หน้าแรก ข่าวต่างประเทศ

วิกฤติมุสลิมในแอฟริกากลาง ความขัดแย้งที่โลกลืม

ผู้หญิงในแอฟริกากลาง

ช่างเป็นเรื่องที่น่าหดหู่ยิ่งนักเมื่อได้เห็นภาพการสังหารหมู่ที่เกิดกับชาวมุสลิมในแอฟริกากลาง (Center Africa Republic) ความโหดเหี้ยมและความป่าเถื่อนที่ยังคงเกิดขึ้นให้เห็นในช่วงยุคสมัยแห่งนี้ท่ามกลางความเงียบงันของประชาคมระหว่างประเทศ ซึ่งการที่สิ่งนี้ได้เกิดขึ้นอาจเป็นเพราะผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการสังหารหมู่คือชาวมุสลิมและคนที่เป็นผู้สังหารคือชาวคริสต์เตียน

“วิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในแอฟริกากลางดังกล่าว ถือเป็นการปฏิบัติการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวมุสลิมในประเทศดังกล่าวอย่างมีระบบ และการตอบสนองจากประชาคมโลกที่ไร้ปฏิกิริยาใดๆ ทำให้เราได้หวนนึกถึงต่อกรณี

วิกฤติการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวทุตซี (Tutsi) ในประเทศรวันดา ที่ได้สร้างความน่าอับอายขายหน้าในความรู้สึกของความเป็นมนุษยชาติมาจนถึงวันนี้” คำแถลงขององค์กรสหภาพนักวิชาการแห่งแอฟริกา

“ปฏิบัติการที่น่าสะพรึงกลัวของอาชญากรรมเหล่านี้ รวมไปถึงการทิ่มแทงตัดอวัยวะและการเผาเหยื่อแบบเป็นๆ ต่อหน้าช่างภาพ และแม้กระทั่งต่อบรรดาผู้หญิงและกลุ่มเด็กๆ ที่ไม่ได้ร่วมต่อสู้ก็มิเว้น ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีปฏิกิริยาที่แน่นอนในการไล่ล่าตัวคนร้ายและนำเข้าไปสู่ในกระบวนการยุติธรรม”

เมื่อช่วงต้นเดือนก่อนหน้านี้ทางกลุ่มองค์การนิรโทษกรรมสากลกล่าวว่า มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในแอฟริกากลาง ซึ่งเป็นประเทศที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองรัฐประหารและความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองมานานหลายทศวรรษ องค์การนิรโทษกรรมสากลได้ออกมาเปิดเผยว่าอย่างน้อยมี 200 คน พลเรือนชาวมุสลิมที่ถูกสังหาร โดยกลุ่มหัวรุนแรงชาวคริสต์เตียน

ชาวคริสต์เตียนได้เคลื่อนอพยพจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง ที่มีเป้าหมายพุ่งไปยังสถานที่ศาสนสถานของชาวมุสลิมในแอฟริกากลาง กลุ่มหัวรุนแรงชาวคริสต์เตียนได้เข่นฆ่าชาวมุสลิมและทำการปล้นข้าวของของพวกเขา” จากจำนวนมัสยิดที่มีอยู่ทั้ง 36 หลัง จนถึงตอนนี้เหลือไม่ถึงสิบหลังโดยประมาณ” อิหม่ามอูมัร โคบีนีย์ ลายามา ผู้นำมุสลิมในแอฟริกากลางได้เปิดเผยกับสำนักข่าว Anadolu Agency (02/12)

ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ชาวมุสลิมนับพันคนที่หนีความหวาดกลัวจากการถูกฆ่าตาย การปล้น และการเหยียบหยาม โดยกลุ่มหัวรุนแรงชาวคริสต์เตียนติดอาวุธที่เรียกตัวเองว่า anti-Balaka อย่างไรก็ตามถึงแม้การคุกคามต่อศาสนสถานจะมีอยู่อย่างต่อเนื่องและเพิ่มขึ้น แต่ชาวมุสลิมในแอฟริกากลางยังได้พบ(อาศัย) มัสยิดในเขตกิโลเมตรที่ 5 สำหรับเป็นที่หลบภัยของชาวมุสลิมนับพันคนที่เหลือ

