RT: สหรัฐฯและตุรกีได้หารือถึงประเด็น การปรับปรุง “ที่ยังคงรอการดำเนินการ” ไปยังการให้การสนับสนุนทางทหารของสหรัฐฯ แก่ “คู่ค้า” ของวอชิงตันในประเทศซีเรีย
ทั้งสองได้ตกลงจะรวมกำลังปราบปรามการก่อการร้าย “ทุกรูปแบบ” รวมถึงขบวนการชาวเคิร์ด PKK และขบวนการ Fetullah Gulen
วอชิงตันและอังการา ยืนยันพันธสัญญาที่จะร่วมกันต่อกร ไม่เพียงแค่กับกลุ่มรัฐอิสลาม (IS, ISIS / ISIL) แต่กับ “องค์กรผู้ก่อการร้ายทั้งหมด” รวมถึงการเคลื่อนไหวของชาวเคิร์ด Kurdish PKK และการเคลื่อนไหวของ Fetullah Gulen ตามที่สำนักงานประธานาธิบดีตุรกีได้ออกแถลงการณ์ จากบทสนทนาทางโทรศัพท์ระหว่างตอยยิบ แอร์โดกัน กับ โดนัล ทรัมป์ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
ผู้นำทั้งสองฝ่าย ยังหารือถึงความคืบหน้าล่าสุดในซีเรีย ความสัมพันธ์ทวิภาคี และการประชุมสุดยอด ณ เมืองโซซี ในรัสเซีย ซึ่งประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูตินแห่งรัสเซียเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม พร้อมกับได้เชื้อเชิญ ประธานาธิบดีแอร์โดกันของตุรกี และประธานาธิบดีฮัซซัน รูฮานีของอิหร่านเข้าร่วมการประชุมเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาด้วย – แถลงการณ์ระบุเสริม
ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของตุรกีได้ประกาศว่า วอชิงตันได้ตกลงที่จะยุติการติดอาวุธให้แก่หน่วยพิทักษ์ประชาชน (YPG) ซึ่งเป็นกองกำลังของชาวเคิร์ด ที่ทำหน้าที่เป็นกระดูกสันหลังให้แก่กองกำลังติดอาวุธประชาธิปไตยซีเรีย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนโดยสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม ทำเนียบขาวไม่ได้กล่าวอย่างชัดเจนถึง ประเด็นการติดอาวุธให้แก่กลุ่ม YPG ในแถลงการณ์ของตน ตามบทสนทนาทางโทรศัพท์ ทว่าได้ระบุว่า ทรัมป์และแอร์โดกัน ได้หารือเกี่ยวกับประเด็น “การปรับปรุงที่ยังคงรอการดำเนินการ” ไปยังการสนับสนุนทางทหารของวอชิงตัน แก่กองกำลังที่ได้รับการสนับสนุนโดยสหรัฐฯ ซึ่งปฏิบัติการอยู่ในประเทศซีเรีย นอกจากนี้แถลงการณ์ยังยืนยันว่า ผู้นำทั้งสองได้ร่วมกันอภิปรายถึงการปราบปรามการก่อการร้ายทุกรูปแบบ และการส่งเสริม “เสถียรภาพของภูมิภาค”
นอกจากนี้ “ประธานาธิบดีทรัมป์ ยังได้แจ้งไปยังประธานาธิบดีแอร์โดกันเกี่ยวกับประเด็น การปรับปรุง “ที่ยังคงรอการดำเนินการ” ไปยังการสนับสนุนทางทหารแก่ “คู่ค้า” ของวอชิงตันในประเทศซีเรีย ณ ตอนนี้ ที่ซึ่งการสู้รบในเมืองรัคคาสิ้นสุดลง และเรากำลังเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาเสถียรภาพ เพื่อให้มั่นใจว่า ISIS จะไม่สามารถกลับมาได้อีก ผู้นำทั้งสองยังหารือถึง การซื้ออุปกรณ์ทางทหารจากประเทศสหรัฐอเมริกา” – ทำเนียบขาวระบุ
เป็นระยะเวลานานที่ตุรกีได้โต้แย้งไปยังสหรัฐฯ โดยได้เรียกร้องให้สหรัฐฯยุติการระดมทุนและการติดอาวุธของตน ให้แก่หน่วยเคิร์ดในซีเรีย โดยเน้นย้ำว่า กลุ่ม YPG เป็นองค์กรก่อการร้าย ที่เชื่อมโยงกับพรรคแรงงานเคอร์ดิสถาน (PKK) กลุ่มกบฏชาวเคิร์ด หรือ กลุ่มที่เป็นเหมือนบ้านเกิดของพวกเขา
