8 เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมเสนอเชิงนโยบายต่อพรรคการเมือง จัดเวทีนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อพรรคการเมืองเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ โดย สภาประชาสังคมชายแดนใต้ ร่วมกับ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ห้องประชุมขวัญจุฑา 1 โรงแรมปาร์ควิวรีสอร์ท ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2562
กิจกรรมเวทีที่น่าสนใจโดย รศ.ดร.โคทม อารียา ผู้แทนสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล นายรอซิดี เลิศอาริยะพงษ์กุล เลขาธิการสภาประชาสังคมชายแดนใต้บรรยาย “ข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์สันติภาพชายแดนใต้” นายมูฮำมัดอายุบ ปาทาน ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ นำเสนอ “ข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์สันติภาพชายแดนใต้ต่อตัวแทนพรรคการเมือง”
ตัวแทน 8 กลุ่มเครือข่ายองค์กรได้แก่ 1) สภาประชาสังคมชายแดนใต้ 2) เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ (B4P) 3) กลุ่มถักทอสันติภาพ (กทส.) 4) คณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ (PAOW) 5) เครือข่ายปกป้องสิทธิเด็กจังหวัดชายแดนใต้ (CPN) 6) โครงการสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กและชุมชนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกระบวนการสันติวิธีใน จชต. (LEAP) 7) โครงการรวบรวมข้อเสนอแนะจากผู้นำศาสนาอิสลาม และ 8)โครงการสานเสวนานักการเมือง ยื่นข้อเสนอใน 8 ประเด็นหลัก ได้แก่ ความปลอดภัย, การพูดคุยสันติสุข, การจัดการทรัพยากรกับสิ่งแวดล้อม, การสื่อสารกับสังคม, การอยู่ร่วมกัน, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, การบริหารการปกครองและพัฒนา, และกระบวนการยุติธรรม
จากนั้นตัวแทนจาก 10 พรรคการเมืองให้ความเห็นต่อข้อเสนอและตัวแทนภาคประชาสังคมส่งข้อเสนอ 1.ผศ.ดร.วรวิทย์ บารู พรรคประชาชาติ 2.นายอันวาร์ สาและ พรรคประชาธิปัตย์ 3.นายอดิลัน อาลีอิสเฮาะ พรรคพลังประชารัฐ 4.นายอับดุลกอฮาร์ อาแวปูเต๊ะ พรรคภูมิใจไทย 5.นางสาวอนัตตา แข็งแรง พรรคเพื่อชาติ 6.นางสาวปาตีเมาะ เปาะอีแตดาโอะ พรรครวมพลังประชาชาติไทย 7.นายมะยูนัน มามะ พรรคพลังปวงชนไทย 8.นายประเสริฐ ราชนิยม พรรคอนาคตใหม่ 9.นายกรณ์ มีดี พรรคแผ่นดินธรรม 10.นายมะยูนัน มามะ พรรคพลังปวงชนไทย
สำหรับนโยบายของแต่ละพรรคคือ พรรคภูมิใจไทย ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาน ไม่สร้างวาทกรรมที่มีปัญหา ต้องเยียวยาจิตใจและอารมณ์ การแก้ปัญหายกระดับภาคประชาสังคมไปสู่ภาคการเมืองต่อไป
พรรคพลังปวงชนไทย สร้างความเข้มแข็งร.ร.ตาดีกา พรรคแผ่นดินไทย การใช้กฎหมายต้องเข้มข้น ใช้นโยบายคนพุทธคืนถิ่น สร้างนิคมไทยพุทธ สร้างอาชีพให้ชาวไทยพุทธ ตรวจสอบเจ้าหน้าที่ได้ ใช้จริยธรรมทางการเมือง พรรครรวมพลังประชาชาติไทย ประโยชน์ของคนชายแดนใต้ต้องมาก่อน สนับสนุนการพูดคุยสันติภาพ ดูแลจริยธรรมการเมือง ไม่ซื้อเสียง ใช้นโยบายที่มาจากชุมชนในการแก้ปัญหา