“เราเคยใช้ชีวิตอยู่อย่างสามัคคีกับชาวคริสตชนในประเทศนี้มาอย่างยาวนานหลายปี” มัรยัม หญิงชราคนหนึ่งที่ได้อาศัยหลบภัยอยู่ที่มัสยิดกิโลเมตรที่ 5 ได้กล่าวกับ Anadolu Agency

“เราไม่รู้ว่าใครกันแน่ที่ได้ปลูกฝังความคิดให้กับพวกเขาในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในครั้งนี้ นี่คือประเทศของเรา แต่พวกเขาได้บอกกับพวกเราให้ออกจากที่นี่หรือจะให้เขาฆ่าพวกเราเสีย “มัรยัมกล่าวด้วยน้ำตานองหน้า

มัสยิดที่กิโลเมตรที่ 5 แห่งนี้ ได้ทำหน้าที่เป็นสถานที่อำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มผู้ลี้ภัย กลุ่มเด็กๆ จะเล่นอย่างสนุกสนาน ในขณะที่กลุ่มผู้หญิงจะคอยปรุงอาหาร ส่วนกลุ่มผู้ชายจะคอยลาดตระเวนเพื่อดูแลความปลอดภัย

การจะอพยพสำหรับชาวมุสลิมแอฟริกากลางมันไม่ใช่เรื่องงายเลย อย่างกรณีชาวมุสลิมสามคน ที่ถูกฆ่าตายด้วยของมีคมที่ตลาดใหญ่ในเมืองบังกี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ที่กำลังอยู่ในระหว่างการเดินทางเพื่อลี้ภัย

ซึ่งชาวมุสลิมทั้งสามคนดังกล่าวขณะกำลังนั่งอยู่ในรถแท็กซี่เพื่อไปยังฐานทหารที่อยู่ใกล้กับสนามบินบังกี ซึ่งจู่ๆ คนขับได้ขับรถชิดขอบทาง และได้ตะโกนบอกไปยังชาวคริสต์เตียนว่า เขากำลังบรรทุกผู้โดยสารมุสลิม ซึ่งในเขตสนามบินบังกีแห่งนี้ ปัจจุบันได้กลายเป็นสถานที่หลบภัยสำหรับชาวมุสลิมที่ถูกกลุ่มคริสต์เตียนตามพื้นที่เมืองต่างๆ คอยตามล่า

พวกเขาถูกลากออกมาจากรถแท็กซี่และฟันตายด้วยอาวุธที่แหลมคม และกลุ่มคริสต์เตียนดังกล่าวก็ได้เผ่นหนีอย่างทันท่วงที พร้อมกับการมาถึงของเจ้าหน้าที่แคเมอรูนที่เป็นกองกำลังรักษาสันติภาพในแอฟริกา (MIISKA)

สาธารณรัฐแอฟริกากลางเป็นประเทศหนึ่งที่ไม่ได้มีแนวชายแดนติดกับทะเลแต่กลับอุดมไปด้วยแร่ธาตุ ซึ่งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคมปีที่ผ่านมา เกิดขึ้นเมื่อกลุ่มกบฏที่จะคิดจะล้มล้างรัฐบาล François Bozizé ซึ่งเป็นชาวคริสต์เตียนที่เข้ามาสู่อำนาจหลังการทำรัฐประหารเมื่อปี 2003

เมื่อเดือนมกราคม แคทเธอรี แซมบ้า-แพนซา นายกเทศมนตรีของเมืองบังกี ได้สาบานเข้ารับตำแหน่งในฐานะประธานาธิบดีหญิงคนแรกของแอฟริกากลาง ซึ่งมาแทนที่ มิเชล โจโทเดีย ที่เป็นประธานาธิบดีมุสลิมคนแรกของประเทศนับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี 1960 ที่ได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อก่อนหน้านี้เพราะแรงกดดันจากระหว่างประเทศและในภูมิภาค

ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา กลุ่มหัวรุนแรงคริสต์เตียน ได้บุกเข้าไปในบ้านของชาวมุสลิม ได้ฆ่าเด็กและสตรีและได้ปล้นสะดมและทำลายทรัพย์สิน

พร้อมๆกับการฆาตกรรม การลักพาตัว การซ้อมทรมาน และการจับกุมคุมขังโดยไม่เลือกหน้าในแอฟริกากลาง ที่กำลังเผชิญกับความขัดแย้งอย่างรุนแรง และทางสหประชาชาติยังได้พบหลักฐานการกระทำชำเราทางเพศต่อกลุ่มผู้หญิงมุสลิมอีกด้วย

