berita – ภาษามลายู ภาษาอินโดนีเซียถูกจัดอันดับเป็นหนึ่งใน 10 อันดับภาษาที่สำคัญที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก
การจัดอันดับดังกล่าวถูกจัดอันดับโดย Ethnologue: สถาบันภาษาของโลก (Languages of the World) ซึ่งเป็นศูนย์ภาษาในโลกออนไลน์ที่ควบคุมโดยสถาบันภาษาศาสตร์ภาคฤดูร้อน (SIL International)
ภาษามลายูยังได้รับการบันทึกว่าเป็นหนึ่งใน 10 ภาษาหลักที่สำคัญที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในโลกอินเทอร์เน็ต โดย Internet World Statistik ประจำปี 2015
“ภาษามลายูอยู่ในอันดับที่ 8 และติดอันดับนำหน้าภาษาฝรั่งเศสซึ่งได้รับการจัดอันดับอยู่ที่อันดับ 9 ซึ่งด้วยศักยภาพดังกล่าว ภาษามลายู ภาษาอินโดนีเซีย จำเป็นที่จะต้องช่วยกันรณรงค์และผลักดันให้เป็นภาษาที่มีคุณลักษณะเฉพาะที่ สำคัญของประชาคมอาเซียนต่อไป” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมาเลเซียมูฮัมหมัดซีร คอลิด ได้กล่าวไว้ในช่วงพิธีเปิดสมัยประชุมวิสามัญของสภาภาษาแห่งบรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย (Majelis Bahasa Brunei Darussalam – Indonesia – Malaysia: MABBIM) และการสัมมนาทางภาษาเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2016 ที่ผ่านมา
สาสน์ดังกล่าวถูกอ่านโดยเลขาธิการรัฐมนตรีดร.มาดีนะฮ์ มูฮัมหมัด
นายมูฮัมหมัดซีรกล่าวว่า ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ ที่ประกอบไปด้วยบรรดาประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนที่มีคุณลักษณะเฉพาะเป็นของ ตนเองบวกกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของตนเอง
“หนึ่งในคุณลักษณะที่สำคัญ ของอาเซียนคือภาษามลายู อินโดนีเซีย ที่เป็นภาษาที่มีความโดดเด่นที่สุดและที่มีผู้ใช้กันเป็นจำนวนมาก” เขากล่าว
ในขณะเดียวกันนายมูฮัมหมัดซีรกล่าวว่า องค์กรมาบิม (ความร่วมมือด้านภาษาบรูไน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1972 ไม่ได้มีแค่บทบาทด้านภาษาแค่ในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้เผย แพร่ส่งเสริมและพัฒนาภาษาของชาติเท่านั้น แต่ยังเปรียบเสมือนว่าเป็นสถาบันหนึ่งที่คอยเสริมสร้างความเป็นมิตรภาพและ ความเป็นพี่น้องของสามวัฒนธรรมอีกด้วย ที่วางอยู่บนหลักการของความร่วมมือและการทำงานร่วมกันผ่านภาษาที่คล้ายกัน
จะเห็นได้ชัดว่า หัวข้อในการสัมมนาสำหรับการอภิปรายในปีนี้ก็คือ การตั้งชื่อสถานที่ในที่สาธารณะอันเป็นสิ่งสำคัญของประเทศและเป็นเรื่องที่ น่าสนใจสำหรับการแลกเปลี่ยนในครั้งนี้
“เราต้องตระหนักร่วมกันว่า การตั้งชื่อสถานที่สาธารณะที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบนป้ายโฆษณาต่างๆ ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในการสร้างภาพลักษณ์ให้กับประเทศของเรา
“นั่นก็คือการใช้ภาษาที่ถูกต้องและดี ที่ไม่ได้มีการผสมผสานของอิทธิพลของภาษาต่างประเทศ ควรที่จะเน้นย้ำ เพื่อเป็นการยกระดับความรักในเอกลักษณ์อันเป็นตัวตนประจำชาติของเรา” เขากล่าว