“ความรู้สึกอึดอัดของเรา เกี่ยวกับการจัดหาอาวุธให้แก่ YPG ถูกสื่อไปยังนายทรัมป์อีกครั้งหนึ่ง … ทรัมป์กล่าวอย่างชัดเจนว่า เขาได้ออกคำสั่งไม่ให้จัดหาอาวุธให้แก่ YPG เรียบร้อยแล้ว“ นาย Mevlut Cavusoglu กล่าวในอังการา “เรามีความยินดีกับสัญญาที่ว่า สหรัฐฯจะไม่จัดหาอาวุธให้แก่ YPG และเราต้องการเห็นมันถูกนำไปปฏิบัติจริง”
การสนทนากับประธานาธิบดีแอร์โดกันของทรัมป์ เกิดขึ้นสองวัน หลังจากที่ประธานาธิบดีปูติน แห่งรัสเซียเป็นเจ้าภาพในการประชุมสุดยอดผู้นำ ร่วมกับอิหร่านและตุรกี ในความพยายามหาทางออกทางการเมือง เพื่อยุติวิกฤติในซีเรีย เนื่องจากการสู้รบกับกลุ่มก่อการร้ายได้ย่างเข้าสู่ช่วงยืดเยื้อระยะสุดท้าย (ฟางเส้นสุดท้าย) ขณะที่อังการาและกรุงเตหะราน มีบทบาทสำคัญในการเจรจาต่อรองเรื่อง “de-escalation zones” (พื้นที่ปลอดภัย) ในซีเรีย และมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน ในความพยายามที่จะบรรลุข้อตกลงทางการเมือง ในประเทศที่ถูกสงครามทำลายล้าง
“ประธานาธิบดีอิหร่านและตุรกีได้ให้การสนับสนุน ความคิดริเริ่มที่จะจัดการประชุมซีเรีย… เราตกลงที่จะจัดงานสำคัญนี้ในระดับที่เหมาะสม และทำให้มั่นใจว่าตัวแทนจากภาคส่วนที่แตกต่างกันของสังคมซีเรียมีส่วนร่วม(ในการประชุมครั้งนี้)ด้วย” – ปูตินกล่าว หลังการเจรจาในโซซี เมื่อวันพุธ
บางฝ่ายคิดเห็นว่า การประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำทั้งสาม คือ การร่วมมือกันสร้างฐานทางการเมืองเพื่อปูทางไปสู่การขยายประเทศกลุ่ม BRICS ในตะวันออกกลาง ซึ่งมีตุรกีรวมอยู่ด้วย ขณะที่ตุรกีอยู่ติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน หาก NATO สูญเสียตุรกี โดยตุรกีได้เข้าร่วมกับ BRICS เป็นไปได้ว่า จะเป็นการทำให้ภูมิรัฐศาสตร์ของอเมริกาจะเสียหายในระยะยาว
เมื่อเป็นเช่นนั้น สหรัฐฯจึงจำเป็นต้องรุดหน้าแสดงความเป็นมิตรกับตุรกีในสถานการณ์ของซีเรีย ข้อตกลงที่สร้างไว้ระหว่างประธานาธิบดีทรัมป์และแอร์โดกันในการพบปะครั้งนี้ บ่งชี้ว่า อเมริกายังต้องการให้ตุรกีเป็นพันธมิตรนาโต้ของตนอยู่เหมือนเดิม แต่อาจจะต้องยุติการให้การสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ดในซีเรีย เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน
ที่น่าสังเกตุก็คือ ความคืบหน้าในครั้งนี้ ยังสอดคล้องกับความต้องการของประธานาธิบดีบะชัร อัซซาด ที่ต้องการให้รัสเซียช่วยไล่กองทัพอเมริกันออกจากซีเรีย
ก่อนหน้าที่จะมีการปฏิสัมพันธ์ร่วมกับประธานาธิบดีของอิหร่านและตุรกี ปูตินได้พบกับประธานาธิบดีซีเรีย บาชัร อัสซาด เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา จากกรณีที่เครมลินแห่งมอสโก ได้ขยายบทบาทผู้นำของตน ในความพยายามเพื่อให้มีการเจรจาสันติภาพในซีเรีย
ในปี 2015 รัสเซียได้ส่งเครื่องบินรบของตน เพื่อช่วยต่อกรกับผู้ก่อการร้ายและกลุ่มหัวรุนแรงมุสลิมในเมืองดามัสกัส ที่พยายามโค่นล้มรัฐบาลอัสซาด การดำเนินการดังกล่าวช่วยป้องกันการล่มสลายของรัฐเซคิวลาห์ในซีเรีย และปูทางให้มีการเสวนาทางการเมืองร่วมกับกลุ่มฝ่ายค้าน ที่อยากเห็นอนาคตของซีเรียปลอดภัยจากอุดมการณ์สุดโต่ง