
utusan – กลุ่มอาสาสมัครอามานปาเลสไตน์ได้เดินทางถึงค่ายผู้อพยพแห่งเมืองยัรมูกได้อย่างสำเร็จ ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ที่มีความหล่อแหลมที่สุด นับตั้งแต่ได้เกิดสงครามการสู้รบในซีเรียได้ปะทุขึ้น
พวกเขาที่ได้เดินทางในภารกิจช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมครั้งที่แปดนี้ ได้เหยียบเท้าในค่ายดังกล่าวโดยเข้ามาทางทิศเหนือ ที่เป็นเขตควบคุมของกองทัพรัฐบาลหลังจากที่ทีมงานให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเสร็จจากภารกิจละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิดอัลมาญิด
โฆษกทหารคนหนึ่งกล่าวว่า ทางรัฐบาลซีเรียสามารถดูแลค่ายผู้อพยพประมาณ 28 เปอร์เซ็นต์ของค่ายผู้อพยพที่กว้างประมาณ 2.11 กิโลเมตร
“ยังพบว่ายังมีอีก 5,000 คนที่ถูกกักบริเวณทางภาคใต้ของเมืองยัรมูก พวกเขาไม่สามารถที่จะออกมาได้ เพราะถูกทำให้เป็นตัวประกัน โดยกลุ่มต่อต้านรัฐบาลที่สามารถควบคุมค่ายดังกล่าว
“ด้วยเหตุนี้ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถที่จะควบคุมค่ายอพยพที่มีอยู่ได้ทั้งหมด เพราะไม่ต้องการให้เกิดอันตรายกับชีวิตของพลเรือน” โฆษกทหารกกล่าว
ค่ายผู้อพยพที่เมืองยัรมูก ถือเป็นเมืองแห่งหนึ่ง ที่เป็นที่พำนักของบรรดาผู้อพยพที่ใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรียที่สร้างขึ้นเมื่อปี 1957
ก่อนที่จะเกิดสงครามค่ายแห่งนี้มีผู้อพยพในที่ต่างๆ จำนวน 1.2 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วยผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ และประชาชนชาวซีเรียที่อาศัยอยู่ในค่ายดังกล่าว
จากการสังเกตการณ์จะเห็นว่า บ้านเรือน ตึก ที่อยู่ในเขตควบคุมของทางรัฐบาลถูกมีสภาพความเสียหาย และร่องรอยของการต่อสู้ที่เห็นได้ชัด ที่มีรูขนาดใหญ่ ที่สามารถมองเห็นได้ทั่วไปบนผนังของอาคาร
“อาคารที่พังราบลงมาและถูกเผาทำลาย เป็นฝีมือของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสกัดไม่ให้ชาวปาเลสไตน์ได้กลับมายังที่นี่อีก” โฆษกทหารได้อธิบาย
โฆษกทหารยังบอกอีกว่า มีการตรวจพบอุโมงค์ใต้ดินจำนวนเจ็ดที่ด้วยกัน ที่ถูกควบคุมโดยกองทัพรัฐบาลในบริเวณดังกล่าว
“อุโมงค์ดังกล่าวถูกขุดโดยฝ่ายกองกำลังต่อต้านรัฐบาลที่มีความยาวประมาณ 400 เมตร ก่อนที่จะเกิดสงคราม” โฆษกทหารกล่าว
ซึ่งทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ได้ทำการติดตั้งกล้องวงจรปิดภายในอุโมงค์ดังกล่าว
และทหารของซีเรียยังขอความช่วยเหลือให้ทีมงานแพทย์ผ่าตัดและผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกในภารกิจครั้งนี้ ดร. ซัยนุล นีซาม ฟิตรีย์ ช่วยตรวจอาการของสองนายทหารซีเรียอีกด้วย
“ทหารคนหนึ่งเป็นโรคผิวหนังและอีกคนเป็นโรคเกี่ยวกับการติดเชื้อบริเวณเท้า ที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกลอบยิง พวกเขาจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด มิเช่นนั้นอาจส่งผลกระทบที่เลวร้ายยิ่งขึ้น” ดร. ซัยนุล กล่าว
ในขณะที่ด้านนอกประตูทางเข้าของค่ายยัรมูก พบว่ามีประชานชาวปาเลสไตน์กลุ่มหนึ่งที่กำลังเฝ้ารอการเปิดประตูเพื่ออนุญาตเข้าตรวจหาบ้านพักที่พวกเขาละทิ้งมานาน
หนึ่งในกลุ่มของพวกเขา นายมูฮำหมัด เชค อาลี เปิดเผยว่าเขามีโอกาสที่จะอพยพพร้อมกับลูกอีกสองคนของเธอไปยังประเทศเยอรมนี แต่เธอเลือกที่จะขออยู่ที่นี่