หน้าแรก ข่าวต่างประเทศ

จากคาตาลัน, เคิร์ด และปาปัว ดินแดนที่ยังคงแสวงหาอิสรภาพ

ความสนใจของโลก ณ วันนี้ต่างให้ความสนใจไปยังประเด็นของคาตาลัน เมืองที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสเปน ซึ่งได้มีการจัดให้มีการลงประชามติเพื่อขอแยกตัวเป็นอิสระและได้ยืนยันที่จะทำการประกาศอิสรภาพโดยเร็วที่สุด

คาตาลันมิได้โดดเดี่ยวในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสถานะแห่งความเป็นรัฐอิสระที่แยกตัวออกจากรัฐบาลกลางแต่อย่างใด

ชาวคาตาลันได้ทำการต่อสู้เพื่อต้องการแยกตัวเป็นอิสระซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของสเปน เช่นเดียวกับชาวเคิร์ดในประเทศอิรัก ที่ยังยืนยันในความปรารถนาที่ต้องการอิสระเช่นกัน

เช่นเดียวกันกรณีของชาวสกอตแลนด์ในสหราชอาณาจักร ได้มีการทำลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นอิสระในปี 2014 แต่ผลลัพธ์ที่ได้มาแสดงให้เห็นว่า คนส่วนใหญ่ยังคงมีความต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอังกฤษเช่นเดิม

และเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ชาวเปอร์โตริโกในสหรัฐได้ทำการลงประชามติเช่นกัน และผลที่ได้แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้สิทธิส่วนใหญ่ยังคงต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ

นี่คือบางส่วนของพื้นที่ที่ยังแสวงหาความเป็นอิสระด้วยการลงประชามติ:

คาตาลัน ประเทศสเปน

การลงประชามติได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งก่อนหน้านี้ทางเจ้าหน้าที่ในเมืองคาตาลันคาดการณ์ว่า ผู้มีสิทธิออกเสียงลงประชามติที่สนับสนุนให้แยกตัวอาจมากถึง 90% จากผู้มาใช้สิทธิออกเสียงจำนวน 2.2 ล้านคนหรือ 42% ของผู้ลงทะเบียนทั้งหมด

อย่างไรก็ตามการออกเสียงถูกทาบทาด้วยความรุนแรง หลังจากทางตำรวจได้ออกมาคัดขวางให้งดการออกเสียง มีการระดมเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อบังคับให้ศาลตัดสินการลงประชามติในครั้งนี้ไม่มีความชอบธรรม

แคว้นคาตาลันเคยได้ลิ้มลองของเขตปกครองตนเอง แต่ถูกยกเลิกโดยศาลรัฐธรรมนูญของสเปนในเวลา fotoREUTERS

รัฐบาลกลางภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี Mariano Rajoy และกษัตริย์ Felipe VI ต่างมิยอมรับผลของการลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชของคาตาลันในครั้งนี้

เหตุใดคาตาลันต้องการแยกตัวจากสเปน?

คาตาลันเป็นหนึ่งในเมืองที่มีความร่ำรวยและมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ก่อนสงครามกลางเมือง คาตาลันเคยเป็นเขตปกครองตนเองมาก่อน ต่อมาได้มีการสั่งยกเลิกในสมัยรัฐบาลเผด็จการ Francisco Franco เรืองอำนาจในปี 1939-1975

เมื่อผู้นำเผด็จการ Franco เสียชีวิตลง แนวคิดชาตินิยมคาตาลันได้กลับฟื้นคืนชีพอีกครั้ง และแคว้นดังกล่าวได้มีการปกครองแบบพิเศษภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญปี 1978

ในปี 2006 แคว้นคาตาลันได้มีการขยายเขตปกครองตนเองขึ้น รวมไปถึงสิทธิในการจัดการบริหารการคลังแต่ถูกยกเลิกโดยศาลรัฐธรรมนูญของสเปนซึ่งเป็นเหตุให้ชาวคาตาลันส่วนใหญ่รู้สึกโกรธแค้นเป็นอย่างมาก

