ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาของมหาวิทยาลัยรัฐสุราบายา (Unesa) ดร.ซูฮาร์โตโน มองว่าภาษาอินโดนีเซียมีศักยภาพพอที่จะเป็นภาษาอาเซียนในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ Asean Economics Community (AEC)
“มีสองภาษาเท่านั้นที่อาจเป็นภาษาอาเซียน ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซียและภาษามลายู” อาจารย์ประจำคณะภาษาศาสตร์และวรรณคดีอินโดนีเซียแห่งมหาวิทยาลัยรัฐสุราบายาได้กล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ (8/1/2016)
แต่เขาเชื่อว่าภาษาอินโดนีเซียมีศักยภาพมากกว่าเมื่อเทียบกับภาษามลายู เพราะอย่างน้อยมีสี่เหตุผลทางวิชาการสนับสนุน ถึงแม้ว่าทางรัฐบาลจะยังไม่ได้ดำเนินการเจรจาทางการทูตก็ตาม
“ทั้งสี่เหตุผลดังกล่าวก็คือ ภาษาอินโดนีเซียได้รับการศึกษาจากคนในหลายๆ ประเทศ สามารถที่จะเข้าใจได้ง่ายที่มีการแพร่หลายอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง และบางคำศัพท์ของอินโดนีเซียมีอยู่ในภาษาของแต่ละประเทศในอาเซียนอีกด้วย” เขากล่าวว่า
“ความแตกต่างอยู่ที่การแพร่หลายของภาษาอินโดนีเซียที่จะไม่กระจัดกระจายเหมือนกับภาษามลายู ที่มีทั้งในประเทศมาเลเซีย บรูไน ทางภาคใต้ของไทย และทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ แต่ภาษาอินโดนีเซียในประเทศอินโดนีเซียเอง ก็มีจำนวนผู้ใช้มากถึงร้อยละ 60 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรในอาเซียน”
“นอกจากนี้ ถึงแม้ภาษาอินโดนีเซียจะไม่แพร่หลายเหมือนเช่นภาษามลายู แต่คำศัพท์อินโดนีเซียจะมีอยู่ในภาษาของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน เช่นคำว่า ‘candra’ ในกัมพูชาและอินโดนีเซียหมายถึงดวงจันทร์เหมือนกัน หรือคำว่า ‘bumi’ หรือ ในประเทศไทยหมายถึง ‘land’ มีความคล้ายคลึงกับอินโดนีเซียคำว่า แผ่นดินหรือดิน” เขากล่าว
“หนำซ้ำคำศัพท์ในประเทศไทยมีความคล้ายคลึงกับภาษาพื้นเมืองของอินโดนีเซียอีกด้วย เช่น คำว่า ‘suwarna’ คำศัพท์ไทยหมายถึงทอง และในภาษาชวาก็หมายถึงทองเช่นกัน หรือคำว่าโกดัง ‘kodang’ ในประเทศไทย ก็เหมือนกับคำว่า ‘gudang’ในภาษาของเรา” เขากล่าว
ด้วยเหตุนี้แม้ภาษาอินโดนีเซียที่ยังไม่แพร่หลายเผยแพร่เหมือนอย่างภาษามลายู จะได้รับการยอมรับโดยง่ายมากขึ้น และได้เป็นภาษาแห่งการสื่อสารของทั้งสามประเทศมานานแล้ว นั่นคือ อินโดนีเซีย บรูไนดารุสซาลาม และมาเลเซีย
“อีกทั้งผมได้ยินมาว่ามีบางประเทศในกลุ่มอาเซียน ที่ได้ศึกษาภาษาอินโดนีเซียอย่างกว้างขวาง เพื่อโอกาสของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งภาษาอินโดนีเซียในต่างประเทศนั้น มีการเรียนการสอนอย่างกว้างขวางเช่นในประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และประเทศอื่น ๆในโลก” เขากล่าว
ในทำนองเดียวกัน ท่าน ศ.วาโซโน อธิการบดีของมหาวิทยาลัยรัฐุราบายา(Unesa) ได้สนับสนุนความพยายามของรัฐบาลในการเจรจาต่อรองกับประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อให้ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาอาเซียน
“มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ได้สนับสนุนให้ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาอาเซียน เนื่องจากผู้ใช้ภาษามลายูมีจำนวนมากถึง 60-70 เปอร์เซ็นต์ของประชากรของอาเซียนทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไนดารุสซาลาม” เขากล่าว
ที่มา http://www.relawanjokowi.com/2016/01/bikin-nangis-bacanya-jokowi-berhasil.html