
BBC – นายกรัฐมนตรีอิสราเอลนายเบนจามิน เนทันยาฮู เรียกร้องให้มีการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตใหม่ระหว่างรัฐบาลอิสราเอลและรัฐบาลอินโดนีเซีย
ตามที่หนังสือพิมพ์เดอะไทมส์ของอิสราเอลได้รายงานว่า นายกรัฐมนตรีเนทันยาฮู ได้กล่าวเรียกร้องกับสำนักข่าวจากประเทศอินโดนีเซียที่ได้มาเยือนอิสราเอลเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (28/03)
เขากล่าวว่าไม่มีเหตุผลอะไรอีกแล้วสำหรับอิสราเอลและอินโดนีเซียที่จะไม่สร้างสานความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน
“มันถึงแล้วเวลาที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงระดับความสัมพันธ์ของเรา เพราะเหตุผลที่เป็นอุปสรรคดังกล่าว ไม่มีความเป็นเหตุและผลพอ” เนทันยาฮูกล่าวว่า
เขากล่าวอีกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างเยรูซาเล็มและจาการ์ตา จะเป็นพันธมิตรร่วมกันที่อาจสนับสนุนโดยผลประโยชน์ร่วมกันของเรา นั่นก็คือภัยคุกคามจากภัยก่อการร้ายและปัจจัยทางเศรษฐกิจ
“มันถึงเวลาแล้วที่เราจะยกระดับสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่างประเทศอินโดนีเซียและอิสราเอล เรายังมีโอกาสอีกมากมายสำหรับความร่วมมือร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเทคโนโลยี ทรัพยากรน้ำ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย” เนทันยาฮูกล่าว
ข้อตกลงลับร่วมกัน
นายกรัฐมนตรีเนทันยาฮูได้เรียกร้องให้ชาติอิสราเอลและอินโดนีเซียได้สร้างความสัมพันธ์ทางการทูต หลังจาก 10 วันที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิสราเอล ซีปี โฮโตเวลี (Tzipi Hotovely) ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลข้อตกลงลับระหว่างอิสราเอลและอินโดนีเซีย
โฮโตเวลี ยอมรับว่าทางรัฐบาลอิสราเอลได้มีการส่งเจ้าหน้าที่อาวุโสไปยังกรุงจาการ์ตาจริง เพื่อหารือเกี่ยวกับแผนการเดินทางของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ที่เมืองรามัลลาฮ์ ในเขตเวสต์แบงก์ เพื่อแต่ตั้งผู้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ของอินโดนีเซียในปาเลสไตน์
ในการพูดคุยดังกล่าว อย่างที่นางโฮโตเวลีออกมาเปิดเผยว่า ทางการอิสราเอลและอินโดนีเซียได้ตกลงกันว่านางเรทโน มาร์ซูดีย์ ควรที่จะไปเยือนอิสราเอลก่อนเป็นลำดับแรก ก่อนที่จะเดินทางไปยังเมืองรามัลลาฮ์ แต่เอาเข้าจริงนางเรทโน ไม่ได้ปฏิบัติเป็นไปตามข้อตกลงดังกล่าว แต่ได้เดินทางไปยังรามัลลาฮ์โดยไม่ได้ไปเยือนอิสราเอลแต่อย่างใด ดังนั้นโฮโตเวลีกล่าวว่าทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ของอิสราเอลจึงไม่อนุญาตให้เข้าไปยังเมืองรามัลลาฮ์ได้

การออกมายอมรับของนางโฮโตเวลี ถูกตอบโต้จากกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียโดยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียอัรมานาตา นาซีร ในทันที
“ไม่เคยมีการพูดคุยใด ๆ นับประสาอะไรกับการหารือตกลงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ที่จะไปเยือนกรุงเยรูซาเล็ม” โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียอัรมานาตา นาซีร เปิดเผยกับทางบีบีซีอินโดนีเซียเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (3/18)
อัรมานาตา ยืนยันว่าแผนการการเตรียมการไปเยือนเมืองรามัลลาฮ์ของนางเรทโน เป็นการประสานงานอย่างเป็นทางการผ่านทางการทูต ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนธันวาคม 2015 เมื่อปีที่แล้ว โดยเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำรัฐปาเลสไตน์ สถานทูตอินโดนีเซียในกรุงอัมมานแห่งจอร์แดน กับทางปาเลสไตน์และจอร์แดน
กล่าวกันว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศอินโดนีเซียได้เดินทางโดยใช้เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์เดินทางจากอัมมานสู่เมืองรามัลลาฮ์
“ไม่มีการผ่านจุดตรวจ (ด่าน) ของเจ้าหน้าที่อิสราเอลแต่อย่างใด” อัรมาตา กล่าว

ความสัมพันธ์ทวิภาคี
จริงอยู่ถึงแม้ว่าอินโดนีเซียและอิสราเอลไม่เคยมีความสัมพันธ์ทางการทูต แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองประเทศกลับมีความสัมพันธ์ทางการค้ามาตั้งแต่อดีต
ในบันทึกของสำนักงานสถิติกลาง (BPS) ประเทศอินโดนีเซียได้ทำการส่งออกไปยังประเทศอิสราเอลและนำเข้าสินค้าจากประเทศอิสราเอลมาตั้งแต่ปี 2000
ในปี 2015 อินโดนีเซียได้ส่งออกสินค้าต่างๆ ไปยังประเทศอิสราเอลเป็นมูลค่า 116.7 ล้านเหรียญสหรัฐ และจำนวนมูลค่าได้ลดลงจากปีก่อนหน้านี้ ในปี 2014 ประเทศอินโดนีเซียส่งออกไปยังอิสราเอลเป็นมูลค่ามากถึง 127.2 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในด้านการนำเข้า ประเทศอินโดนีเซียมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นในปี 2015 อินโดนีเซียนำเข้าสินค้าจากประเทศอิสราเอลมีเป็นมูลค่ามากถึง 77.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ล้าน เพิ่มขึ้นจาก 13,01 ล้านรูเปีย ในปี 2014
ในขณะเดียวกันในการกล่าวปิดการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศความร่วมมืออิสลาม (OIC) ครั้งวิสามัญ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโจโกวี วีโดโด ยังเรียกร้องให้มีการคว่ำบาตรสินค้าอิสราเอลที่ผลิตในดินแดนที่ถูกยึดครอง
ประธานาธิบดีโจโกวี วีโดโด ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่าจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความกดดันเรียกร้องในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ให้ความคุ้มครองระหว่างประเทศให้กับชาวปาเลสไตน์ “และกำหนดวันสิ้นสุดการยึดครองของอิสราเอล” เขากล่าว