวิตในอุบัติเหตุทางเรือในรัฐยะไข่ในภาคตะวันตกของประเทศพม่า ซึ่งปัญหาเกิดจากการที่กลุ่มคนเหล่านี้ดั้งเดิมเป็นชนกลุ่มชาติพันธุ์โรฮิงญา ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมในประเทศพม่าที่ถูกกดขี่มาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน

ในขณะที่กลุ่มผู้ประท้วงกว่า 300 คนได้โบกแผ่นป้ายและกล่าวปราศรัยอย่างเผ็ดร้อน  และไม่มีการแสดงอากัปกิริยาโกรธใดๆ ต่อโศกนาฎรรมความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับชาวโรฮิงญาที่ในระหว่างการเดินทางอพยพโดยทางเรือจากศูนย์อพยพชั่วคราวไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง ที่ทำให้เด็กๆ จำนวนเก้าคนต้องเสียชีวิตในครั้ง

บนผ้าโพกหัวของพวกเขาเขียนคำว่า “ไม่เอาโรฮิงญา” และกลุ่มผู้ประท้วงได้กล่าวแถลงการณ์ชี้แจงเกี่ยวกับการใช้ศัพท์ดังกล่าว ต่อหน้าสถานทูตสหรัฐในคำแถลงอีกด้วย

“เราต้องการที่จะบอกให้กับทางสถานทูตสหรัฐและเอกอัครราชทูตทั้งหลายในประเทศพม่าให้ทราบว่า ที่นี่ไม่เคยมีโรฮิงญาในประเทศของเรา” พระภิกษุรูปหนึ่ง Parmaukkha ซึ่งมาจากชนกลุ่มมะบาท่า กล่าวปราศรัยต่อหน้าฝูงชนที่อยู่ด้านนอกสถานทูต

“ถ้าหากสหรัฐอเมริกาให้การยอมรับคำว่า ‘โรฮิงญา’ ฉะนั้นคุณต้องนำพาพวกเขากลับไปยังประเทศของคุณเสีย” เขากล่าวเมื่อวันศุกร์ (2016/04/29)

คำว่า “โรฮิงญา” ถือเป็นคำที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายนอกประเทศพม่า เพื่อเป็นการอธิบายถึงชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมที่มีจำนวนไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านคน แต่สำหรับในประเทศพม่าซึ่งเป็นชาวพุทธโดยส่วนใหญ่ หรือที่รู้จักกันในนามพม่า คำว่า โรฮิงญา กลับถูกปฏิเสธโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่เห็นว่ากลุ่มคนดังกล่าวถือเป็นกลุ่มคนที่อพยพเข้ามาอย่างผิดกฎหมายที่มาจากเบงกอล”

ความจริงชาวโรฮิงญาได้อาศัยอยู่ในประเทศพม่ามาเป็นระยะเวลาหลายร้อยปีที่แล้ว แต่พวกเขากลับไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลพม่า ในฐานะเป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ของประเทศ

โรฮิงญาเป็นดั่งหนามทิ่มอกอองซานซูจี

หลังจากที่ความขัดแย้งทางด้านเชื้อชาติปะทุขึ้นเมื่อปี 2012 มีประชาชนชาวโรฮิงญาประมาณ 120,000 คนที่ต้องหนีอพยพอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี่ภัย ซึ่งสิทธิและเสรีภาพในการเคลื่อนไหว และการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพด้านการศึกษาและการจ้างงานของพวกเขาถูกลิดรอนสิทธิ ซึ่งไม่ต่างอะไรกับผู้ที่อาศัยอยู่นอกค่ายผู้ลี้ภัยที่พวกเขาจะถูกกักตัวเองอยู่แต่ในหมู่บ้านของพวกเขาและไม่มีอิสระในการใช้ชีวิต

โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นเมื่อกลุ่มชาวโรฮิงญาประมาณ 60 คนได้ออกเดินทางโดยเรือจากที่พักของพวกเขาที่ตั้งอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยของพวกเขาที่อยู่ในเมืองรัฐยะไข่เพื่อไปซื้ออาหาร  ซึ่งพวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปตามถนนได้ เมื่อพวกเขาเกือบจะถึงเป้าหมายปรากฏว่าเรือที่พวกเขาโดยสารมาเกิดคว่ำลง

หลังจากที่ได้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวทางสถานทูตสหรัฐได้ออกแถลงการณ์แสดงความกังวลและความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

“เราได้ส่งสาสน์แสดงความเสียใจไปยังครอบครัวของผู้ที่สูญเสียดังกล่าว ซึ่งตามรายงานข่าวจากสื่อท้องถิ่นกล่าวว่า พวกเขามาจากชุมชนชาวโรฮิงญา” ในคำแถลงการณ์การดังกล่าวเขียนว่า “การสั่งห้ามในการเดินทางไปยังตลาด การทำมาหากิน และการบริการขั้นพื้นฐานอื่นๆ ในรัฐยะไข่ดังกล่าว สามารถนำไปสู่ความเสี่ยงทั้งต่อชีวิตของพวกเขาโดยไม่จำเป็น ในความพยายามที่จะปรับปรุงคุณภาพของชีวิตของพวกเขา”