หลังจากที่ถูกรัฐบาลกลางสั่งยกเลิกเขตปกครองตนเองและภูมิภาคนี้ได้ตกอยู่ภายใต้ภาวะถดถอยเป็นเวลาหลายปี และได้มีการลงประชามติที่ไม่ผูกมัดในเดือนพฤศจิกายน 2014 มีผู้มีสิทธิ์มากกว่า 2 ล้านคนจาก 5.4 ล้านคนได้มีส่วนร่วม และมีการออกเสียงสนับสนุนการแยกตัวจากสเปนมากถึง 80%

ในปี 2015 ฝ่ายที่สนับสนุนการแยกตัวได้รับชัยชนะที่เป็นการปูทางไปสู่การลงประชามติปี 2017

สก๊อตแลนด์ ประเทศอังกฤษ

การลงประชามติเมื่อปี 2014 แสดงให้เห็นว่าชาวสก๊อตแลนด์ ส่วนใหญ่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษ foto PA

สกอตแลนด์ได้จัดให้มีการลงประชามติการขอแยกตัวจากสหราชอาณาจักรในเดือนกันยายนปี 2014 หลังจากที่พรรคแห่งชาติสกอต็แลนด์ (SNP) ชนะการเลือกตั้ง

หนึ่งในคำมั่นสัญญาของพรรค SNP ในช่วงการรณรงค์หาเสียงคือการจัดให้มีการลงประชามติ ความคิดนี้ได้รับการเห็นชอบจากรัฐบาลในกรุงลอนดอน

ผลการลงประชามติในครั้งนี้ฝ่ายที่ต้องการให้สก็อตแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรเช่นเดิม ซึ่งคิดเป็น 55.3% ของการลงคะแนน

ตั้งแต่นั้นมาปัญหาการแยกตัวถือเป็นที่สิ้นสุดในทางปฏิบัติ แต่การลงประชามติเรื่องสมาชิกภาพของสหราชอาณาจักรในสหภาพยุโรปในปี 2516 ที่ฝ่ายสนับสนุนให้ถอนตัวจากสหภาพยุโรปเป็นฝ่ายชนะ (ตกลงที่จะถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป) ทำให้กระแสการแยกตัวของสกอตแลนด์กลับมาร้อนแรงอีกครั้ง

ชาวสกอตแลนด์ยังคงยืนยันสนับสนุนให้อังกฤษลาออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ในขณะที่ผู้มีสิทธิในรัฐอื่นๆ สนับสนุนการถอนตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป

ปาปัว ประเทศอินโดนีเซีย

ในปาปัวความต้องการที่จะลงประชามติเพื่อกำหนดชะตากรรมตัวเองยังคงมีอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ foto AFP

พื้นที่ทางตะวันตกของปาปัวได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียในการลงประชามติ ที่เรียกว่าการกำหนดการตัดสินใจของประชาชน (Penentuan Pendapat Rakyat : Pepera) ในปี 1969 โดยรัฐบาลอินโดนีเซียเป็นผู้จัดการ จากนั้นได้ทำการเปลี่ยนชื่อจาก Papua Barat เป็น Irian Jaya อย่างไรก็ตามต่อมาได้กลับมาใช้ชื่อปาปัวอีกครั้ง

แต่อย่างไรก็ตามในปาปัวเองแนวคิดที่ต้องการเอกราชยังคงมีอยู่ ไม่ว่าจะด้วยการต่อสู้ด้วยอาวุธหรือด้วยการรณรงค์ในต่างประเทศ อย่างที่ได้ทำโดย Benny Wenda ชาวปาปัวที่อาศัยอยู่ที่อ๊อกฟอร์ดประเทศอังกฤษ

Benny Wenda อ้างว่าการเรียกร้องเพื่อกำหนดอนาคตของชาวปาปัว ได้รับการสนับสนุนจากประชากรจำนวน 1.8 ล้านคน

