ความเหลื่อมล้ำทางเชื้อชาติ – ข้อเสียเปรียบทางการเมืองและเศรษฐกิจ ที่มักรู้สึกโดยชนกลุ่มน้อยยังคงมีให้เห็นอยู่ทั่วโลก การเลือกปฏิบัติ ไม่เพียงแต่ไม่เป็นธรรมต่อชนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดเท่านั้น แต่มันยังเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของโลกอีกด้วย และมันก็เป็นปัญหาที่แทบจะไม่มีวันเรือนลางจางหายไปเอง

ความเหลื่อมล้ำ มีผลกระทบต่อสองกลุ่มหลักจากประชากรของชนกลุ่มน้อย กลุ่มที่หนึ่ง คือ ชุมชนที่ตั้งรกรากระยะยาว โดยส่วนใหญ่ มีมาก่อนการกำหนดขอบเขตของรัฐ และ/หรือประเทศต่างๆมานานหลายศตวรรษ ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยในทวีปเอเชีย และแอฟริกา
หนึ่งในตัวอย่างของชนจากลุ่มนี้ คือ Dalits (ชาวดาลิด) หรือคนในวรรณะจัณฑาล ตามระบบแบ่งวรรณะของวัฒนธรรมฮินดู ในประเทศอินเดีย – ขณะที่ประชากรชาวโรมานีในยุโรปตะวันออก และชาวสก็อตในสหราชอาณาจักรจะเป็นตัวอย่างอื่นๆในกลุ่มคนประเภทที่ว่านี้
อีกกลุ่มหนึ่ง คือ ประชากรชนกลุ่มน้อยที่เพิ่งจะย้ายเข้ามาในประเทศนั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่เข้ามาภายในประเทศผ่านการอพยพภายในศตวรรษที่ผ่านมา ซึ่งมักจะปรากฏอยู่ในทวีปยุโรป เช่น ชาวบังกลาเทศ ในสหราชอาณาจักร เป็นต้น
ทั้งสองกลุ่มต่างถูกเลือกปฏิบัติ ขณะที่ผู้กำหนดนโยบายทั่วโลก ก็ไม่ได้ดำเนินการใดมากพอเพื่อต่อกร หรือจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับพวกเขา

ประเทศกำลังพัฒนา: อินเดีย
อินเดีย เป็นประเทศที่มีความเสมอภาคทางเชื้อชาติ ในขณะที่ความยากจนโดยทั่วไปลดลง แต่อัตราความยากจนโดยทั่วไปจะสูงขึ้นในเฉพาะบางกลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม Adivasis (หรือ พวก “ชนเผ่า” ซึ่ง 45% ของพวกเขาอาศัยอยู่อย่างยากไร้ในพื้นที่ชนบท และ 27% ของพวกเขาอาศัยอยู่ในเขตเมือง), Dalits (คนจากวรรณะจัณฑาลในอดีต) , ผู้ซึ่ง 34% ของพวกเขาอาศัยอยู่ในย่านชนบทที่ยากจน และ 22% อยู่ในเมืองอย่างยากแค้น) และกลุ่มมุสลิม (ผู้ซึ่ง 27% ของพวกเขาเป็นชาวชนบท และอีก23% เป็นคนเมือง) อัตราความยากจนในหมู่วรรณะชั้นสูงของชาวฮินดูสำหรับปี 2011 และปี 2012 มีเพียง 16% ในพื้นที่ชนบท และ 8% ในเขตเมือง
มีความเชื่อมโยงระหว่างเชื้อชาติ และการประกอบอาชีพทั่วโลก ชนกลุ่มน้อยถูกผูกไว้กับการทำงานบางงาน ที่ไม่เพียงแต่ถูกมองว่ามีสถานะทางสังคมที่ต่ำต้อยเท่านั้น แต่ยังได้รับค่าจ้างและค่าตอบแทนที่น้อยนิดอีกด้วย ทั้งนี้ระบบวรรณะอินเดีย อาจเป็นตัวอย่างที่ฉาวโฉ่ที่สุดของกรณีนี้
ในขณะที่ระบบวรรณะ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยการปลูกฝังให้ปฏิเสธธรรมเนียมปฏิบัติของการแบ่งชนชั้นอย่างสุดโต่ง ที่ชนชั้นสูงมีต่อชนชั้นจัณฑาลในปี 1950 – อย่างไรก็ดี Dalits หรือ คนจากวรรณะจัณฑาล ก็ยังคงมีแนวโน้มที่จะประกอบอาชีพทำความสะอาดห้องสุขา มากกว่าคนจากกลุ่มอื่น ๆ และจะไม่ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการปรุงอาหารให้แก่ชาวฮินดูในชนชั้นสูง