ความโหดร้ายที่ชาวมุสลิมในแอฟริกากลางกำลังเผชิญอยู่ เกิดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอนอย่างเป็นระบบควบคู่กับกองกำลังรักษาสันติภาพฝรั่งเศสที่เกี่ยวข้อง เลขาธิการคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศ คาลิด อับดุรเราะห์มาน ชัยยิ ได้เรียกร้องให้ทางสหภาพยุโรปออกมาตรการกดดันต่อฝรั่งเศสที่ให้หยุดการกระทำที่ไม่เหมาะสมกับชาวมุสลิมในแอฟริกากลาง

คาลิดได้กล่าวว่าการสังหารหมู่ที่เกิดขึ้นกับชาวมุสลิมในแอฟริกากลาง เกิดจากการร่วมมือของกลุ่มคริสต์เตียนหัวรุนแรงกับกองกำลังของรัฐบาลและกองกำลังทหารฝรั่งเศส ที่มาทำหน้าที่ในฐานะกองกำลังรักษาสันติภาพและการป้องปรามเหตุนองเลือดที่อาจเกิดขึ้นภายในประเทศ

การเปิดเผยครั้งนี้ อาศัยคำให้การของพยานบุคคลที่สามารถเชื่อมประสานกับทางแอฟริกากลาง ตามคำให้การของพยานดังกล่าวกล่าวว่า การฆาตกรรมหมู่ถูกดำเนินการอย่างมีระบบและป่าเถื่อน ชาวมุสลิมถูกเผาทำลาย ถูกตัดคอ อวัยวะเพศถูกทำลายจนเสียชีวิต หลายร้อยพันครอบครัวของชาวมุสลิมที่กลายเป็นเหยื่อและหลายแสนคนที่ได้พลัดถิ่นไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

ตามที่คาลิดเปิดเผย หนึ่งในหลักฐานที่เชื่อว่ากองกำลังทหารฝรั่งเศสได้มีส่วนร่วมของกองทหารฝรั่งเศสก็คือ การยึดอาวุธของชาวมุสลิมที่ใช้ในการปกป้องตัวเองมากกว่า ซึ่งหลังจากปราศจากอาวุธทำให้กลุ่มคริสต์เตียนหัวรุนแรงได้เข้ามารุกรานและเข่นฆ่าพวกเขาได้อย่างง่ายดาย

นิตยสารการเมืองระดับโลก Foreign Policy ฉบับที่ 31 มกราคม 2014 ตามที่ได้รายงานโดยสำนักข่าว dakwatuna เกี่ยวกับวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมที่เกิดขึ้นในแอฟริกากลาง ซึ่งตามรายงานเหล่านี้เป็นการสรุปในเว็บไซต์ elmarsad ซึ่งความเป็นอยู่ชาวมุสลิมถูกข่มขู่ อันเนื่องมาจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นอย่างขนานใหญ่โดยกลุ่มคริสต์เตียนหัวรุนแรง ซึ่งพวกเขาได้ปล้นสะดมและเผาบ้านเรือน พร้อมๆ กับการทำลายมัสยิด ซึ่งพวกเขาได้ตระโกนกู่ก้องว่า”เราไม่ต้องการให้มีคนมุสลิมอยู่ที่นี่ เราจะฆ่าให้หมด ประเทศนี้เป็นของชาวคริสต์”

รายชื่อผู้ที่เสียชีวิตที่อยู่ในห้องชันสูตรศพจะเป็นปึกหนา การชันสูตรร่างกายจะพบสาเหตุของการตายในรูปแบบต่างๆ เช่นการตัดหัว การทรมาน การตัดสินลงโทษโดยปราศจากการไต่สวนทางกฎหมาย ถูกยิง ถูกระเบิด โดนไฟไหม้ และอื่นๆ

จากนั้นศพถูกทั้งหมดจะถูกฝังเพียงโดยไม่มีการจดบันทึกรายชื่อและเอกลักษณ์ตัวตนของพวกเขา ตามข้อมูลของสำนักงานชันสูตรศพกล่าวว่ามีเป็นหมื่นรายแล้วที่ได้เสียชีวิตในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาในวิกฤตความขัดแย้งดังกล่าว