ปฏิกิริยาหลังจากที่แถลงการณ์ดังกล่าวออกมา ปรากฏว่าได้มีเครือข่ายจากกลุ่มอนุรักษ์นิยมแห่งชาติพม่า กลุ่มเยาวชนรักชาติที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเผยแพร่แนวคิดการต่อต้านชาวมุสลิมประมาณ 250 คน  ได้เดินทางไปยังสถานทูตสหรัฐอเมริกา  ซึ่งพวกเขาได้เข้าร่วมกับพระภิกษุอีก 50 รูปจากองค์กรมะบาท่าหรือที่เรียกว่าสมาคมเพื่อปกป้องเชื้อชาติและศาสนา

เครือข่ายชาวพุทธแห่งชาติของพม่าเคยถูกกล่าวหาว่าเป็นกลุ่มคนที่เผยแพร่แนวคิดไปยังหมู่บ้านต่างๆ ในพม่าเพื่อปลูกฝังให้กับเด็กๆ เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม  รวมทั้งยังให้นักเรียนได้อ่านทบทวนเกี่ยวกับอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในนามศาสนาอิสลาม

มะบาท่าเป็นกลุ่มชาวพุทธที่มีความแข็งแกร่งกลุ่มหนึ่งในประเทศพม่า ที่บ่อยครั้งถูกกล่าวหาว่าคอยเสี้ยมสอนให้เกลียดชังต่อชาวมุสลิม เมือปีที่ผ่านมาพวกเขาสามารถหลุดพ้นจากการดำเนินคดีในมาตราที่เกี่ยวกับเชื้อชาติและศาสนา  รวมทั้งข้อจำกัดเกี่ยวกับการแต่งงานระหว่างศาสนา และคนที่กำลังอยู่ในขั้นจะเปลี่ยนศาสนาหรือที่กลุ่มสิทธิมนุษยชนเรียกว่า เป็นการเลือกปฏิบัติ

ภายใต้การดูแลรักษาความปลอดภัยของตำรวจ ฝูงชนได้ส่งเสียงโฮร้องว่า “พวกที่ใช้ชื่อโรฮิงญาพวกเขาคือพวกเบงกอลมันเป็นศัตรูของพวกเรา” และ “ถ้าหากสถานทูตสหรัฐแห่งกรุงย่างกุ้งรู้สึกสงสารพวกเขาเหล่านั้น ท่านจงนำพวกเขากลับไปยังอเมริกาเสีย”

แกนนำจากเครือข่ายชาวพุทธแห่งชาติของพม่า Ko Win Ko Ko Latt ให้ยื่นจดหมายถึงเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่หน้าประตูทางเข้า

ในจดหมายดังกล่าวระบุว่า “การใช้คำดังกล่าวถูกปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงโดยรัฐบาลพม่า ที่ถือว่าเป็นความพยายามหนึ่งที่จงใจยั่วยุให้เกิดความขัดแย้งทางสังคมและความไม่สงบทางศาสนาในประเทศของเรา สหรัฐอเมริกาถูกเรียกร้องอย่างแข็งกร้าวจริงจังเพื่อให้ความเคารพในด้านชาติพันธุ์ในระดับการทูต และให้หลีกเลี่ยงการใช้คำที่กุขึ้นมาใหม่อย่างโรฮิงญานับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป

โฆษกสถานทูตสหรัฐกล่าวว่า “ทางสถานทูตสนับสนุนในสิทธิของประชาชนในการชุมนุมเรียกร้องและการแสดงความรู้สึกด้วยความสงบ”

ทางเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศพม่า Mr.Scot Marciel  ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า เขาหวังว่าสังคมจะมุ่งเน้นไปที่ความสูญเสียของชาวโรงฮิงญามากกว่าเรื่องการเรียกชื่อดังกล่าว

“โดยปกติของสหรัฐอเมริกาและประชาคมระหว่างประเทศ ไม่ว่าชุมชนใดๆที่มีอยู่เขามีสิทธิที่จะตัดสินใจเลือกใช้ชื่อเรียกที่เขาพวกเขาพอใจ”

การชุมนุมเพื่อแสดงจุดยืนเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา มันไม่ใช่จุดเริ่มต้นของความตึงเครียดความขัดแย้งทางศาสนาในพม่า ซึ่งเมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมามีพระภิกษุได้ขับไล่พ่อค้าชาวมุสลิมออกจากบริเวณเจดีย์แห่งเมืองชเวดากอง ซึ่งเป็นเมืองพุทธแห่งหนึ่งที่คนให้ความเคารพมากที่สุด ซึ่งพ่อค้ามักจะเป็นคุณลักษณะเด่นที่พบได้โดยทั่วไปตามเมืองเจดีย์ที่มีอยู่ทั่วประเทศ และเมื่อสองวันต่อมาเกิดเหตุการณ์คนขับรถแท็กซี่ชาวมุสลิมถูกทุบตีหลังจากได้ขับรถผ่านบริเวณเจดีย์ดังกล่าว

 

แปลจาก http://www.hidayatullah.com/berita/internasional/read/2016/05/01/94041/nasionalis-dan-buddha-burma-tolak-rohingyadi-kedutaan-di-myanmar.html