“เราไม่ได้เกลียดอินโดนีเซีย แต่เราคือชาวปาปัว อินโดนีเซียสมควรที่จะมองความต้องการของประชาชนเช่นเดียวกัน ที่ผ่านมาถึงอินโดนีเซียอ้างว่ามีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ต้องการอิสรภาพ แต่บัดนี้ความคิดเช่นนี้ได้ประจักษ์ให้เห็นแล้วว่าชาวปาปัวเกือบทุกคนต้องการแยกตัวจากอินโดนีเซีย” เขาเปิดเผยกับทางบีบีซีอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา

ทางด้านผู้แทนอินโดนีเซียสหประชาชาติในนิวยอร์ก ได้ออกมาปฏิเสธเกี่ยวกับคำร้องเกี่ยวกับการลงประชามติของชาวปาปัวได้ถูกส่งไปยังสหประชาชาติแล้ว

Lenis Kogoya หนึ่งในหัวหน้าเผ่าของปาปัวซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานโดยประธานาธิบดี Joko Widodo ในฐานะคณะทำงานพิเศษ ได้คัดค้านการลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นอิสระของปาปัว

“ผมเคยได้ทราบปัญหาแล้ว ซึ่งโดยส่วนตัวในฐานะหัวหน้าชนเผ่าในปาปัวและเป็นลูกหลานของนักเคลื่อนไหวที่เรียกว่าการกำหนดการตัดสินใจของประชาชน (Penentuan Pendapat Rakyat : Pepera) 1969 ผมไม่เห็นด้วยกับการประชามติ ผมให้ความสนใจกับประเด็นการศึกษา สุขภาพ และเศรษฐกิจมากกว่า”

Kogoya ได้ยืนยันว่าถึงตอนนี้ลูกหลานของชาวปาปัวในท้องถิ่นจำนวนมากที่ได้เป็นข้าราชการ

“ในปัจจุบันคนปาปัวได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นนายอำเภอ ทั้งหมดเป็นชาวปาปัว ความล้มเหลวไม่ใช้คนจาการ์ตา แต่ความล้มเหลวคือชาวปาปัวของเราเอง ผมต้องขออภัยหากเป็นเรื่องการแยกตัวซึ่งผมไม่เห็นด้วย” เขากล่าว

เปอร์โตริโก, สหรัฐอเมริกา

การลงประชามติเพื่อกำหนดสถานะทางการเมืองของเปอร์โตริโกถูกจัดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2017 ที่ผ่านมา

ประเด็นที่เป็นการให้สิทธิ์กับผู้ออกเสียงก็คือ ดีหรือไม่หากเปอร์โตริโกที่เป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกาได้แยกตัวจากอเมริกา (อิสระ) หรือคงสภาพเหมือนที่เป็นกำลังอยู่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตหรือดินแดนของสหรัฐฯ

ผลการลงประชามติปรากฏว่า 97% ของผู้มีสิทธิออกเสียง ต้องการให้เปอร์โตริโกยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกเช่นเดิมา อย่างไรก็ตามหลายคนยังเชื่อว่าเปอร์โตริโกจะยังไม่กลายเป็นรัฐหนึ่งของสหรัฐฯลำดับที่ 51 ในเวลาอันสั้น

เปอร์โตริโกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯนับตั้งแต่สงครามระหว่างสหรัฐฯกับสเปนเมื่อปี 1989 และนับตั้งแต่ปี 1917 ชาวเปอร์โตริโกได้รับสัญชาติอเมริกัน

 

เคิร์ด ประเทศอิรัก

สตรีชาวเคิร์ดกับการเฉลิมฉลองอิสรภาพในการลงประชามติปี 2017 fotoGETTY

การลงประชามติมีขึ้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน และ 93% ของผู้มีสิทธิออกเสียงสนับสนุนความเป็นอิสรภาพ

รัฐบาลอิรักไม่ยอมรับผลของการลงประชามติครั้งนี้ เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ตุรกี

ความคิดเห็นแบบเดียวกันถูกเผยแพร่โดยกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

 

ที่มา: http://www.bbc.com