พรรคเพื่อชาติ การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ดูแลการศึกษาตั้งแต่อนุบาล พรรคอนาคตใหม่ การเมืองนำการทหาร ในการแก้ปัญหา ไม่ซื้อเสียงไม่ถอนทุน เข้าใจคนกลุ่มใหญ่และคนกลุ่มน้อยไปด้วยกัน พรรคประชาธิปัตย์ ประชาชนต้องเป็นใหญ่ ทุกฝ่ายีส่วนร่วมในการพูดคุยสันติภาพทุกเวที นโยบายมาจากประชาชนมีส่วนร่วม มีนโยบายความยั่งยืนภายในไทย และจัดทุนให้นร.ที่ขาดทุนทรัพย์
ในเวทีมีเสียงสะท้อนจากคนไทยพุทธคือ 1.ขอความมั่นคงในการอยู่ในพื้นที่ 2.ขอความปลอดภัยในพื้นที่ 3.การอยู่ร่วมแบบวิถีไทยพุทธและพหุวัฒนธรรม 4.ลดอารมณ์และผลกระทบของชาวไทยพุทธจังหวัดชายแดนภาคใต้
ผศ.ดร.วรวิทย์ บารู พรรคประชาชาติ กล่าวว่าเป็นข้อเสนอที่ดีมากๆ เรื่องแรกความปลอดภัย ตลอดเวลาที่ทำงานในพื้นที่ หาทางออกในปัญหาความไม่เข้าใจกันด้วยการแก้ปัญหาร่วมกันทุกฝ่าย พรรคประชาติให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน จะฟังทุกประเด็นที่สะท้อนมา ทางพรรคร่วมฟังมาตลอดแลเจะนำไปใช้ต่อไปแน่นอน
นายปกรณ์ มีดี พรรคแผ่นดินธรรม กล่าวต่อประเด็นนี้ว่าจะสร้างนิคมดูแลชาวไทยพุทธ การแก้ปัญหาคนร้ายด้วยการตรวจสอบดีเอ็นเอ หากเจ้าหน้าที่รัฐ กำนัน, ผู้ใหญ่บ้านหากมีพบพัวพันกับฝายขบวนการ ต้องตรวจสอบได้และปลดออกจากตำแหน่งทันที
นายอดิลัน อาลีอิศเฮาะ พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่าการแก้ไขปัญหาคือทำอย่างไรให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้ ในฐานะนักการเมือง ต้องหยิบทุกประเด็นมาแก้ปัญหาให้ได้ ประชาชนไม่เคยกลัวกฎหมายแต่กลัวผู้ที่ใช้กฎหมาย
ด้านนายอับดุลกอฮาร์ อาแวปูเต๊ะ พรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงแม่ทัพหญิงที่เป็นผู้วางยุทธศาสตร์ของพรรคว่า ไม่ทิ้งประเด็นผู้หญิงอย่างแน่นอน ด้านคนไทยพุทธในเรื่องอารมณ์ ความรู้สึกและจิตใจ มีคนทำงานด้านเยียวยา แต่ใช้กฎหมายอย่างเดียวไม่ได้ ต้องให้มีการเยียวยาจิตใจและควบคุมอารมณ์การสื่อสารทางโซเชียลที่โจมตีกันด้วยใช้คุณธรรมสร้างชาติ ยืนยันไม่มีการซื้อเสียง ไม่มีระบบนายทุน
นายอันวาร์ สาและ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าการแก้ปัญหาภาคใต้ ต้องไม่วางไว้ที่ทางฝ่ายความมั่นคงเท่านั้น ความมั่นคงต้องมาจากภาคประชาชนและทุกคนมีส่วนร่วม มองทุกศาสนาเท่าเทียมกันต้องปฎิบัติให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน มีความเป็นธรรม ยุติธรรมให้อยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน นโยบายหลายๆ ข้อต้องได้รับความเห็นชอบจากคนในพื้นที่
จากคำถามเรื่องความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และประโยชน์ของประชาชน รวมทั้งการดูแลประชาชนในพื้นที่ แต่ละพรรคมีคำตอบคือ
