หน้าแรก ข่าวต่างประเทศ

เรืออินโดนีเซียสองลำพร้อมลูกเรือ 10 คนถูกจับเป็นตัวประกันทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์

แฟ้มภาพ เรือลากของอินโดนีเซีย

bbc – เรืออินโดนีเซียจำนวนสองลำคือเรือพระพรหม 12 (Brahma 12 ) และเรืออานันท์ 12 (Anand 12) ถูกปล้นเพื่อเรียกค่าไถโดยกลุ่มติดอาวุธที่อ้างว่าเป็นกลุ่มอาบูไซยาฟทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งเรือทั้งสองลำดังกล่าวได้บรรทุกถ่านหินจำนวน 7,000 ตัน และพร้อมลูกเรือเรือสัญชาติอินโดนีเซียจำนวน 10 คน

“ช่วงที่เกิดการปล้นเรือ เรือสองลำดังกล่าวอยู่ในระหว่างการเดินทางจากสุไหงปูติง (Sungai Puting) ทางตอนใต้ของกาลิมันตันไปยังเมืองบาตางัส (Batangas) ทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์” โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอัรมานาตา นาซีร์ เปิดเผยกับสำนักข่าวบีบีอินโดนีเซียเมื่อวันอังคาร (29/03)

หัวหน้าสำนักงานสานสนเทศน์ของกองทัพเรืออินโดนีเซีย พันเรือเอก เอดี ซูชิปโต กล่าวถึงเหตุการณ์การปล้นเรือที่เกิดขึ้นใน “น่านน้ำตาวี-ตาวี” ทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ครั้งนี้

ตามที่พันเรือเอก เอดีเปิดเผยว่า “ไม่เคยมีเหตุการณ์เช่นนี้ (การปล้น) เกิดขึ้นกับเรืออินโดนีเซียในบริเวณดังกล่าว”
คำถามก็คือว่า เรือดังกล่าวถูกปล้นไปเมื่อใด ซึ่งทางรัฐบาลยืนยันว่ายังไม่ทราบข้อมูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน สิ่งที่รู้ก็คือเรือดังกล่าวได้แล่นออกจากอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา และเพิ่งได้รับรายงานเรือถูกปล้นเพียงไม่กี่วันที่ผ่านมา

“ทางเจ้าของเรือดังกล่าว เพิ่งทราบเกี่ยวกับที่เรือถูกปล้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคมนี้เอง เมื่อได้รับโทรศัพท์จากผู้ที่อ้างว่าเป็นกลุ่มอาบูไซยาฟ” โฆษกกระทรวงต่างประเทศกล่าว

กลุ่มติดอาวุธอาบูไซยาฟถือเป็นขบวนการต่อสู้เพื่อการปลดปล่อยที่ประกอบด้วยกองกำลังอาสาสมัครอิสลามสุดโต่ง ที่มีที่มั่นรอบๆ หมู่เกาะทางตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งก็คือ หมู่เกาะโจโล บาซิลัน และมินดาเนา

ลูกเรือถูกจับเป็นตัวประกัน

กระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซียได้แจ้งว่า ขณะนี้เรือพรหม 12 ได้รับการปล่อยแล้ว แต่ขณะนี้ยังอยู่ในการดูแลของเจ้าหน้าที่ฟิลิปปินส์

อย่างไรก็ตามส่วนเรืออานันท์ 12 และลูกเรือจำนวน 10 คน ยังคงอยู่ในการควบคุมของกลุ่มดังกล่าว “ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าพวกเขาอยู่ ณ ที่ใด” โฆษกกระทรวงต่างประเทศกล่าว

กองกำลังทหารฟิลิปปินส์ในช่วงหนึ่งกับภารกิจเพื่อปราบปรามกลุ่มอาบูไซยาฟ

อัรมานาตา โฆษกกระทรวงต่างประเทศเปิดเผยว่า “ในสองครั้งที่ได้พูดคุยทางโทรศัพท์ระหว่างกลุ่มอาบูไซยาฟและตัวประกันตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งพวกเขาได้เรียกค่าคุ้มครองเป็นเงินจำนวนหนึ่ง”

กระทรวงการต่างประเทศยังไม่ได้รับการติดต่อถึงจำนวนเงินค่าคุ้มครองที่พวกเขาเรียกร้องที่แน่ชัด แต่อาศัยการรายงานข้อมูลที่น่าเชื่อถือว่า ทางกลุ่มอาบูไซยาฟได้มีการเรียกร้องค่าคุ้มครองเป็นเงินจำนวน 50 ล้านเปโซ หรือเท่ากับ 14,2 พันล้านรูเปีย ซึ่งมีกำหนดเส้นตายในวันที่ 31 มีนาคมนี้

“ทางกระทรวงการต่างต่างประเทศได้ดำเนินการปรึกษากับหลายๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศอินโดนีเซียและประเทศฟิลิปปินส์” อัรมานาตากล่าว

ในขณะเดียวกันทางกองทัพเรืออินโดนีเซีย เปิดเผยว่าพร้อมที่จะสั่งกำลังทหาร “หากว่ามีการร้องขอความช่วยเหลือในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว”

ตามที่หัวหน้าสำนักงานสานสนเทศน์ของกองทัพเรืออินโดนีเซีย พันเรือเอก เอดี ซูชิปโต กล่าวว่า ปกติจะมีการลาดตระเวนเพื่อปกป้องอธิปไตยเหนือน่านน้ำของอินโดนีเซียในบริเวณระหว่างพรมแดนที่ติดกับประเทศฟิลิปปินส์

การลาดตระเวนดังกล่าวจะมีการใช้เรือรบจำนวนสี่ลำด้วยกัน คือ เรือลาดตระเวนซุราบายา (KRI Surabaya) เรือลาดตระเวนอาจัก (KRI Ajak) เรือลาดตระเวนอาร์มี่ (KRI Ami) และเรือลาดตระเวน (KRI Mandau)
“นอกจากนี้ยังมีหน่วยคอมมานโดมนุษย์กบอีกสองทีม”