
ทางการพม่าได้เปิดเผยว่า ได้พบหลุมฝังศพขนาดใหญ่ในรัฐยะไข่พบมีร่างผู้เสียชีวิตจำนวน 28 ศพ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นสตรี
อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลพม่าได้ให้ข้อมูลว่า ศพดังกล่าวเป็นของชาวฮินดูที่ถูกสังหารโดยกองกำลังติดอาวุธโรฮิงญา
“กองกำลังความมั่นคงของพม่าได้มีการตรวจพบและทำการกู้ร่างผู้เสียชีวิตทั้ง 28 ศพ ที่เชื่อว่าถูกสังหารโดยกองกำลังติดอาวุธชางโรฮิงญาในรัฐยะไข่หรือ ARSA“ เป็นคำแถลงอย่างเป็นทางการจากกองทัพพม่า
กองกำลังปลดปล่อยโรฮิงญาแห่งอาราแกน (ARSA) เป็นกลุ่มที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นขบวนการเคลื่อนไหวด้วยอาวุธเพื่อปกป้องชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมในรัฐยะไข่
ตามการเปิดเผยของกองทัพพม่า ศพที่ตรวจพบเป็นเพศหญิงจำนวน 20 คนและผู้ชาย 8 คน ในจำนวนนี้ 6 เคนเป็นด็กอายุต่ำกว่า 10 ปีรวมอยู่ด้วย
หลุมศพดังกล่าวถูกค้นพบภายหลังจากที่กองกำลังความมั่นคงได้กลิ่นเหม็นจากที่ตรวจพบหลุมดังกล่าว ซึ่งต่อมาทราบว่าเป็นศพของพลเรือน
สถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่ในหมู่บ้าน Ye Baw Kya ซึ่งอยู่ใกล้กับชุมชนของชาวมุสลิมและชาวฮินดูทางภาคเหนือของยะไข่
โฆษกรัฐบาลพม่านาย Zaw Htay กล่าวกับผู้สื่อข่าวสำนักข่าวเอเอฟพี ได้ยืนยันการค้นพบสุสานพลเรือนดังกล่าว และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในเมืองยะไข่ที่ไม่ขอเปิดเผยนามก็ได้ออกมาให้ข้อมูลในลักษณะที่คล้ายกัน

อย่างไรก็ตามสำหรับการเข้าถึงในพื้นที่ดังกล่าวมีข้อจำกัดอย่างมาก
เมื่อหนึ่งเดือนที่ผ่านมา กองกำลังติดอาวุธโรฮิงญาที่เรียกตัวเองว่าอัสรา ได้เปิดฉากโจมตีกองกำลังรักษาความมั่นคงของพม่า และเป็นจุดเริ่มต้นของปฏิบัติการทางทหารของพม่าที่ทางสหประชาชาติระบุว่าเป็นปฏิบัติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ชาวโรฮิงญามากกว่า 430,000 คนได้เดินทางออกจากเมืองยะไข่ไปยังประเทศเพื่อนบ้านบังคลาเทศเพื่อหลีกเลี่ยงคลื่นแห่งความรุนแรง
อย่างไรก็ตามจากการเปิดเผยของผู้อพยพได้กล่าวว่า หมู่บ้านของพวกเขาถูกวางเพลิง ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ทหารได้ทำการกวาดล้างเข่นฆ่าพลเรือน
ในขณะที่ชาวฮินดูและชาวพุทธประมาณ 30,000 คนในรัฐยะไข่ กล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า พวกเขาถูกกองกำลังติดอสวุธฮิงญาทำร้าย
ในขณะที่ประชาคมระหว่างประเทศได้ออกมาเรียกร้องให้นางอองซาน ซูจี และผู้นำทางการทหารของพม่า เพื่อให้ยุติวิกฤติด้านมนุษยธรรมในรัฐยะไข่โดยเร็ว
สำหรับความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางหัวหน้าทีมสืบสวนด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ นาย Marzuki Darusaman ได้เรียกร้องให้ทางรัฐบาลพม่าเปิดทางให้กับทีมงานของสหประชาชาติอย่างเต็มที่อย่างไม่มีข้อจำกัดในการตรวจสอบที่ถูกกล่าวหาเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่
แต่ทางด้านเอกอัครราชทูตพม่าประจำสหประชาชาติได้กล่าวว่าวิธีการดังกล่าวไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาในพื้นที่แต่อย่างใด
ที่มา: http://www.bbc.com