ภาษามลายูยังคงเป็นภาษาหลักในสังคมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในรัฐซาบาฮ์และรัฐซาราวัคของมาเลเซีย ถึงแม้ว่าภาษาประจำชาตินั้นยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในการพยายามให้เป็นภาษาเพื่อเอกภาพของชาวมาเลเซีย
ภาษามลายูยังคงเป็นภาษาหลักในสังคมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในรัฐซาบาฮ์และรัฐซาราวัคของมาเลเซีย ถึงแม้ว่าภาษาประจำชาตินั้นยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในการพยายามให้เป็นภาษาเพื่อเอกภาพของชาวมาเลเซีย นักวิชาการท่านหนึ่งกล่าว
นักวิจัยจากสถาบันธรณีวิทยาและอารยธรรมมลายูแห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย ดร.มูฮัมหมัด ไฟซอล มูซา เปิดเผยว่าประเด็นการโต้เถียงเรื่องการใช้คำเรียกชื่อพระเจ้า(อัลลอฮ์)ในโบสถ์ของคริสตร์เมื่อหลายปีก่อนหน้านี้ ถือเป็นข้อบ่งชี้หนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า ภาษามลายูยังคงเป็นภาษาหลักของคนในรัฐซาบาฮ์และรัฐซาราวัค ที่มีหลากหลายชาติพันธุ์และภาษาของแต่ละกลุ่ม
“ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงได้ออกมาเรียกร้องการใช้ภาษามลายูในศาสนสถานโบสถ์คริสตร์” เขาเปิดเผยเกี่ยวกับเหตุการณ์การสั่งห้ามใช้คำว่า อัลลอฮ์ ที่เป็นมติจากศาลสูงสุดเมื่อเดือน มกราคม 2015 ที่ได้มีการนำเสนอเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์รายปักษ์ The Herald ที่ได้เผยแพร่ให้กับชาวคริสตร์นิกายคาทอลิก
ในขณะที่นายกรัญมนตรี นายนายิบ ตนราซัค ได้ออกมาเปิดเผยเมื่อปี 2013 หลังการตัดสินของศาลที่สั่งห้ามการใช้คำเรียก อัลลอฮ์ ในโบสถ์ ได้เปิดเผยว่าคำสั่งดังกล่าวมิอาจบังคับใช้ได้ในรัฐซาบาฮ์และรัฐซาราวัค
ทางทำเนียบรัฐบาลปูตราจายาได้ออกมาเน้นย้ำในเรื่องการคุ้มครองตามปฏิญญา 10 ข้อ ที่เกี่ยวกับการใช้คำว่า อัลลอฮ์ ในคัมภีร์ไบเบิ้ลในรัฐซาบาฮ์และรัฐซาราวัค ที่ได้มีมติเอกฉันท์โดยคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือน เมษายน 2011
ทางด้านนักเขียนชื่อดังที่รู้จักในนาม ไฟซอล เตรานี ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทวิเคราะห์จากสถาบันแห่งเกาะปีนังของ ดร.วอง ชิน ฮัวท ที่ได้กล่าวว่า กว่าหกทศวรรษที่ได้รับเอกราช ระบบการศึกษาแห่งชาติยังคงหมกมุ่นอยู่แต่ในเรื่องภาษาและเขาได้สรุปสั้นๆ ว่า “ความฝันที่จะพัฒนาชาติผ่านระบบศึกษาเพียงระบบเดียวนั่นก็คือภาษามลายูได้ดับลง”
เขากล่าวอีกว่า ภาษามลายูถือเป็นเครื่องมือการสื่อสารในโรงเรียนของกลุ่มคนระดับล่าง
“เรามิอาจลืมว่าแท้จริงแล้วยังคงมีกลุ่มสังคมชนชั้นล่างหรือกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ยังด้อยพัฒนา ที่ภาษาการสื่อสารของพวกเขามิใช่ภาษาอังกฤษ”
“หนำซ้ำภาษาของกลุ่มผู้ใช้แรงงงานของกลุ่มคนจีนและอินเดีย ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษาที่สามของพวกเขาเมื่อเทียบกับภาษาแม่ของพวกเขา ภาษามลายูอยู่ลำดับสอง ในขณะที่ภาษาอังกฤษอยู่ลำดับที่สาม” เขาเปิดเผยกับสำนักข่าว The Malaysian Insight.