Koalisi Seleka ถือเป็นกลุ่มต่อสู้ชาวมุสลิมที่เคยปิดล้อมล้อมเมืองบังกีและโค่นล้มประธานาธิบดี Bozizé เมื่อช่วงต้นปี 2013 แต่หลังจากนั้นเพียงไม่นานพวกเขาได้สูญเสียอำนาจและดินแดนลง ในขณะที่กลุ่มชาวคริสต์เตียนหัวรุนแรงได้เรียกตัวเองว่า “กองกำลังต่อสู้ด้วยมีดพร้า” นับวันได้เพิ่มการโจมตีในพื้นที่ของชาวมุสลิมที่ไม่มีกองกำลังกลุ่มต่อสู้มุสลิมอาศัยอยู่

ความพยายามของสหประชาชาติเพื่อลดความตึงเครียดที่เกิดขึ้นได้มีขึ้น ด้วยการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพ แต่ถึงกระนั้นเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ในขณะที่กองกำลังรักษาสันติภาพได้ฝักใฝ่กับกลุ่มคริสต์เตียน ซึ่งเมื่อวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมา (ปี2014) เป็นเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลดอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในเมืองบูยาลา

ฟาตีมะฮ์ ยามาสา คุณแม่ลูกออ่นคนหนึ่ง ที่กำลังนั่งอยู่ในรถโดยสารสาธารณะในระหว่างการเดินทาง รถคันดังกล่าวถูกกลุ่มคริสต์เตียนหัวรุนแรงสั่งหยุดเพื่อทำการตรวจสอบ ซึ่งเธอเองเสมือนเชื่อว่าคงต้องตายแน่ๆ เธอได้ยื่นลูกที่มีอายุเจ็ดเดือนให้กับผู้หญิงชาวคริสต์คนหนึ่งที่นั่งอยู่ติดกับเธออย่างรวดเร็ว ซึ่งเธอก็ได้จากไปในสภาพที่เต็มไปด้วยบาดแผลจากมีดพร้าพร้อมกับคุณแม่อีกสองคนและเด็กสี่คน

นั่นเป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในเมืองบูยาลา เมื่อครั้นที่กลุ่มคริสต์เตียนหัวรุนแรงสามารถยึดครองเมืองแห่งนี้ พวกเขาจะกราดชาวมุสลิมอย่างบ้าคลั่ง ศพจะถูกโยนลงไปในบ่อน้ำ ซึ่งหน่วยงานสภากาชาดที่จะทำการเคลื่อนย้ายศพดังกล่าว ซึ่งน้ำในบ่อดังกล่าวไม่สามารถที่จะนำมาบริโภคได้อีกต่อไปจนต้องปิดตายในที่สุด

ในค่ายผู้ลี้ภัยแห่งหนึ่งนายดาร์โย โซบะ(Dayro Soba) อายุ 25 ปี ได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เขาถูกยิงเข้าที่หัวเข่าขณะที่กลุ่มคริสต์เตียนหัวรุนแรงได้จู่โจมเข้ามายังหมู่บ้านของเขา พี่สาว คุณพ่อ และลุงของเขาได้เสียชีวิตลงจากการถูกฟัดด้วยพร้า พร้อมกับมุสลิมอีก 34 คนรวมทั้งหัวหน้าหมู่บ้านอีกด้วย

ประชาคมระหว่างประเทศเสมือนว่าไม่ต้องการที่จะรับรู้ เลขาธิการสหประชาชาตินายบัน คีมูน เมื่อเดือนก่อนหน้านี้ก็ได้วิพากษ์ไปแค่นั่นเท่านั้น ที่ได้แสดงความกังวลต่อความขัดแย้งทางศาสนาในประเทศดังกล่าว ที่อาจนำมาซึ่งการแยกแบ่งประเทศออกเป็นสองฝั่ง คืออิสลามแลคริสต์ “ชาวมุสลิมและชาวคริสต์ถูกฆ่าตายและถูกบังคับให้หนีออกนอกประเทศ ที่อาจนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรของประเทศดังกล่าว” บันคีมูนกล่าว

แปลจาก http://www.suara-islam.com/read/index/10165/-Muslim-Afrika-Tengah-Dibantai–Dunia-Membisu