นางปาตีเมาะ พรรครวมพลังประชาชาติไทย กล่าวว่าพรรคการเมืองที่ดี เริ่มจากการเมืองที่ดี ทุกคนในพรรคนี้ต้องเรียนรร.การเมือง ทุกคนต้องมีจริยธรรม คุณธรรม หากใครไม่ทำตามหน้าที่ จะมีคณะกรรมการปลดออกได้ทันที พรรคมาจากการลงขันของสมาชิกพรรค ไม่มีเงินนายทุนไปซื้อเสียง พรรคนี้จะแก้ปัญหาชายแดนใต้อย่างเต็มที่ เสียงของทุกคนเท่ากัน การแก้ปัญหาพืชผลการเกษตรต้องให้ได้ราคาเท่าเทียม
นายอันวาร์ สาและ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงความซื่อสัตย์ต้องแก้ด้วยศาสนา ต้องมีศาสนาในการหาทางแก้ปัญหา
“นโยบายของประชาธิปัตย์ที่ผ่านมาคือการผลักดันของพรรคเพื่อประชาชนเช่นเรียนฟรี, เบี้ยผู้สูงอายุ ที่ดูห่างเหินเพราะกฎหมาย ไม่มีการปลดล็อคทางการเมือง หากไม่มีตรงนี้พร้อมพบประชาชนอยู่ตลอดเวลา การแก้ปัญหาทางอาหาร ต้องตั้งคนอนุรักศ์ทางทะเล ตั้งสภาการประมง ให้ชาวประมงในการดูแลแก้ปัญหาด้วยพวกเขาเอง พัฒนาการศึกษามาตลอดเช่นโครงการอิงกลิส ฟอร์สคูล การปรับผลงานครูให้เป็นไปตามคุณภาพของเด็ก นวัตกรรมการศึกษาต้องดูตามความจำเป็นและสามารถนำไปใช้ได้ ต้องแยกปัญหาในพื้นที่ให้ถูกต้อง”
สำหรับคำถามในการแก้ปัญหาการใช้เงินซื้อเสียง/การบีบบังคับกลไกภาครัฐให้ช่วยเหลือฝ่ายตนเอง การแก้ปัญหาราคาการเกษตรตกต่ำ แก้ปัญหาการประมง เขตอุทยานบูโด และการรักษาทรัพยากรในพื้นที่ ยกฐานะทางเศรษฐกิจและด้านการศึกษานั้น
ผศ.ดร.วรวิทย์ กล่าวว่าการเมืองไทยต้องไม่มองนักการเมืองเป็นคนร้ายหรือปีศาจ เคยไปแก้ปัญหาโดยไม่แบ่งแยกเป็นฝ่ายใด การทำงานต้องใช้ใจในการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เรื่องการประมง ได้ประสานกับทางตัวแทนของอียูโดยตรง ด้านการเกษตรใช้ผลงานวิจัย ในการเอาไปแก้ปัญหา
นายมะยูนัน กล่าวถึงการแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยการใช้เศรษฐกิจพอเพียง เพิ่มกองทุนหมู่บ้าน เพิ่มศักยภาพครูรร.เอกชนให้เท่าข้าราชการ การปลูกฝังเยาวชนให้เข้มแข็ง ยืนยันไม่ใช้เงินซื้อเสียง
ตัวแทนพรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่า พรรคไม่มีสส.มาก่อน ไม่มีการซื้อเสียงแน่นอนเพราะจะไม่มีการถอนทุน ด้านการศึกษาจะให้ท้องถิ่นมีการออกแบบการศึกษาของตนเอง
นางสาวอนัตตา กล่าวว่า ต้องลดความเหลื่อมล้ำของทุกคน ความซื่อสัตย์ต้องสร้างด้วยตัวเราเอง การปฎิบัติของนักการเมืองต้องทำด้วยความจริงใจให้ประชาชนได้เห็นเอง การแก้ปัญหาการศึกษาต้องสร้างเด็กๆ ตั้งแต่วัยอนุบาล ให้โตไปอย่างมีคุณภาพต่อไปในอนาคต
รศ.ดร.โคทม อารียา ผู้แทนสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวสรุปว่า ข้อเสนอของภาคประชาสังคมคือ ประเด็นความปลอดภัยมาเป็นอันดับแรก ขอให้ทางพรรคการเมืองนำไปพิจารณาต่อไป ประเด็นพูดคุยสันติภาพยังมองน้อยอยู่ ประเด็นความเป็นอยู่ของประชาชน ความยุติธรรม การดูแลเรื่องการสื่อสารของภาคประชาสังคม ต่อการสื่อสารประชาชน ข้อเท็จจริงการศึกษาต้องนำประเด็นงานวิจัยไปพัฒนาการศึกษา ต้องแก้ปัญหาทั้งระดับชาติและระดับภาค นำการเมืองนำการทหารและพัฒนาด้านภาษา