หน้าแรก รายงาน

จาก pattani retweet เล่มแรก มาเป็น pattani retweet + เล่มนี้

หนังสือเล่มเล็กที่รวบรวมภาพและคำในวิถีแห่งปาตานี วิถีแห่งสามัญ ที่พบเห็นเป็นชีวิตปกติของผู้คน ถ่ายทอดความรู้สึกโดยทีมงาน pattani retweet อีกครา

pattani retweet” เป็นการเล่าเรื่องที่มีอยู่ นำภาพมาเล่าใหม่ โดยจำกัดคำให้กระชับในการอธิบายภาพ เป็นแง่งามที่ถูกกลบด้วยเสียงอื่น การสร้างความเข้าใจเป็นการบอกอีกเสียงหนึ่งได้ เป็นถ้อยคำที่สร้างพลังได้ หากเราเตรียมใจสำหรับการค้นพบ ใจจะเปิดกว้าง นำพาไปสู่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ที่ได้ส่งเสียงแห่งความดีงามจากพื้นที่

การ “retweet” (รีทวีต) เรื่องราวความเป็นจริงในพื้นที่ออกไปให้สังคมภายนอกได้รับรู้ทางโลกโซเชีย หากบุคคลอื่นในฐานะ ผู้รับสาร” ที่ถูกส่งออกมานั้นเกิดความชื่นชอบประทับใจ แล้วอยาก แชร์” เรื่องราวนั้นต่อไป ก็จะกดปุ่มที่เรียกว่า รีทวีต”

ขณะนี้ pattani retweet + จัดแสดงภาพถ่ายวิถีชีวิตและเรื่องราวต่างๆ ในปัตตานีจำนวน 40 รูป ติดวางอยู่บนฝาผนังร้าน หน้าร้าน หลังร้าน และอีกหลายมุมของร้าน IN_T_AF Café&Gallery ถนนปัตตานีภิรมย์ ในอ.เมืองปัตตานี จัดแสดงไปจนถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2558

r5ดร.บดินทร์ แวลาเตะ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา ม.อ.ปัตตานี / ผู้จัดการโครงการนี้กล่าวถึงโครงการนี้ว่า ด้วยทีมงานที่มีหัวใจมุ่งมั่นในการทำงานทำให้โครงการทำมานาน และมีกิจกรรมต่อยอดตลอดเวลา

“กระบวนการก่อนได้มาเป็นหนังสือ สมุด นิทรรศการ มีความสำคัญมากกว่า เพราะเป็นโครงการที่ทำมานาน มีกิจกรรมต่อยอดตลอดเวลา ด้วยทีมงานที่มีหัวใจมุ่งมั่นในการทำงาน นักศึกษามาร่วมกิจกรรมมากขึ้นโดยไม่ต้องมีชั่วโมงกิจกรรมหรือค่าตอบแทนเป็นสิ่งเชิญชวน ทุกคนพร้อมมาช่วยงาน ซึ่งไม่ง่ายที่นักศึกษาจะมารวมกลุ่มกันทำกิจกรรมและไม่ย่อท้อ เราเริ่มโครงการเฟสสองกันเมื่อเดือนธันวาคม 2557 จนเกือบจะครบปีแล้ว เป็นตัวอย่างของการจัดโครงการอย่างแท้จริง อยากให้ผู้ใหญ่เห็นความตั้งใจที่มี สิ่งเหล่านี้หล่อหลอมให้เป็นมนุษย์ที่ดียิ่งขึ้น เป็นประสบการณ์ที่ไม่มีในห้องเรียน”

ดร.บดินทร์กล่าวต่อว่าในปี 2559 มีงานใหม่เข้ามาที่ดำเนินการโดย pattani retweet ให้เห็นว่าสิ่งที่เป็นเรื่องธรรมดาแต่ไม่ธรรมดาที่นอกบ้าน ขณะนี้ทางมาเลเซียสนใจที่จะให้ไปจัดนิทรรศการ ทำเวทีเสวนา พูดคุย หากมาเลเซียพร้อมทุกด้านทางทีมก็พร้อมที่จะไป

“งานเสวนาครั้งนี้ขอบคุณอินตออาฟที่ช่วยเรา ข้ามกำแพงแห่งงบประมาณ เปิดโอกาสและเป็นเวทีให้เด็กได้แสดงออก แลกเปลี่ยน ให้ได้รู้ว่าน้ำใจยังมีค่าและหาได้”

อัจนา วะจิดี หรือ หนูนา บอกกล่าวในวงเสวนาถึงการทำงานที่เธอเป็นบรรณาธิการคำ และดูแลในทุกกระบวนการ
“จาก pattani retweet เล่มแรกที่เปิดช่องทางให้คนภายนอกได้รับรู้เรื่องที่เราต้องการสื่อสาร สะท้อนและถ่ายทอดแง่งามของพื้นที่ปลายด้ามขวานแห่งนี้ออกไปผ่านภาพและถ้อยคำ จนมาถึง pattani retweet + ที่มีทั้งภาษาไทย ภาษามลายู ภาษาอังกฤษ ที่มีการจัดนิทรรศการ การสานสุขเสวนา ในภาคอีสาน ภาคเหนือ กรุงเทพฯ ด้วย แต่ละพื้นที่มีการถามกันมากอย่างรูปการทำสุหนัตเป็นรูปที่มีคนมาถามมากที่สุดว่าทำเพื่ออะไร ทำอย่างไร การอธิบายและตอบจึงเป็นการสร้างความเข้าใจให้คนต่างศาสนิกได้เข้าใจอิสลามและมุสลิมอย่างมีเหตุผลกระจ่างมากยิ่งขึ้น”

“เราถ่ายรูปธรรมดาในปัตตานีให้มีค่า ซึ่งไม่ใช่ภาพอันซีนปัตตานี เป็นภาพที่อยากถ่ายทอด ในการลงพื้นที่ถ่ายภาพจึงต้องมีเวิร์คชอปเพื่อคิดคอนเซปต์ของแต่ละพื้นที่ ไม่ให้ซ้ำกันในแต่ละกลุ่ม ทำให้น้องๆ ได้เรียนรู้ธรรมเนียมของแต่ละพื้นที่ คำกับภาพต้องไปด้วยกัน คนที่เก่งถ่ายภาพบวกกับคนคิดคำที่เข้ากันได้ให้ไปด้วยกัน ทั้งทีมประมาณ 40 กว่าคน”

หนูนา บอกต่อว่า โครงการนี้ทำให้น้องๆ ให้รู้จักตนเอง เปล่งประกายความสามารถที่มีออกมา หนังสือเล่มนี้ทั้งออกแบบปก จัดหน้า ทำโดยนักศึกษาในทีมทั้งหมด ทำให้เป็นที่รับรู้และรู้จักกันว่าน้องๆ ที่อยู่ในทีม pattani retweet มีคุณภาพและมีงานเข้ามาให้ได้แสดงฝีมืออยู่หลายคน

กอเบล หนึ่งในสมาชิกของทีมที่ร่วมผลิตชิ้นงานนี้บอกว่า ได้เรียนรู้การถ่ายภาพ คิดคำใหม่ๆ ภูมิใจที่ได้มารวมกันออกไอเดีย และทำให้มีความมั่นใจมากขึ้น

pattani retweet + แง่งามอีกมากมายในปัตตานียังมีอยู่จริงและสัมผัสได้…

r4 r2 r6 r3