อินเดียได้พยายามแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมของชนกลุ่มน้อย ได้แก่ กลุ่ม Dalits, Adivasis และชนกลุ่มด้อยโอกาสอื่น ๆ (แต่ไม่ใช่ชาวมุสลิม) เพื่อให้พวกเขาได้รับผลประโยชน์จากรูปแบบที่เป็นระบบของกฎระเบียบว่าด้วยการรับสมาชิกจากทุกกลุ่มทางสังคมเข้าทำงานอย่างเสมอภาค (Affirmative action) – ระบบโควต้า – ในการเป็นตัวแทนทางการเมือง การเข้าถึงการศึกษา และงานของภาครัฐ
ประเทศต่างๆทั่วโลก รวมทั้งมาเลเซีย รวันดา แอฟริกาใต้ และอิรัก ได้ดำเนินรูปแบบการเลือกปฏิบัติในเชิงบวกในลักษณะดังกล่าว เพื่อพัฒนาการแสดงออกของชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแง่ของการเป็นตัวแทนทางการเมือง และในสถานการณ์หลังความขัดแย้ง (post-conflict scenarios)
แต่มันยังไม่เพียงพอ แม้ว่าชนกลุ่มน้อยจะเข้าถึงอำนาจทางการเมือง แต่นี่ก็ไม่ได้แก้ปัญหาความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจเสมอไป บ่อยครั้งที่จำนวนของตแหน่งทางสังคมของชนกลุ่มน้อยมีน้อยเกินไปที่จะสามารถเอื้อประโยชน์ต่อทั้งกลุ่มได้โดยรวม และการควบคุมทางเศรษฐกิจยังคงอยู่ในมือของชนชั้นสูง เป็นกลุ่มขนาดเล็ก ผู้ซึ่งไม่มีที่ทาจะแบ่งปันความร่ำรวยของตน ให้กับผู้คนจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่น
ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเริ่มต้นจากฐานะทางเศรษฐกิจที่ต่ำ อาจสามารถหลบซ่อนความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจเหล่านี้ได้ในระยะแรก แต่กระนั้นผลการดำเนินงานที่ไม่ดีของชนกลุ่มน้อย ก็จะค่อยๆกลายเป็นอุปสรรคต่อผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม นอกจากนี้ มันยังอาจกลายเป็นความท้าทายสำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งกลุ่มชนกลุ่มน้อยอาจรู้สึกได้ว่า “อำนาจของประชาชน” ของระบอบประชาธิปไตย มีไว้เพื่อหนุนเสริม “คนส่วนมาก” ให้สามารถควบคุมภาคส่วนที่มีมูลค่ามากที่สุดของประเทศ
การเป็นตัวแทนทางการเมือง แน่นอน คือขั้นตอนแรกที่จำเป็น แต่การมีส่วนร่วมของชนกลุ่มน้อยก็ไม่อาจเท่าเทียมกันได้อยู่ดี แม้บนเงื่อนไขทางการเมือง เว้นเสียแต่ว่า นโยบายทางเศรษฐกิจจะระบุถึงความไม่เท่าเทียมกันของชาติพันธุ์ และนำมันมาพิจารณา เช่น มาตรการบรรเทาความยากจนที่ประสบความสำเร็จของอินเดีย

ประเทศที่พัฒนาแล้ว: สหราชอาณาจักรและยุโรป
ปัญหาทางเศรษฐกิจและการเมืองที่เกิดจากความไม่เสมอภาคทางชาติพันธุ์ ไม่ได้จำกัดเฉพาะความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นในแอฟริกา หรือ จากระบบวรรณะในอินเดียเท่านั้น ในประเทศยุโรปส่วนใหญ่ ผู้อพยพหน้าใหม่ มักทำงานในสภาพที่ไม่ปลอดภัย ห่รือ แม้กระทั่งถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างหนัก และทำงานที่สถานภาพที่ต้อยต่ำ แถมยังได้รับค่าจ้างขั้นต่ำสุด ซึ่งประชากรที่เกิดในประเทศอาจคิดว่า มันต่ำเกินไปที่จะประกอบอาชีพนั้นๆได้ ประเด็นนี้ไม่แตกต่างมากนักกับชนชั้นในวรรณะสูงของอินเดีย ที่ปฏิเสธการประกอบอาชีพ พนักงานทำความสะอาดห้องสุขา