ในขณะเดียวกัน ไฟซอล ยังได้กล่าวว่า ความเหลื่อมล้ำของประชากรในเขตเมืองและชนบทยังมีผลต่อการใช้ภาษาในโรงเรียน
“การเปิดเสรีทางการศึกษาจะทำให้เกิดช่องว่างเพิ่มมากขึ้น” เขาอ้างถึงแนวโน้มที่คนชั้นสูงจะนิยมส่งลูกไปโรงเรียนเอกชนมากขึ้นที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการเรียนการสอน
ไฟซอลกล่าวว่าการย้ายออกของนักเรียนที่ไม่ใช่มลายูไปยังโรงเรียนรัฐและเอกชน ไม่ควรจะถูกมองว่าเป็นเหตุผลในการปฏิเสธภาษามลายูในโรงเรียนของรัฐหรือความล้มเหลวของภาษามลายูในการหลอมรวมโรงเรียนให้เป็นหนึ่ง
“การปะทุขึ้นของความรู้สึกทางเชื้อชาติและแนวคิดอิสลามในโรงเรียนได้ทรงผลกระทบที่ต้องมีการรับมือ
การโยนประเด็นเรื่องภาษามลายูกับศาสนาอิสลามมุสลิมในประเด็นของคำว่าอัลลอฮ์และวรรณคดีอิสลาม ทำให้ชาติพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่มลายูรู้สึกไม่มีความสำคัญ”เขากล่าว
ไฟซอลกล่าวว่า เป็นเรื่องที่ตรงกันข้ามที่ว่าความล้มเหลวของภาษามลายูในการที่จะสร้างความเป็นเอกภาพของคนในชาตินั้น มีสาเหตุมาจากเพราะไม่มีการบังคับใช้อย่างจริงจัง
“ตัวอย่างเช่นถ้าเราย้อนดูในงานสัปดาห์ปฐมนิเทศที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย ซึ่งได้เป็นเจ้าภาพการประชุมวัฒนธรรมระดับชาติปี 2017 การใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นภาษาหลักในช่วงสัปดาห์ต้อนนักศึกษาใหม่
“ในขณะที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย ได้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อขยายและเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาษามลายูในอุดมศึกษา” เขากล่าว
ในขณะเดียวกันเลขาธิการสถาบันแห่งความสำนึกประชาชน นายอับดุลราห์มาน ไมดีน กล่าวว่า นโยบายด้านการศึกษาควรจะครอบคลุมทั้งด้านการสร้างสังคมที่มุ่งสู่กระบวนการพัฒนาชาติ
“ฉะนั้นประเด็นความสามารถในการแข็งขัน ความชำนาญ ความเสรีภาพในการคิดเชิงวิพากษ์และสร้างสรรค์ ค่านิยม ความเป็นนักวิชาการ ความหลากหลายด้านภาษาและความเป็นอัติลักษณ์ของชาติ ควรจะเป็นกรอบพื้นฐานในหารหำหับนโยบายของชาติเช่นกัน”
“จำเป็นที่จะต้องมีการประเมินอย่างรอบคอบในการเลือกแนวทางที่ดีที่สุดและเป็นประโยชน์เพื่อเตรียมพร้อมให้กับเยาวชนมาเลในการเผชิญกับความท้าทายของโลกไม่ใช่ด้วยอารมณ์” เขากล่าว
อดีตประธานหอการค้ามลายูมาเลเซีย (DPMM) มีความเห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่นโยบายการศึกษาในปัจจุบันควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างละเอียดที่มีความครอบคลุม เนื่องจากมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับมาเลเซียในขณะนี้
ที่มา https://www.themalaysianinsight.com/bahasa/s/13765/