ดูเหมือนว่า ในหลาย ๆ กรณี แม้แต่ชนกลุ่มน้อยที่เกิดในยุโรปในรุ่น(generation)ถัดไป ก็ไม่อาจหลบหนีจากกับดักการประกอบอาชีพเพื่อแลกกับเงินค่าจ้างขั้นต่ำนี้ได้ น่าเสียดายที่เราไม่มีข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับความไม่เสมอภาคทางชาติพันธุ์ในประเทศยุโรปส่วนใหญ่: ขณะที่มุมมองของฝรั่งเศส ซึ่งรวบรวมข้อมูลดังกล่าว ช่วยเสริมว่า การแบ่งแยกยังเป็นที่ถือปฏิบัติในประเทศอื่น ๆ อย่างน่าเศร้า เช่น ใน สวีเดน เป็นต้น
เรารู้ว่า มันมีช่องว่างการจ้างงาน 12% ระหว่างคนผิวขาวชาวอังกฤษ และชนกลุ่มน้อยชาวอังกฤษ ในสหราชอาณาจักร โดยคำควณแล้ว จากจำนวนนี้มีประชากรประมาณ 500,000 คน “หายไป” ในตลาดแรงงานของสหราชอาณาจักร
ตัวเลขจากกระทรวงแรงงานและเงินบำนาญระบุว่า มีอัตราการว่างงาน 45% ในปี 2013 สำหรับแรงงานหนุ่มสาวชาวผิวสี ชาวปากีสถาน และบังคลาเทศ โดยมีจำนวน 19% จากคนผิวขาว ขณะที่ประเทศในยุโรปอื่น ๆ กำลังประสบกับความท้าทายที่คล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราคาค่าจ้างที่ต่ำ และการเลือกปฏิบัติต่อผู้ย้ายถิ่นใหม่ หรือผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการเลือกปฏิบัตินี้ต่อชนกลุ่มน้อยที่ถือกำเนิดในยุโรป ในรุ่นที่สอง (second generation) หรือแม้แต่รุ่นที่สาม (third-generation)
ความเหลื่อมล้ำทางเชื้อชาติเหล่านี้จะไม่มีวันหายไปเอง แม้ว่าการคาดการณ์โดยกระทรวงการคลังสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตของสหราชอาณาจักรจะบอกเช่นนั้น หากความไม่เท่าเทียมยังอยู่ในระดับปัจจุบัน ช่องว่างการว่างงานระหว่างชาติพันธุ์ 11% จะส่งผลทำให้มีจำนวนแรงงานจากชนกลุ่มน้อย “หายไป” หนึ่งล้านคน เมื่อชนกลุ่มน้อยมีจำนวนรวม คิดเป็น 30% ของประชากรในสหราชอาณาจักร ในปี2015 นี่จะเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ด้วยจำนวนเงินสมทบภาษีที่น้อยลง และการจ่ายเงินชดเชยแก่ประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ผู้กำหนดนโยบายย่อมเป็นคนที่ชะล่าใจจนเกินไป หากพวกเขาคิดว่า ความไม่เท่าเทียมกัน จะหายไป พร้อมกับการถือกำเนิดของคนรุ่นใหม่จากชนกลุ่มน้อย
เช่นเดียวกับการสร้างความเชื่อมั่นว่า การศึกษา การฝึกอบรม และนโยบายต่าง ๆ เช่นโปรแกรมการฝึกงาน จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในระดับชาติพันธุ์ รัฐบาลในยุโรปควรเป็นผู้นำในนโยบายการจ้างงานและแถลงการณ์สาธารณะของตนเอง พวกเขาควรจะรับฟัง และสนับสนุนให้นายจ้าง รับจ้างผู้คนที่มีทักษะและประสบการณ์ที่หลากหลาย และพิจารณาการวางเป้าหมายไปยังการเลือกให้มีตัวแทนจากชนกลุ่มน้อยในคณะกรรมการของตน – ดังนี้เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่พิสูจน์ได้ว่าประสบความสำเร็จในกรณีของความเหลื่อมล้ำทางเพศ
เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักถึงประโยชน์ของการเลือกปฏิบัติในเชิงบวก ในตลาดแรงงาน มากกว่าการมองเห็นว่า กฎหมายเพื่อต่อต้านความไม่เท่าเทียม คือความถูกต้องเชิงการเมือง
ความเหลื่อมล้ำทางชาติพันธ์เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาแล้ว ถึงแม้ว่าจะแตกต่างกันออกไป และผู้กำหนดนโยบายในทุกๆที่ ต้องพยายามแก้ไขปัญหานี้มากขึ้น ทั้งนี้การเติบโตทางเศรษฐกิจโลก และเสถียรภาพของระบอบประชาธิปไตยของเราขึ้นอยู่กับมัน
ที่มา: Omar Khan